หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU
Mahachulalongkornrajavidyalaya University


ข้อมูลเรื่อง


มหาวิทยาลัย


การบริหาร

วิชาการ

การวิจัย

หลักสูตรมหาวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย

วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ

คณะและส่วนงาน

ทำบุญกับมหาจุฬาฯ

งานบริการวิชาการแก่สังคม

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

กฎระเบียบและประกาศ


ข้อมูลสำหรับ

อาจารย์/บุคลากร

นิสิต

สมาคมศิษย์เก่า



  สถิติเข้าชมส่วนงาน  
ของวิทยาเขต
คลิ๊กเพื่อเลือกส่วนงาน
กรุงเทพ ฯ
คณะ/บัณฑิตวิทยาลัย
วิทยาเขต
วิทยาลัยสงฆ์
ห้องเรียน

 โครงสร้างการบริหารงานคณะสงฆ์ไทย
     การปกครองคณะสงฆ์ในปัจจุบัน

                                             

                                        ภาพที่ ๘ การปกครองคณะสงฆ์ในปัจจุบัน

            การจัดโครงสร้างการบริหารและการปกครองคณะสงฆ์ในปัจจุบันเป็นไปตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ การตราพระราชบัญญัติฉบับนี้เกิดจากความต้องการของรัฐบาลในสมัยนั้น ซึ่งมีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรีที่มุ่ง
ปรับเปลี่ยนรูปแบบการปกครองคณะสงฆ์ให้สอดคล้องกับนโยบายการปกครองประเทศของจอมพลสฤษดิ์ ที่นิยมการรวบอำนาจ
การตัดสินใจเด็ดขาดไว้กับผู้นำที่เข้มแข็ง จอมพลสฤษดิ์เห็นว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่กำหนดให้มีการถ่วงดุลอำนาจ
กันนั้นนำมาซึ่ง ความล่าช้าและความขาดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ดังนั้น จึงเห็นว่าการแยกอำนาจบัญชาการคณะสงฆ์ออก
เป็น ๓ ทาง คือ สังฆสภาคณะสังฆมนตรี และคณะวินัยธร ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นระบบที่มีผลบั่น
ทอนประสิทธิภาพในการดำเนินกิจการคณะสงฆ์ให้ต้องประสบอุปสรรคและล่าช้า
            ด้วยเหตุผลดังกล่าว คณะรัฐมนตรีจึงได้ลงมติแต่งตั้งคณะกรรมการยกร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับใหม่ขึ้นใน
พ.ศ. ๒๕๐๓ เมื่อคณะกรรมการทำงานสำเร็จ รัฐบาลจึงได้ตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ โดยคำแนะนำและยิน
ยอมของสภาร่างรัฐธรรมนูญในฐานะรัฐสภา เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คือ
           “โดยที่การจัดดำเนินกิจการคณะสงฆ์ มิใช่เป็นกิจการอันแบ่งแยกอำนาจดำเนินการด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการถ่วงดุลอำ
นาจเช่นที่ เป็นอยู่ตามกฎหมายในปัจจุบัน และโดยระบบเช่นว่านั้นเป็นผลบั่นทอนประสิทธิภาพแห่งการดำเนินกิจการจึงสมควร
แก้ไขปรับปรุงเสียใหม่ ให้สมเด็จพระสังฆราช องค์สกลมหาสังฆปริณายก ทรงบัญชาการคณะสงฆ์ทางมหาเถรสมาคมตาม
อำนาจกฎหมายและพระธรรมวินัย ทั้งนี้เพื่อความเจริญรุ่งเรืองแห่งพระพุทธศาสนา”
            
            สาระสำคัญของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ พอสรุปได้ดังนี้
            ๑. ยกเลิกพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ ซึ่งหมาย รวมถึงการยกเลิกสังฆสภา คณะสังฆมนตรี และคณะ
วินัยธร ส่วนอำนาจที่องค์กรทั้งสามเคยเป็นผู้ใช้แยกจากกันให้สมเด็จพระสังฆราช และมหาเถรสมาคมเป็นผู้ใช้
            ๒. ผลที่ตามมาก็คือ การยกเลิกตำแหน่งประธานสังฆสภา สังฆนายก และประธานคณะวินัยธร อำนาจหน้าที่ของ
ตำแหน่งทั้งสามถูกรวมกันเข้าและมอบให้ประธานกรรมการมหาเถรสมาคมเป็นผู้ใช้
            ๓. อำนาจสูงสุดในการบังคับบัญชาคณะสงฆ์เป็นของสมเด็จพระสังฆราช ผู้ทรงบัญชาการคณะสงฆ์ใน ๒ ตำแหน่ง
คือ
้                ๓.๑ โดยตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก หรือประมุขสงฆ์ไทยทรงบัญชาการคณะสงฆ์เอง และทรงรับผิดชอบ
เองตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๘ และ
                ๓.๒ โดยตำแหน่งประธานกรรมการมหาเถรสมาคม ทรงบัญชาการคณะสงฆ์ร่วมกับมหาเถรสมาคมตามที่บัญ
ญัติไว้ในมาตรา ๙ และมาตรา ๑๘
            ๔. มหาเถรสมาคม ประกอบด้วย
                ๔.๑ สมเด็จพระสังฆราชทรงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ มหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง พระมหากษัตริย์
ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช
                ๔.๒ สมเด็จพระราชาคณะทุกรูปเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ปัจจุบันมีสมเด็จพระราชาคณะทั้งสิ้น ๘ รูป
                ๔.๓ พระราชาคณะซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้งมีจำนวน ไม่ต่ำกว่าสี่รูปและไม่เกินแปดรูปเป็นกรรมการอยู่
ในตำแหน่งคราวละ ๒ ปี ตามปกติสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้งกรรมการครบทั้ง ๘ รูป จึงทำให้จำนวนกรรมการมหาเถร
สมาคมแต่ละชุดมี ๑๗ รูป อันประกอบด้วย สมเด็จพระราชาคณะ ๘ รูป กรรมการที่สมเด็จพระสังฆราช ทรงแต่งตั้ง๘ รูป และ
สมเด็จพระสังฆราชในฐานะ ประธานกรรมการ ๑ รูป
            ๕. อำนาจหน้าที่ของมหาเถรสมาคม ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา ๑๘ มีความว่า 
                “มาตรา ๑๘ มหาเถรสมาคมมีอำนาจหน้าที่ปกครองคณะ สงฆ์ให้เป็นไปโดยเรียบร้อย เพื่อการนี้ให้มีอำนาจตรา
กฎมหาเถรสมาคมออกข้อบังคับ วางระเบียบหรือออกคำสั่งโดยไม่ขัดหรือ แย้งกับกฎหมายและพระธรรมวินัยใช้บังคับได้”
                 จะเห็นได้ว่า อำนาจหน้าที่ของมหาเถรสมาคมตามมาตรานี้มีความหมายกว้างขวางมาก เพราะถ้าพิจารณาเทียบเคียง
กับอำนาจหน้าที่ของสังฆสภาคณะสังฆมนตรีและคณะวินัยธรตามที่บัญญัติแยกอำนาจกันไว้ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.
๒๔๘๔ แล้วจะพบว่าอำนาจหน้าที่ต่างๆ ทั้งสามส่วนนั้นได้รวมกันเป็นอำนาจ หน้าที่ของมหาเถรสมาคม กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ อำนาจหน้าที่ของสังฆสภา คณะสังฆมนตรี และคณะวินัยธรในพระราชบัญญัติคณะ สงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้รวมกันเป็นอำนาจ
หน้าที่ของมหาเถรสมาคมในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕
                 ฉะนั้น อำนาจหน้าที่ “ปกครองคณะสงฆ์” ของมหาเถรสมาคมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๘ นี้ จึงมิได้หมายถึง
เฉพาะอำนาจหน้า ที่บริหารการคณะสงฆ์ของคณะสังฆมนตรีเท่านั้น แต่ยังหมายถึงอำนาจหน้าที่ตราสังฆาณัติของสังฆสภา
และอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยอธิกรณ์ของคณะวินัยธรชั้นฎีกาอีกด้วย
                 พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ นี้มีผลใช้บังคับเป็นเวลานานถึง ๓๐ ปี จึงมีการแก้ไขเพิ่มเติมใน พ.ศ. ๒๕๓๕ เมื่อรัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติ
ิแห่งชาติในฐานะรัฐสภา พระราชบัญญัติฉบับหลังนี้เพียงแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดปลีกย่อยของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ไม่มีการปรับเปลี่ยนโครง สร้างการบริหารและการปกครองคณะสงฆ์แต่อย่างใด ความข้อนี้ปรากฏชัดเจนอยู่ในเหตุผล
ในการประกาศใช้พระราชบัญญัติคณะ สงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ คือ
                 “...โดยที่พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว สมควรปรับปรุงบทบัญญัติว่า
ด้วยการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช และการแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จ พระสังฆราช การแต่งตั้งถอดถอนสมณศักดิ์ของ
พระภิกษุ อำนาจหน้าที่และการปฏิบัติหน้าที่ของมหาเถรสมาคม การปกครอง การสละสมณเพศของคณะสงฆ์และคณะสงฆ์อื่น วัด การดูแลรักษาวัด ทรัพย์สินของวัด และศาสนสมบัติกลาง ตลอดจนปรับปรุงบทกำหนดโทษให้สอดคล้องกับสภาพการณ์
ปัจจุบัน จึงจำเป็นต้อง ตราพระราชบัญญัตินี้”

