วันที่ 26 เมษายนที่ผ่านมา การประชุมพุทธศาสนาโลกครั้งที่ 3 จัดขึ้นที่ฮ่องกงอย่างยิ่งใหญ่ โดยมีประเด็นหลักในการจัดงานว่า "โลกกลมกลืน ปรารถนาร่วมกัน เดินทางด้วยกัน" มีพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ผู้เชี่ยวชาญ นัก
วิชาการ เจ้าหน้าที่รัฐบาลและบุคคลชื่อดังจากวงการต่างๆ ทางสังคมของจีน ไทย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ แคนาดา ไต้หวัน ฮ่องกงและมาเก๊าจำนวนกว่า 1,000 คนเข้าร่วมประชุม
พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ได้เดินทางเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว พร้อมได้เป็นวิทยากรร่วมออกอากาศรายการสดเผยแพร่ทางโทรทัศน์อินเตอร์เน็ต
เรื่อง พระพุทธศาสนากับเศรษฐกิจ โดยมีผู้นำชาวพุทธจำนวนมากเข้ารับฟัง ซึ่งต่างให้ความสนใจและแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง พร้อมกันนี้ พระธรรมโกศาจารย์ ได้อาราธนาและเชิญผู้นำชาวพุทธทั้งจีนและประเทศต่างๆ
เพื่อเข้าร่วมงานวิสาขบูชาโลก ณ ประเทศไทย ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม - 2 มิถุนายน 2555 นี้
การประชุมพุทธศาสนาโลก ครั้งที่ 3 (The Third World Buddhist Forum)จัดขึ้นที่ฮ่องกงระหว่างวันที่ 25–27 เมษายนโดยสมาคมพุทธศาสนาจีน สหพันธ์พุทธศาสนาฮ่องกง และสมาคมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและ
ศาสนาแห่งประเทศจีน การประชุมพุทธศาสนาโลกเป็นการประชุมของวงการพุทธศาสนาจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่จัดขึ้นสำหรับพุทธศาสนิกชน และผู้รักสันติภาพโลก จัดมาแล้วสองครั้ง ครั้งแรกจัดที่มณฑลเจ้อเจียง ครั้งที่สอง
จัดที่เมืองอู๋สี และพิธีปิดที่เมืองไทเป ไต้หวันซึ่งนับเป็นมิติใหม่ของความร่วมมือในการจัดประชุมระดับสากลระหว่างสองฝั่งช่องแคบไต้หวัน ขณะที่การประชุมครั้งที่สามนี้จัดขึ้นที่ฮ่องกง กล่าวได้ว่าการประชุมทั้งสามครั้งแสดงให้
เห็นถึงเจตนารมณ์ที่วงการพุทธศาสนาทั้งในแผ่นดินใหญ่จีน ฮ่องกง มาเก๊า และใต้หวันร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อให้การประชุมประสบความสำเร็จ
สมาคมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และศาสนาแห่งประเทศจีนประกาศว่า พยายามสร้างสรรค์ให้ฟอรั่มพุทธศาสนาโลกเป็นสองเวที หนึ่งคือ เวทีแห่งการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เปิดกว้าง มีความหากหลาย และเสมอภาค
ซึ่งรวมถึงการแลกเปลี่ยนระหว่างแผ่นดินใหญ่จีน ฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน การแลกเปลี่ยนฉันมิตรในวงการพุทธศาสนาทั่วโลก และการแลกเปลี่ยนระหว่างบุคคลทั้งในแวดวงพุทธศาสนา และบุคคลภายนอกทั่วโลก การประชุม
พุทธศาสนาโลกผลักดันการแลกเปลี่ยนความร่วมมือฉันมิตระหว่างวงการพุทธศาสนาในแผ่นดินใหญ่และชาวพุทธทั่วโลก อีกเวทีหนึ่งคือเวทีแห่งวัฒนธรรม ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่มีอิทธิพลทั่วโลก ในช่วงกว่า 2000 ปี
หัวข้อหลักของการประชุมพุทธศาสนาโลกครั้งที่ 3 คือ"โลกกลมกลืน ปรารถนาร่วมกัน เดินทางด้วยกัน" ซึ่งเป็นแนวคิดต่อยอดจากหัวข้อหลักของการประชุมพุทธศาสนาโลกครั้งแรก และครั้งที่สอง อันได้แก่ "โลกกลม
กลืน เริ่มต้นจากใจ" และ"โลกกลมกลืน พรหมลิขิตอยู่ร่วมกัน" ซึ่งทั้งสามครั้งให้ความสำคัญกับแนวคิด"ความกลมกลืน" ความกลมกลืนเป็นอุดมการณ์ร่วมของสังคมมนุษย์ เป็นแก่นแท้ของวัฒนธรรมจีนที่มีประวัติกว่า 5,000 ปี และก็
เป็นหลักพุทธธรรมด้วย สำหรับศาสนาหลักในโลกปัจจุบัน การบรรลุซึ่งความกลมกลืนเป็นเป้าหมายร่วมของศาสนาต่างๆ พุทธศาสนายังคงแสดงบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์ความกลมกลืนและรักษาสันติภาพ |