หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU
ภายในระบบ
หลักสูตร
รายละเอียดประจำวิชา
เอกสารประกอบการสอน
ตำราวิชาการ
บทความวิชาการ

หน้าหลัก » พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,รศ.ดร. » มองสังคมไทยผ่านการออกแบบในวิสาขบูชาโลก ปี ๒๕๕๓
 
เข้าชม : ๑๐๖๔๕ ครั้ง

''มองสังคมไทยผ่านการออกแบบในวิสาขบูชาโลก ปี ๒๕๕๓''
 
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ผศ.ดร. (2553)

 

     เพราะเหตุใด การจัดงานวิสาขบูชาโลกปี ๒๕๕๓ จึงต้องนำสัญลักษณ์ของ "ใบโพธิ์" มาเป็นเครื่องมือ หรือ กรอบแนวคิดในการออกแบบการจัดงาน ท่านใดก็ตามที่เดินทางไปร่วมงานปีนี้ที่มหาจุฬาฯ วังน้อย จะพบใบโพธิ์ตั้งแต่ปากทางเข้ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย พระนครศรีอยุธยา จนถึงอาคารหอประชุม มวก. ๔๘ พรรษา

      "ใบโพธิ์" เป็นสัญลักษณ์ของ "พุทธะ" เพราะเป็นนัยที่บ่งบอกถึง "การรู้ ตื่น และเบิกบาน" เหนือกาลเวลา ด้วยเหตุนี้ การเกิดขึ้นของต้นโพธิ์ จึงหมายถึง การเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้านั่นเอง
ในขณะที่สังคมไทย กำลังเผชิญกับ "ความไม่รู้ ไม่ตื่น และไม่เบิกบาน บนสายธารแห่งธรรม การเกิดขึ้นของใบโพธิ์คือ การแผ่ใบ และกิ่งก้านให้สังคมไทยได้พึ่งพาร่มเงาทางกาย และพึ่งพิงทางใจ หากสังคมไทยได้รับการเรียกขานว่าเป็นสังคมแห่ง "พุทธะ" สังคมไทยย่อมมีโอกาสได้ใช้ร่มเงาแห่ง "พุทธะ" เพื่อเป็นพลังในการสร้างความร่มเย็นให้เกิดขึ้นแก่คนไทย

      เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า สังคมไทยในขณะนี้กำลังยืนอยู่ท่ามกลางวิกฤติการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ปัญหาต่างๆ ได้คุกคามมิตรภาพ ความรัก ความเอื้ออาทร ร้อยยิ้ม และเสียงหัวเราะ คำถามมีว่า "ตลอด ๗๐๐ กว่าปีของการสร้างบ้านแปลงเมือง สังคมไทยได้เรียนรู้อะไร และได้อาศัยประโยชน์จากร่มเงาแห่งพุทธะนี้มากน้อยเพียงใด"

      ฉะนั้น เพื่อให้การจัดงานวิสาขบูชาโลกปี ๒๕๕๓ อยู่บนบาทฐานภายใต้กรอบ และหลักการของการจัดงานในหัวข้อใหญ่ของการประชุมที่ว่า "การฟื้นฟูวิกฤติการณ์ของโลกโดยอาศัยมุมมองชาวพุทธ"

      การเกิดขึ้นของ "ใบโพธิ์" ก็คือ "การกระตุ้นเตือนสติมนุษยชาติให้ตระหนักรู้ถึงวิญญาณของการรู้ ตื่น และเบิกบาน" บนกระแสธารของพุทธะ ซึ่งปรากฏในทุกอณูของการออกแบบ และทุกสถานที่ของการจัดงานซึ่งเป็นสถานที่ที่จะทำหน้าที่ในกระตุ้นเตือนให้ สังคมไทย ได้ปลุกกระแสของการ "รู้ ตื่น และเบิกบาน" ให้ฟื้นคืนมาในใจอีกครั้ง

ดูเืนื้อหาฉบับเต็ม
http://gotoknow.org/blog/united-nation-day-of-vesak/365864

 

(ที่มา: บันทึกทางวิชาการ)
 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