                 พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติว่าด้วยการสถาปนาสมเด็จพระสังฆ
ราชและอำนาจหน้าที่ของมหาเถรสมาคมไว้ ดังนี้
                 ๑. มาตรา ๗ กำหนดให้คณะสงฆ์ไทยมีสมเด็จพระสังฆราช เพียงองค์เดียว ในกรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆ
ราชว่างลง พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุด โดยสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระสังฆราช คำว่า “สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์” หมายความว่าสมเด็จพระราชาคณะที่ได้รับสถาปนาเป็นพระราชาคณะ
ชั้นสมเด็จก่อนสมเด็จพระราชาคณะรูปอื่น
 
               ๒. มาตรา ๑๒ เพิ่มจำนวนกรรมการมหาเถรสมาคม ซึ่ง สมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้งจาก ไม่เกินแปดรูปเป็น
ไม่เกินสิบสองรูป ดังนั้น คณะกรรมการมหาเถรสมาคมในปัจจุบันมีกรรมการทั้งสิ้น ๒๑ รูป ประกอบด้วย
 
                   สมเด็จพระราชาคณะผู้เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ๘ รูป
                     กรรมการที่สมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้ง ๑๒ รูป
                     และสมเด็จพระสังฆราชในฐานะประธานกรรมการ ๑ รูป
 
               ๓. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๑๕ ตรี กำหนดอำนาจหน้าที่ของมหาเถรสมาคม
ไว้ชัดเจนกว่าที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ดังนี้
 
                  “มาตรา ๑๕ ตรี มหาเถรสมาคมมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
                    (๑) ปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปโดยเรียบร้อยดีงาม
                    (๒) ปกครองและกำหนดการบรรพชาสามเณร
                    (๓) ควบคุมและส่งเสริมการศาสนศึกษา การศึกษา สงเคราะห์ การเผยแผ่ การสาธารณูปการ และการสาธารณ
                          สงเคราะห์ของคณะสงฆ์
                    (๔) รักษาหลักพระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา
                    (๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่น
                     เพื่อการนี้ ให้มหาเถรสมาคมมีอำนาจตรากฎมหาเถรสมาคม ออกข้อบังคับ วางระเบียบ ออกคำสั่ง มีมติหรือ
ออกประกาศ โดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายและพระธรรมวินัยใช้บังคับได้ และจะมอบให้พระภิกษุ รูปใดหรือคณะกรรมการ
หรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๑๙ เป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่ตามวรรคหนึ่งก็ได้”

 
                   อำนาจหน้าที่ของมหาเถรสมาคมในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ เกี่ยวข้องกับการ
ควบคุม และส่งเสริมกิจการคณะสงฆ์ที่เคยถูกจัดเป็นอำนาจหน้าที่ของสังฆมนตรีแห่งองค์การ ๔ ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์
พ.ศ. ๒๔๘๔ อาจกล่าวได้ว่ามหาเถรสมาคมในปัจจุบันมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานคณะสงฆ์ ๖ ประเภท คือ

                    ๑) การปกครอง
                    ๒) การศาสนศึกษา
                    ๓) การศึกษาสงเคราะห์
                    ๔) การเผยแผ่
                    ๕) การสาธารณูปการ
                     ๖) การสาธารณสงเคราะห์


                     ถ้าตัดข้อ ๓ และข้อ ๖ ออกไป ที่เหลืออีก ๔ ข้อก็คืองานในความ รับผิดชอบของสังฆมนตรีแห่งองค์การทั้งสี่
ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ นั่นเอง
                     การบริหารงานของมหาเถรสมาคม เป็นไปในลักษณะที่ว่ากรรมการทั้งหมดร่วมกันรับผิดชอบงานทั้ง ๖ ประ
เภท โดยไม่มีการแบ่งเป็น “กระทรวง” ให้ชัดเจน แล้วมอบหมายให้กรรมการรูปใดรูปหนึ่งทำหน้าที่เป็น “รัฐมนตรี” เพื่อกำกับ
ดูแลเป็นการเฉพาะ
                    อย่างไรก็ตาม ที่กล่าวมานั้นเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ในส่วนที่เกี่ยวกับ
การสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช และอำนาจหน้าที่ของมหาเถรสมาคม ส่วนประเด็นที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจทั้งสามคือ นิติบัญ
ญัติ บริหารและตุลาการของมหาเถรสมาคมมีการแก้ไขเล็กน้อย
                    ต่อไปนี้จะกล่าวถึงการใช้อำนาจทั้งสามของมหาเถรสมาคมตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕
                    ๑. อำนาจนิติบัญญัติของมหาเถรสมาคม ในฐานะที่ปฏิบัติหน้าที่ของสังฆสภา มหาเถรสมาคมจึงมีอำนาจฝ่าย
นิติบัญญัติ ดังนี้
                       ๑.๑ ตรากฎมหาเถรสมาคม
                       ๑.๒ ออกข้อบังคับมหาเถรสมาคม
                       ๑.๓ วางระเบียบมหาเถรสมาคม
                       ๑.๔ ออกคำสั่งมหาเถรสมาคม
                       ๑.๕ มีมติมหาเถรสมาคม
                       ๑.๖ ออกประกาศมหาเถรสมาคม
                    
               ๒. อำนาจบริหารของมหาเถรสมาคม
                                              
                       โดยที่อำนาจการปกครองและบริหารกิจการคณะสงฆ์ของคณะสังฆมนตรีเดิมได้ตกเป็นอำนาจหน้าที่ของมหา
เถรสมาคม ดังนั้นมหาเถรสมาคมจึงมีอำนาจหน้าที่ด้านการบริหาร ดังต่อไปนี้
                       ๒.๑ จัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์
                       ๒.๒ จัดแบ่งเขตการปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค
                       ๒.๓ จัดตำแหน่งผู้ปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค
                       ๒.๔ แต่งตั้งและถอดถอนผู้ปกครองคณะสงฆ์
                       เนื่องจากปริมาณงานในความรับผิดชอบของมหาเถรสมาคม มีมากเกินกว่าที่กรรมการมหาเถรสมาคมจะดำ
เนินการให้สำเร็จลุล้วงอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ มหาเถรสมาคมได้ออกกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๐๖ ว่าด้วย
ระเบียบการประชุมมหาเถรสมาคม ให้อำนาจมหาเถรสมาคมแต่งตั้งคณะกรรมการหรืออนุกรรมการช่วยงานมหาเถรสมาคมใน
ลักษณะเดียวกับกรรมการเฉพาะกิจเป็นกรรมการประจำหรือชั่วคราวก็ได้ ในการแต่งตั้งคณะกรรมการหรืออนุกรรมการนี้ กรรม
การมหาเถรสมาคมรูปใดรูปหนึ่งเป็นประธานโดยตำแหน่ง คณะกรรมการหรืออนุกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามที่ได้รับ
มอบหมาย จากมหาเถรสมาคมในปัจจุบันมีคณะกรรมการหรือคณะอนุ- กรรมการที่มหาเถรสมาคมแต่งตั้งหลายคณะ เช่น
                      - คณะกรรมการการศึกษาของสงฆ์
                      - คณะกรรมการอำนวยการพระธรรมทูต
                      - คณะอนุกรรมการร่างกฎมหาเถรสมาคม
                      - คณะอนุกรรมการร่างกฎนิคหกรรม
                      - คณะอนุกรรมการศูนย์ควบคุมไปต่างประเทศของพระภิกษุสามเณร (ศตภ.)
                      - คณะอนุกรรมการจัดตั้งทุนสาธารณสงเคราะห์และศึกษาสงเคราะห์
                      อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๙ ให้อำนาจ
มหาเถรสมาคมแต่งตั้งคณะกรรมการหรืออนุกรรมการเพื่อช่วยงานมหาเถรสมาคม ดังนี้
 
                    “มาตรา ๑๙ สมเด็จพระสังฆาชทรงแต่งตั้งคณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ ตามมติมหา
เถรสมาคม ประกอบด้วยพระภิกษุหรือบุคคลอื่นจำนวนหนึ่ง มีหน้าที่พิจารณากลั่นกรองเรื่องที่จะเสนอต่อมหาเถรสมาคมและ
ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่มหาเถรสมาคมมอบหมาย โดยขึ้นตรงต่อมหาเถรสมาคม”
 
                     บทเฉพาะกาลของพระราชบัญญัติฉบับนี้ กำหนดให่ผู่ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการหรืออนุกรรมการตาม
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ หรือตามกฎมหาเถรสมาคมยังคงดำรงตำแหน่ง หรือปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนครบวาระ
การดำรงตำแหน่งหรือจนกว่า มหาเถรสมาคมจะมีมติเป็นประการอื่น
 
                     ส่วนการจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาคเป็น ไปตามความในมาตรา ๒๒ ของพระราชบัญญัติ
คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ที่กำหนด ตำแหน่งพระสังฆาธิการ หรือผู้ปกครองคณะสงฆ์ตามลำดับชั้นดังต่อไปนี้
 
                     - เจ้าคณะภาค
                       - เจ้าคณะจังหวัด
                       - เจ้าคณะอำเภอ
                       - เจ้าคณะตำบล
                       - เจ้าอาวาส

                      มีข้อน่าสังเกตว่า ตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่ ๔ ตำแหน่ง คือ เจ้าคณะ ใหญ่คณะเหนือ เจ้าคณะใหญ่คณะใต้ เจ้าคณะ
ใหญ่คณะกลาง และเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุติกนิกาย ซึ่งเคยรวมกันเป็นมหาเถรสมาคม ตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติลักษณะ
ปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ ต่อมาตำแหน่งทั้งสี่ได้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติคณะ สงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ ทั้งนี้เพื่อรวมคณะ
สงฆ์มหานิกายกับคณะธรรม- ยุติกนิกายเข้าด้วยกัน ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ไม่มีมาตราใดกล่าวถึงตำแหน่ง
เจ้าคณะใหญ่ทั้งสี่ แต่ก็ไม่ได้หมาย ความว่า ไม่มีตำแหน่งดังกล่าวอยู่ในการจัดองค์กรการปกครองคณะสงฆ์ปัจจุบัน ตำแหน่งเจ้า
คณะใหญ่ทั้งสี่ยังคงมีอยู่ และนั่นก็หมายถึงว่า คณะสงฆ์มหานิกายกับคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายยังแยกกันปกครองอย่างเป็นอิสระ
จากกันภายใต้รัฐบาลสงฆ์เดียวกันคือมหาเถรสมาคม คณะสงฆ์ไทยจึงเปรียบเหมือนกับมังกรสองตัวที่มีหัวเดียวกัน
                      ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ คณะสงฆ์มหานิกายและคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายมีองค์กรปกครอง
สูงสุดร่วมกัน คือ มหาเถรสมาคม กรรมการมหาเถรสมาคมครึ่งหนึ่งมาจากคณะมหานิกาย และที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งมาจากคณะ
ธรรมยุติกนิกายทั้งหมดรวมกันเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม มีอำนาจหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์ตามกฎหมาย ดังนั้น ในระดับมหา
เถรสมาคมเป็น การปกครองร่วมกันโดยถือนโยบายเดียวกันแต่แยกปกครองในระดับต่ำกว่ามหาเถรสมาคม ดังจะเห็นได้จากกฎ
มหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๐๖ ว่าด้วยระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ข้อ ๔ มีความว่า
                     “การปกครองคณะสงฆ์ทุกส่วนทุกชั้น ให้มีเจ้าคณะมหา นิกายและเจ้าคณะธรรมยุตปกครองบังคับบัญชาวัดและ
พระภิกษุ สามเณรในนิกายนั้น ๆ”
 
                    ข้อนี้หมายความว่า ในขณะที่คณะสงฆ์มหานิกายแบ่งสาย การปกครอง บังคับบัญชาเป็นเจ้าคณะภาค เจ้าคณะ
จังหวัด เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบลและเจ้าอาวาสฝ่ายมหานิกายปกครองดูแลกิจการคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย คณะสงฆ์ธรรมยุ
ติกนิกายก็แบ่งสายการปกครองทุกตำแหน่ง ตั้งแต่เจ้าคณะภาคถึงเจ้าอาวาสฝ่ายธรรมยุตปกครองดูแลกิจการคณะสงฆ์ฝ่ายธรรม
ยุตคู่ขนานกันไป
                      แม้ว่าพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ จะไม่ได้กล่าวถึง ตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่ไว้ก็จริง แต่กฎมหาเถร
สมาคมฉบับที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๐๖ ข้อ ๖ ได้เพิ่มตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่เข้ามาในองค์กรการปกครองคณะสงฆ์ และมีการแต่งตั้งเจ้า
คณะใหญ่ เรื่อยมาจนกระทั่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้บัญญัติให้มีตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่ไว้ดังนี้
                     “มาตรา ๒๐ ทวิ เพื่อประโยชน์แก่การปกครองคณะสงฆ์ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ให้มีเจ้าคณะใหญ่ปฏิบัติ
หน้าที่ในเขตปกครองคณะสงฆ์
                      การแต่งตั้งและการกำหนดอำนาจหน้าที่เจ้าคณะใหญ่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ
มหาเถรสมาคม”

 
                    เจ้าคณะใหญ่ปกครองบังคับบัญชาเจ้าคณะภาค แบ่งออกเป็น เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายมหานิกายและเจ้าคณะใหญ่
ฝ่ายธรรมยุตมีอำนาจบังคับบัญชาสูงสุดในคณะสงฆ์แต่ละนิกาย ในสายการบังคับบัญชา เจ้าคณะใหญ่ยังต้องอยู่ภายใต้การปก
ครองของมหาเถรสมาคม แต่ในทางปฏิบัติเจ้าคณะใหญ่มักเป็นกรรมการมหาเถรสมาคมอีกตำแหนางหนึ่ง เจ้าคณะใหญาทั้งห้า
มีเขตการปกครองดังน
ี้
               (๑) เจ้าคณะใหญ่หนกลาง ปฏิบัติหน้าที่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ มหานิกาย ภาค ๑, ๒, ๓, ๑๓, ๑๔ และ ๑๕
               (๒) เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ ปฏิบัติหน้าที่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ มหานิกาย ภาค ๔, ๕, ๖ และ ๗
               (๓) เจ้าคณะใหญ่หนใต้ ปฏิบัติหน้าที่ในเขตการปกครอง คณะสงฆ์ มหานิกาย ภาค ๑๖, ๑๗ และ ๑๘
               (๔) เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก ปฏิบัติหน้าที่ในเขตการปกครอง
                     คณะสงฆ์มหานิกาย ภาค ๘, ๙, ๑๐, ๑๑ และ ๑๒
               (๕) เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต ปฏิบัติหน้าที่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ธรรมยุตทุกภาค


 
                   เขตการปกครองคณะสงฆ์ทั้ง ๑๘ ภาค ประกอบด้วยจังหวัด ต่างๆ ดังนี้
 
                   ภาค ๑ มี ๔ จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ
                     ภาค ๒ มี ๓ จังหวัด คือ พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง และ สระบุรี
                     ภาค ๓ มี ๔ จังหวัด คือ ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท และอุทัยธานี
                     ภาค ๔ มี ๔ จังหวัด คือ นครสวรรค์ กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์
                     ภาค ๕ มี ๔ จังหวัด คือ พิษณุโลก สุโขทัย ตาก และอุตรดิตถ์
                     ภาค ๖ มี ๕ จังหวัด คือ ลำปาง พะเยา เชียงราย แพร่ และน่าน
                     ภาค ๗ มี ๓ จังหวัด คือ เชียงใหม่ ลำพูน และ แม่ฮ่องสอน
                     ภาค ๘ มี ๔ จังหวัด คือ อุดรธานี หนองคาย เลย และสกลนคร
                     ภาค ๙ มี ๔ จังหวัด คือ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และร้อยเอ็ด
                     ภาค ๑๐ มี ๕ จังหวัด คือ อุบลราชธานี ยโสธร มุกดาหาร ศรีสะเกษ และนครพนม
                     ภาค ๑๑ มี ๔ จังหวัด คือ นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และ สุรินทร์
                     ภาค ๑๒ มี ๓ จังหวัด คือ ปราจีนบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา
                     ภาค ๑๓ มี ๔ จังหวัด คือ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
                     ภาค ๑๔ มี ๔ จังหวัด คือ นครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และสมุทรสาคร
                     ภาค ๑๕ มี ๔ จังหวัด คือ ราชบุรี เพชรบุรี สมุทรสงคราม และประจวบคีรีขันธ์
                     ภาค ๑๖ มี ๓ จังหวัด คือ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และชุมพร
                     ภาค ๑๗ มี ๕ จังหวัด คือ ภูเก็ต ตรัง พังงา กระบี่ และระนอง
                     ภาค ๑๘ มี ๖ จังหวัด คือ สงขลา พัทลุง สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

                 ๓.อำนาจตุลาการของมหาเถรสมาคม การพิจารณาวินิจฉัยอธิกรณ์หรือคดีความในคณะสงฆ์ซึ่งเดิมเคยเป็น
อำนาจหน้าที่ของคณะวินัยธร ได้ตกเป็นอำนาจหน้าที่ของมหาเถรสมาคม ตามความพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕
มาตรา ๒๕ ที่บัญญัติให้มหาเถรสมาคม มีอำนาจ ตรากฎมหาเถรสมาคม กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติเพื่อให้การลง
นิคหกรรม หรือการลงโทษเป็นไปโดยถูกต้องสะดวกรวดเร็วและเป็นธรรม มหาเถรสมาคมอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ตรากฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๑ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยการลงนิคหกรรม กฎมหาเถรสมาคมนี้
แบ่งอำนาจการพิจารณาวินิจฉัยอธิกรณ์ ออกเป็น ๓ ชั้น คือ
 
                   ๓.๑ การพิจารณาชั้นต้น เป็นอำนาจของเจ้าอาวาสที่พระ ภิกษุผู้ถูกฟ้องสังกัดอยู่ ถ้าผู้ถูกฟ้องเป็นเจ้าอาวาส
วัดหรือเจ้าคณะ ก็ให้เป็นอำนาจของเจ้าคณะหรือผู้ปกครองคณะสงฆ์เหนือขึ้นไป อีกชั้นหนึ่ง
 
                   ๓.๒ การพิจารณาชั้นอุทธรณ์ เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์ ซึ่งประกอบด้วยเจ้าคณะหรือผู้
ปกครองเหนือชั้นขึ้นไปกว่าเจ้าอาวาสหรือเจ้าคณะผู้พิจารณาในชั้นต้น
 
                   ๓.๓ การพิจารณาชั้นฎีกา เป็นอำนาจของมหาเถรสมาคม คำสั่ง หรือคำวินิจฉัยของมหาเถรสมาคมใน
การลงนิคหกรรมไม่ว่าในกรณีใดให้เป็นอันถึงที่สุด ในกรณีนี้มหาเถรสมาคมมีอำนาจเช่นเดียวกับคณะวินัยธรชั้นฎีกา แต่มหา
เถรสมาคมมีอำนาจมากกว่าคณะวินัยธรชั้นฎีกา ตรงที่มีอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารอยู่ในมือด้วยและในบางกรณี มหา
เถรสมาคมมีอำนาจวินิจฉัยหรือออกคำสั่งโดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์ โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ที่ว่า
 
                  “มาตรา ๒๗ พระภิกษุรูปใดต้องคำวินิจฉัยให้รับนิคหกรรมไม่ถึงให้สึก ไม่ยอมรับนิคหกรรมนั้นหรือประพฤติ
ล่วงละเมิดพระธรรมวินัยเป็นอาจิณ หรือไม่สังกัดอยู่วัดใดวัดหนึ่งกับทั้งไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง มหาเถรสมาคมมีอำนาจวินิจฉัย
และมีคำสั่งให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศเสียได้พระภิกษุผู้ต้องคำวินิจฉัยให้สละสมณเพศตามความในวรรคก่อน ต้องสึกภาย
ในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำวินิจฉัยนั้น”
 
                   อย่างไรก็ตาม ความในมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติคณะ สงฆ์พ.ศ. ๒๕๐๕ นี้ได้ถูกยกเลิกไปโดยพระ
ราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
 
                  “มาตรา ๒๗ เมื่อพระภิกษุใดต้องด้วยกรณีข้อใดข้อหนึ่ง ดัง ต่อไปนี้
                   (๑) ต้องคำวินิจฉัยตามมาตรา ๒๕ ให้รับนิคหกรรมไม่ถึงให้สึก แต่ไม่ยอมรับนิคหกรรมนั้น
                   (๒) ประพฤติล่วงละเมิดพระธรรมวินัยเป็นอาจิณ
                   (๓) ไม่สังกัดอยู่ในวัดใดวัดหนึ่ง
                   (๔) ไม่มีวัดเป็นที่อยู่เป็นหลักแหล่ง
                     ให้ภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม
                     พระภิกษุผู้ต้องคำวินิจฉัยให้สละสมณเพศตามวรรคสอง ต้องสึกภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำวินิจ
ฉัยนั้น”

                     มาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ไม่ได้ให้อำนาจมหาเถรสมาคมในอันที่
จะวินิจฉัยหรือออก คำสั่งให้พระภิกษุผู้ความผิดด้วยกรณีข้อใดข้อหนึ่งใน ๔ กรณี ข้างบนต้องสละสมณเพศ แต่มาตรา ๒๗ นี้
ให้อำนาจมหาเถรสมาคมตรากฎมหาเถรสมาคมเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ ในการจัดการให้พระภิกษุผู้มีความผิดตามกรณี
ีข้างบนสละสมณเพศ คำวินิจฉัยให้สละสมณเพศไม่จำเป็นต้องออกมาจากมหาเถรสมาคม แต่คำวินิจฉัยนั้นต้องเป็นไปตามหลัก
เกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎมหาเถรสมาคม
                     ยิ่งไปกว่านั้น พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๑๕ จัตวา ให้อำนาจมหาเถรสมา
คมตรากฎมหาเถรสมาคมเพื่อควบคุมความประพฤติของพระภิกษุสามเณร ดังนี้
 
                  “มาตรา ๑๕ จัตวา เพื่อรักษาหลักพระธรรมวินัยและเพื่อความ เรียบร้อยดีงามของคณะสงฆ์ มหาเถรสมาคม
จะตรากฎมหาเถรสมาคม เพื่อกำหนดโทษหรือวิธีลงโทษทางการปกครองสำหรับพระภิกษุและสามเณรที่ประพฤติให้เกิดความ
เสียหายแก่พระศาสนาและการปกครองของคณะสงฆ์ก็ได้ พระภิกษุและสามเณรที่ได้รับโทษตามวรรคหนึ่งถึงขั้นให้สละสมณ
เพศ ต้องสึกภายในสามวันนับแต่วันทราบคำสั่งลงโทษ”
 
                  ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนจักรและอาณาจักร การที่ฝ่ายรัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕
ออกบังคับใช้ได้เป็นประจักษ์พยานอย่างดีที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรกับศาสนจักร ด้วยการออกพระราชบัญญัติ
ฉบับนี้ รัฐบาลได้ชื่อว่าให้การอุปถัมภ์แก่คณะสงฆ์ ทั้งนี้ เพราะคณะสงฆ์ไม่มีอำนาจลงโทษพระภิกษุผู้ประพฤติล่วงละเมิดพระ
ธรรมวินัยขั้นร้ายแรงและไม่ยอมสละสมณเพศ ทั้งไม่มีอำนาจลงโทษผู้ใส่ความคณะสงฆ์ หากคณะสงฆ์ปล่อยไว้ย่อมจะนำความ
เสื่อมเสียมาสู้วงการคณะสงฆ์ ในกรณีนี้คณะสงฆ์จำจะต้องพึ่งอำนาจรัฐเพื่อสร่างความศักดิ์สิทธิ์ ให้กับพระธรรมวินัยและความ
บริสุทธิ์แห่งพระศาสนา ดังจะเห็น ได้จากมาตรา ๔๒, ๔๓ และ ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งถูกยกเลิก ไปแล้วโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้ใช้มาตราต่อไปนี้แทน
 
                 มาตรา ๔๒ ผู้ใดมิได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ หรือถูกถอดถอนจากความเป็นพระอุปัชฌาย์ตามมาตรา ๒๓ แล้ว กระทำการ บรรพชาอุปสมบทแก่บุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
                   มาตรา ๔๓ ผู้ใดพ้นจากความเป็นพระภิกษุเพราะต้องปาราชิกมาแล้วไม่ว่าจะมีคำวินิจฉัยตามมาตรา ๒๕ หรือไม่ก็ตาม แต่มารับบรรพชาอุปสมบทใหม่โดยกล่าวความเท็จหรือปิดบังความจริงต่อพระอุปัชฌาย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่
่เกินหนึ่งปี
                   มาตรา ๔๔ ทวิ ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความ อาฆาตมาดร้ายสมเด็จพระสังฆราช ต้องระวาง
โทษจำคุกไม่เกินหนึ่ง ปี หรือปรับไม้เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                   มาตรา ๔๕ ตรี ผู้ใดใส่ความคณะสงฆ์หรือคณะสงฆ์อื่นอัน อาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียหรือความแตกแยก ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

                   มาตราเหล่านี้แสดงถึงการที่คณะสงฆ์ไทยได้รับการคุ้มครองป้องกันจากอำนาจรัฐ 
                   แม้ว่ามหาเถรสมาคมมีอำนาจปกครองคณะสงฆ์อย่างเต็มที่ ข้อนี้ไม่ได้หมายความว่าคณะสงฆ์มีอิสระจากการ
ควบคุมของกลไกของรัฐ อำนาจฝ่ายรัฐสามารถตรวจสอบและควบคุมการบริหารกิจการคณะสงฆ์ได้ตลอดเวลาในนามของการ
อุปถัมภ์บำรุงพระศาสนา ดังจะเห็นได้จากข้อความบางมาตราแห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ และพระราชบัญญัติ
คณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ดังต่อไปนี้
                 (๑) พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการแต่งตั้งสถาปนา และถอดถอนสมณศักดิ์ของพระภิกษุในคณะสงฆ์
                 (๒) พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช ผู้ทรงเป็นประธานกรรมการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง
                 (๓) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศนามสมเด็จพระราชาคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชใน
กรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง
                 (๔) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้รักษาการ ตามพระราชบัญญัตินี้ และมีอำนาจออกกฎกระทรวง
เกี่ยวกับการสร้างวัด การบริหารศาสนสมบัติของวัด และวางระเบียบการปกครองคณะสงฆ์จีนนิกาย และอนัมนิกาย
                 (๕) ในการแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการมหาเถรสมาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ลงนามรับ
สนองพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช
                  (๖) กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ทำหน้าที่เป็น ศูนย์ประสานความสัมพันธ์ระหว่างศาสนจักรและอาณา
จักร ทั้งนี้เพราะอธิบดีกรมการศาสนาเป็นเลขาธิการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง และกรมการศาสนาทำหน้าที่สำนักงานเลขาธิ
ิการมหาเถรสมาคม

                                         พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕
                                          ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
                             ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๕
                                     เป็นปีที่ ๑๗ ในรัชกาลปัจจุบัน


 
                 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระ บรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
                   โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
                   จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาร้างรัฐธรรมนูญ
ในฐานะรัฐสภา ดังต่อไปนี้
                    มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕“
                    มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวัน ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
                    มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔
                    มาตรา ๔ ภายในระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับบรรดากฎกระทรวง สังฆาณัติ กติกา
สงฆ์ กฎองค์การ พระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช ข้อบังคับและระเบียบเกี่ยวกับคณะสงฆ์ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันประกาศพระราช
บัญญัตินี้ในราชกิจจานุเบกษาให้คงใช้บังคับต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย่งกับพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้จนกว่าจะมีกฎกระทรวง กฎ
มหาเถรสมาคม พระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช ข้อบังคับหรือระเบียบของมหาเถรสมาคมยกเลิกหรือมีความอย่างเดียวกันหรือ
ขัดหรือแย้งกัน หรือกล่าวไว้เป็นอย่างอื่น
 
                  มาตรา ๕ เพื่อประโยชน์แห่งมาตรา ๔ บรรดาอำนาจหน้าที่ซึ่ง กำหนดไว้ในสังฆาณัติ กติกาสงฆ์ กฎองค์การ พระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช ข้อบังคับและระเบียบเกี่ยวกับคณะสงฆ์ ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพระภิกษุ ตำแหน่งใดตำแหน่ง
หนึ่งหรือคณะกรรมการสงฆ์ใดซึ่งไม่มีในพระราชบัญญัตินี้ ให้มหาเถรสมาคมมีอำนาจกำหนด โดยกฎมหาเถรสมาคมให้เป็น
อำนาจหน้าที่ของพระภิกษุตำแหน่งใดรูปใดหรือหลายรูปร่วมกันเป็นคณะตามที่เห็นสมควรได

                    มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎ
กระทรวงเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้


                                                                หมวด ๑
                                           สมเด็จพระสังฆราช


                    มาตรา ๗ พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช
                    มาตรา ๘ สมเด็จพระสังฆราชทรงดำรงตำแหน่งสกลมหา สังฆปริณายก ทรงบัญชาการคณะสงฆ์ และทรง
ตราพระบัญชา สมเด็จพระสังฆราช โดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายพระธรรมวินัย และกฎมหาเถรสมาคม
                    มาตรา ๙ สมเด็จพระสังฆราช ทรงดำรงตำแหน่งประธาน กรรมการมหาเถรสมาคม
                    มาตรา ๑๐ ในเมื่อไม่มีสมเด็จพระสังฆราช ให้สมเด็จพระราชา คณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยพรรษาปฏิบัติหน้า
ที่สมเด็จพระสังฆราช

                    ในเมื่อสมเด็จพระสังฆราชจะไม่ประทับอยู่ในอาณาจักร หรือไม่อาจทรงปฏิบัติหน้าที่ได้สมเด็จพระสังฆราชจะ
ได้ทรงแต่งตั้งให้สมเด็จพระราชาคณะรูปใดรูปหนึ่งปฏิบัติหน้าที่แทนถ้ามิได้ทรงแต่งตั้งไว้ให้สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโส
สูงสุดโดยพรรษาปฏิบัติหน้า ที่สมเด็จพระสังฆราช
                    ในกรณีที่สมเด็จพระราชาคณะซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราชไม่อาจปฏิบัติหน้าที่สม
เด็จพระสังฆราชได้ ให้สมเด็จพระราชาคณะรูปอื่นผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยพรรษาปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
                    ในกรณีที่สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยพรรษา ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชได้ให้สมเด็จ
พระราชาคณะผู้มีอาวุโสรองลงมาโดยพรรษาตามลำดับ ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
                    ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศนามสมเด็จพระราชาคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
ตามมาตรานี้ในราชกิจจานุเบกษา
 
                   มาตรา ๑๑ สมเด็จพระสังฆราชพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
                   (๑) มรณภาพ
                   (๒) พ้นจากความเป็นพระภิกษุ
                   (๓) ลาออก
                   (๔) ทรงพระกรุณาโปรดให้ออก


                                                                 หมวด ๒
                                               มหาเถรสมาคม


                    มาตรา ๑๒ มหาเถรสมาคมประกอบด้วยสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการโดย
ตำแหน่ง สมเด็จพระราชาคณะทุกรูปเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และพระราชาคณะซึ่งสมเด็จพระสังฆราช ทรงแต่งตั้งมีจำ
นวนไม่ต่ำกว่าสี่รูปและไม่เกินแปดรูปเป็นกรรมการ
 
                  มาตรา ๑๓ ให้อธิบดีกรมการศาสนาเป็นเลขาธิการมหาเถรสมาคม โดยตำแหน่งและให้กรมการศาสนาทำ หน้าที่สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
                    มาตรา ๑๔ กรรมการมหาเถรสมาคม ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี และ
อาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
                    มาตรา ๑๕ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๔ กรรมการมหาเถรสมาคมซึ่งสมเด็จพระ
สังฆราชทรงแต่งตั้ง พ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
                   (๑) มรณภาพ
                   (๒) พ้นจากความเป็นพระภิกษุ
                   (๓) ลาออก
                   (๔) สมเด็จพระสังฆราชมีพระบัญชาให้ออก
                   ในกรณีที่กรรมการมหาเถรสมาคมพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ สมเด็จพระสังฆราชอาจทรงแต่งตั้งพระราชา
คณะรูปใดรูปหนึ่ง เป็นกรรมการแทน
                    กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตามความในวรรคก่อนอยู่ในตำแหน่ง ตามวาระของผู้ซึ่งตนแทน
                    มาตรา ๑๖ ในเมื่อประธานกรรมการมหาเถรสมาคมไม่อาจมาประชุม หรือไม่อยู่ในที่ประชุมมหาเถรสมาคมและ
มิได้มอบหมายให้สมเด็จพระราชาคณะรูปใดรูปหนึ่งปฏิบัติหน้าที่แทน ให้มหาเถรสมาคมแต่งตั้งสมเด็จพระราชาคณะรูปใดรูป
หนึ่งปฏิบัติหน้าที่แทนการประชุมมหาเถรสมาคมเพื่อการแต่งตั้งนี้ให้กรรม การซึ่งเป็นสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุด
โดยพรรษาเป็นประธานแห่งที่ประชุม
 
                  มาตรา ๑๗ การประชุมมหาเถรสมาคมต้องมีกรรมการโดย ตำแหน่ง และกรรมการโดยการแต่งตั้งรวมกันมา
ประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด จึงเป็นองค์ประชุม
                    ระเบียบการประชุมมหาเถรสมาคมให้เป็นไปตามกฎมหาเถรสมาคม

                    มาตรา ๑๘ มหาเถรสมาคมมีอำนาจหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปโดยเรียบร้อย เพื่อการนี้ให้มีอำนาจตรา
กฎมหาเถรสมาคม ออกข้อบังคับ วางระเบียบหรือออกคำสั่งโดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย และพระธรรมวินัยใช้บังคับได้
                    มาตรา ๑๙ การแต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคมและการให้ กรรมการมหาเถรสมาคมออกจากตำแหน่ง ให้รัฐ
มนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช


 
                                                                   หมวด ๓
                                            การปกครองคณะสงฆ์

                    มาตรา ๒๐ การจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม
                    มาตรา ๒๑ การปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค ให้จัดแบ่ง เขตปกครอง ดังนี้

                    (๑) ภาค
                    (๒) จังหวัด
                    (๓) อำเภอ
                    (๔) ตำบล
                     จำนวนและเขตปกครองดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กำหนดใน กฎมหาเถรสมาคม
 
                  มาตรา ๒๒ การปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค ให้มีพระภิกษุ เป็นผู้ปกครองตามชั้นตามลำดับดังต่อไปนี้
                    (๑) เจ้าคณะภาค
                    (๒) เจ้าคณะจังหวัด
                    (๓) เจ้าคณะอำเภอ
                    (๔) เจ้าคณะตำบล
                     เมื่อมหาเถรสมาคมเห็นสมควรจะจัดให้มีรองเจ้าคณะภาค รองเจ้าคณะจังหวัด รองเจ้าคณะอำเภอ และรองเจ้า
คณะตำบล เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะนั้นๆ ก็ได้

                    มาตรา ๒๓ การแต่งตั้งถอดถอนพระอุปัชฌาย์ เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส พระภิกษุอันเกี่ยว
กับตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ตำแหน่งอื่นๆ และไวยาวัจกรให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม

 
                                                                หมวด ๔
                                        นิคหกรรมและการสละสมณเพศ


                    มาตรา ๒๔ พระภิกษุจะต้องรับนิคหกรรมก็ต่อเมื่อกระทำ การละวงละเมิดพระธรรมวินัยและนิคหกรรมที่จะ
ลงแก่พระภิกษุก็ต้องเป็นนิคหกรรมตามพระธรรมวินัย
 
                  มาตรา ๒๕ ภายใต้บังคับมาตรา ๒๔ มหาเถรสมาคมมี อำนาจตรากฎมหาเถรสมาคม กำหนดหลักเกณฑ์และ
วิธีการปฏิบัติ เพื่อให้การลงนิคหกรรมเป็นไปโดยถูกต้อง สะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรมและให้ถือว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายที่
ี่มหาเถรสมาคมจะกำหนดในกฎมหาเถรสมาคม ให้มหาเถรสมาคมหรือพระภิกษุผู้ปกครองสงฆ์ตำแหน่งใดเป็นผู้มีอำนาจลงนิค
หกรรมแก่พระภิกษุผู้ล่วงละเมิดพระธรรมวินัย กับทั้งการกำหนดให้การวินิจฉัยการลงนิคหกรรมให้เป็นอันยุติในชั้นใดๆ นั้นด้วย
 
                  มาตรา ๒๖ ระภิกษุรูปใดล่วงละเมิดพระธรรมวินัย และได้ มีคำวินิจฉัยถึงที่สุดให้ได้รับนิคหกรรมให้สึก ต้องสึกภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ได้ทราบคำวินิจฉัยนั้น
 
                  มาตรา ๒๗ ระภิกษุรูปใดต้องคำวินิจฉัยให้รับนิคหกรรมไม่ถึงให้สึก ไม่ยอมรับนิคหกรรมนั้น หรือประพฤติ
ล่วงละเมิดพระธรรมวินัยเป็นอาจิณ หรือไม่สังกัดอยู่ในวัดใดวัดหนึ่ง กับทั้งไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง มหาเถรสมาคมมีอำนาจวินิจ
ฉัยและมีคำสั่งให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศเสียได้ ต้องสึกภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้ทราบคำวินิจฉัยนั้น
 
                  มาตรา ๒๘ พระภิกษุรูปใดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลาย ต้องสึกภายในสามวันนับแต่วันที่
คดีถึงที่สุด
 
                  มาตรา ๒๙ พระภิกษุรูปใดถูกจับโดยต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา เมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัย
การไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราว และเจ้าอาวาสแห่งวัดที่พระภิกษุรูปนั้นสังกัดไม่รับมอบตัวไว้ควบคุม หรือพนักงานสอบสวน
ไม่เห็นสมควรให้เจ้า อาวาสรับตัวไปควบคุม หรือพระภิกษุรูปนั้นมิได้สังกัดในวัดใดวัดหนึ่ง ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจจัดดำ
เนินการให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศเสียได

                    มาตรา ๓๐ เมื่อจะต้องจำคุก กักขังหรือขังพระภิกษุรูปใดตาม คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้พนักงานเจ้า
หน้าที่ผู้มีอำนาจที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลมีอำนาจดำเนินการให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศเสีย
ได้ และให้รายงานให้ศาลทราบถึงการสละสมณเพศนั้น

  
                                                                หมวด ๕
                                                        วัด


                    มาตรา ๓๑ วัดมีสองอย่าง
                   (๑) วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
                   (๒) สำนักสงฆ์
                    มาตรา ๓๒ การสร้าง การตั้ง การรวม การย้าย การยุบเลิกวัด และการขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมาให้เป็น
ไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
                    ในกรณียุบเลิกวัด ทรัพย์สินของวัดที่ถูกยุบเลิกให้ตกเป็น ศาสนสมบัติกลาง
                    มาตรา ๓๓ ที่วัดและที่ซึ่งขึ้นต่อวัด มีดังนี้
                   (๑) ที่วัด คือที่ซึ่งตั้งวัดตลอดจนเขตของวัดนั้น
                   (๒) ที่ธรณีสงฆ์ คือที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด
                   (๓) ที่กัลปนา คือที่ซึ่งมีผู้อุทิศแต่ผลประโยชน์ให้วัดหรือพระศาสนา
                    มาตรา ๓๔ ที่วัดและที่ธรณีสงฆ์จะโอนกรรมสิทธิ์ ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติและห้ามมิให้บุคคลใดยกอายุ
ความขึ้นต่อสู้กับวัดในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นที่วัดและที่ธรณีสงฆ์
 
                  มาตรา ๓๕ ที่วัดและที่ธรณีสงฆ์เป็นทรัพย์สินซึ่งไม่อยู่ในความ รับผิดชอบแห่งการบังคับคด
                    มาตรา ๓๖ วัดหนึ่งให้มีเจ้าอาวาสรูปหนึ่ง และถ้าเป็นการสมควร จะให้มีรองเจ้าอาวาสหรือผู้ช่วยเจ้าอาวาส
ด้วยก็ได

                    มาตรา ๓๗ เจ้าอาวาสมีหน้าที่ดังนี้
                   (๑) บำรุงรักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี
                   (๒) ปกครองและสอดส่องให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่หรือ พำนักอาศัยอยู่ในวัดนั้นปฏิบัติตามพระธรรม
วินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งของมหาเถรสมาคม
                   (๓) เป็นธุระในการศึกษาอบรมและสั่งสอนพระธรรมวินัย แก่บรรพชิตและคฤหัสถ์
                   (๔) ให้ความสะดวกตามสมควรในการบำเพ็ญกุศล

                   มาตรา ๓๘ เจ้าอาวาสมีอำนาจดังนี้
                   (๑) ห้ามบรรพชิตและคฤหัสถ์ซึ่งมิได้รับอนุญาตของเจ้าอาวาส เข้าไปอยู่อาศัยในวัด
                   (๒) สั่งให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ซึ่งไม่อยู่ในโอวาทของเจ้าอาวาส ออกไปเสียจากวัด
                   (๓) สั่งให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่หรือพำนักอาศัยในวัด ทำงานภายในวัด หรือให้ทำทัณฑ์บนหรือให้ขอ
ขมาโทษ ในเมื่อบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ในวัดนั้นประพฤติผิดคำสั่งเจ้าอาวาสซึ่งได้ สั่งโดยชอบ ด้วยพระธรรมวินัย กฎมหา
เถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งของมหาเถรสมาคม

                   มาตรา ๓๙ ในกรณีที่ไม่มีเจ้าอาวาสหรือเจ้าอาวาสไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้แต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส
ให้ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส มีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับเจ้าอาวาส การแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส ให้เป็นไปตามหลัก
เกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม


 
                                                                 หมวด ๖
                                                    ศาสนสมบัติ

                   มาตรา ๔๐ ศาสนสมบัติแบ่งออกเป็นสองประเภท
                  (๑) ศาสนสมบัติกลาง ได้แก่ทรัพย์สินของพระศาสนาซึ่งมิใช่ของวัดใดวัดหนึ่ง
                  (๒) ศาสนสมบัติของวัด ได้แก่ทรัพย์สินของวัดใดวัดหนึ่ง

                   การดูแลรักษาและการจัดการศาสนสมบัติกลาง ให้เป็นอำนาจ หน้าที่ของกรมการศาสนา เพื่อการนี้ให้ถือว่ากรม
การศาสนาเป็นเจ้าของศาสนสมบัติกลางนั้นด้วย
                   การดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด ให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

                   มาตรา ๔๑ ให้กระทรวงศึกษาธิการจัดทำงบประมาณประจำปี ของศาสนสมบัติกลางด้วยความเห็นชอบของ
มหาเถรสมาคม และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้งบประมาณนั้นได้

 
                                                                   หมวด ๗
                                                 บทกำหนดโทษ

                   มาตรา ๔๒ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๖ มาตรา ๒๗ วรรคสอง หรือ มาตรา ๒๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน
 
                 มาตรา ๔๓ ผู้ใด
                  (๑) หมดสิทธิ์ที่จะได้รับบรรพชาอุปสมบทโดยต้องปาราชิก มาแล้ว แต่มารับบรรพชาอุปสมบทโดยปิดบังความจริง
                  (๒) ต้องปาราชิกแล้วไม่ละการแต่งกายอย่างเพศบรรพชิต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน

                   มาตรา ๔๔ ผู้ใดใส่ความคณะสงฆ์ไทย อันอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียหรือความแตกแยกต้องระวางโทษปรับ
ไม่เกินห้าพันบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำ

                                                                  หมวด ๘
                                                    เบ็ดเตล็ด


 
                มาตรา ๔๕ ให้ถือว่าพระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ในการปกครองคณะสงฆ์และไวยาวัจกร เป็น
เจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา
                  มาตรา ๔๖ การปกครองคณะสงฆ์อื่นนอกจากคณะสงฆ์ไทยให้เป็นไปตามกฎกระทรวง

 
                                                                 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
                                                            จอมพล ส. ธนะรัชต์
                                                               นายกรัฐมนตรี


 
          หมายเหตุ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือโดยที่การจัดดำเนินกิจการคณะสงฆ์มิใช่เป็นกิจการอัน
พึงแบ่งแยกอำนาจดำเนินการด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการถ่วงดุลย์แห่งอำนาจเช่นที่เป็นอยู่ตามกฎหมายในปัจจุบัน และโดยที่ระบบ
เช่นว่านั้นเป็นผลบั่นทอนประสิทธิภาพแห่งการดำเนินกิจการ จึงสมควรแก้ไขปรับปรุงเสียใหม่ให้สมเด็จพระสังฆราชองค์สกล
มหาสังฆปริณายก ทรงบัญชาการคณะสงฆ์ทางมหาเถรสมาคม ตามอำนาจกฎหมายและพระธรรมวินัยทั้งนี้ เพื่อความเจริญ
รุ่งเรืองแห่งพระพุทธศาสนา


 
                                             พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒)
                                                พ.ศ. ๒๕๓๕
                                           ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
                              ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๕
                                      เป็นปีที่ ๔๗ ในรัชกาลปัจจุบัน

 
               พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า 
                 โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์
                 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้

                 มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕“
                 มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
                 มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๕ ทวิ และมาตรา ๕ ตรี แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕

                “มาตรา ๕ ทวิ ในพระราชบัญญัตินี้
                “คณะสงฆ์” หมายความว่า บรรดาพระภิกษุที่ได้รับบรรพชาอุปสมบทจากพระอุปัชฌาย์ตามพระราชบัญญัตินี้
หรือตามกฎหมาย ที่ใช้บังคับก่อนพระราชบัญญัตินี้ ไม่ว่าจะปฏิบัติศาสนกิจในหรือนอก ราชอาณาจักร
                “คณะสงฆ์อื่น” หมายความว่า บรรดาบรรพชิตจีนนิกาย หรืออนัมนิกาย
                “พระราชาคณะ” หมายความว่า พระภิกษุที่ได้รับแต่งตั้ง และสถาปนาให้มีสมณศักดิ์ตั้งแต่ชั้นสามัญจนถึงชั้น
สมเด็จพระราชาคณะ
                “สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์”หมายความว่าสมเด็จพระราชาคณะที่ได้รับสถาปนา
ก่อนสมเด็จพระราชาคณะรูปอื่น ถ้าได้รับสถาปนาในวันเดียวกันให้ถือรูปที่ได้รับสถาปนาในลำดับก่อน
                  มาตรา ๕ ตรี พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการ แต่งตั้งสถาปนาและถอดถอนสมณศักดิ์ของพระ
ภิกษุในคณะสงฆ์”
 
                มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้
แทน
 
               “มาตรา ๗ พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง
                  ในกรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนาม
สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช
 
                ในกรณีที่สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้นายกรัฐมนตรีโดยความ
เห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะรูปอื่นผู้มีอาวุโส โดยสมณศักดิ์รองลงมาตามลำดับและสามารถ
ปฏิบัติหน้าที่ได้ขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช”
 
                มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๙ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ และให้ใช้
ความต่อไปนี้แทน
                “มาตรา ๙ ในกรณีที่สมเด็จพระสังฆราชทรงลาออกจากตำแหน่งหรือพระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดให้ออก
จากตำแหน่ง พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาของสมเด็จพระสังฆราชหรือตำแหน่งอื่นใดตามพระราชอัธยาศัยก็
ได้
                 มาตรา ๑๐ ในเมื่อไม่มีสมเด็จพระสังฆราช ให้สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์เป็นผู้ปฏิบัติ
หน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
                 ถ้าสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการมหาเถรสมาคมที่เหลือ
อยู่เลือกสมเด็จพระราชาคณะรูปหนึ่งผู้มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์รองลงมาตามลำดับและสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่
ี่สมเด็จพระสังฆราช
                 ในเมื่อสมเด็จพระสังฆราชไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือไม่อาจทรงปฏิบัติหน้าที่ได้ สมเด็จพระสังฆราชจะ
ได้ทรงแต่งตั้งให้สมเด็จพระราชาคณะรูปใดรูปหนึ่งปฏิบัติหน้าที่แทน
                 ในกรณีที่สมเด็จพระสังฆราชมิได้ทรงแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนตามวรรคสาม หรือสมเด็จพระราชาคณะซึ่งได้
รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราชไม่อาจปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชได้ ให้นำความในวรรคหนึ่งและ
วรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลมให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศนามสมเด็จพระราชาคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สม
เด็จพระสังฆราชตามมาตรานี้ ในราชกิจจานุเบกษา”
 
               มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ และให้ใช่ความต่อไปนี้แทน
 
               มาตรา ๑๒ มหาเถรสมาคมประกอบด้วยสมเด็จพระสังฆราชซึ่งทรงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการโดยตำ
แหน่ง สมเด็จพระราชาคณะทุกรูปเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และพระราชาคณะซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้งมีจำนวนไม่
่เกินสิบสองรูปเป็นกรรมการ”
 
               มาตรา ๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๕ ทวิ มาตรา ๑๕ ตรี และมาตรา ๑๕ จัตวา แห่งพระราชบัญญัติ
คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕
                 มาตรา ๑๕ ทวิ การแต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคมตาม มาตรา ๑๒ และการให้กรรมการมหาเถรสมาคมพ้น
จากตำแหน่งตามมาตรา ๑๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช
 
               มาตรา ๑๕ ตรี มหาเถรสมาคมมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
                (๑) ปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปโดยเรียบร้อยดีงาม
                (๒) ปกครองและกำหนดการบรรพชาสามเณร
                (๓) ควบคุมและส่งเสริมการศาสนศึกษา การศึกษาสงเคราะห์ การเผยแผ่ การสาธารณูปการ และการสาธารณ
                      สงเคราะห์ของคณะสงฆ์
                (๔) รักษาหลักพระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา
                (๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่น

                 เพื่อการนี้ ให้มหาเถรสมาคมมีอำนาจตรากฎมหาเถรสมาคม ออกข้อบังคับ วางระเบียบ ออกคำสั่ง มีมติหรือออก
ประกาศ โดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายและพระธรรมวินัยใช้บังคับได้และจะมอบให้พระภิกษุรูปใดหรือคณะกรรมการหรือ
คณะอนุกรรมการตามมาตรา ๑๙ เป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่ตามวรรคหนึ่งก็ได้
 
               มาตรา ๑๕ จัตวา เพื่อรักษาหลักพระธรรมวินัยและเพื่อความเรียบร้อยดีงามของคณะสงฆ์ มหาเถรสมาคมจะตรา
กฎมหาเถรสมาคม เพื่อกำหนดโทษหรือวิธีลงโทษทางการปกครอง สำหรับพระภิกษุและสามเณรที่ประพฤติให้เกิดความเสียหาย
แก่พระศาสนา และการปกครองของคณะสงฆ์ก็ได้
 
               พระภิกษุและสามเณรที่ได้รับโทษตามวรรคหนึ่ง ถึงขั้นให้สละสมณเพศต้องสึกภายในสามวันนับแต่วันทราบคำ
สั่งลงโทษ”
 
               มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
 
              “มาตรา ๑๖ ในกรณีที่ประธานกรรมการมหาเถรสมาคมไม่อาจมาประชุมหรือไม่อยู่ในที่ประชุมมหาเถรสมาคม
และมิได้มอบหมายให้สมเด็จพระราชาคณะรูปใดรูปหนึ่งปฏิบัติหน้าที่แทน ให้สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณ
ศักดิ์ซึ่งอยู่ในที่ประชุมเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน”

                 มาตรา ๙ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๘ มาตรา ๑๙ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                 มาตรา ๑๘ ในกรณีที่ยังไม่มีการแต่งตั้งกรรมการมหาเถร สมาคมแทนตำแหน่งที่ว่างตามมาตรา ๑๖ วรรคสอง
ให้ถือว่ามหาเถรสมาคมมีกรรมการเท่าจำนวนที่เหลืออยู่ในขณะนั้น

                 มาตรา ๑๙ สมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้งคณะกรรมการ หรือ คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ ตามมติมหาเถรสมา
คม ประกอบด้วยพระภิกษุ หรือบุคคลอื่นจำนวนหนึ่ง มีหน้าที่พิจารณากลั่นกรองเรื่องที่จะเสนอต่อมหาเถรสมาคมและปฏิบัติหน้า
ที่อื่นตามที่มหาเถรสมาคมมอบหมาย โดยขึ้นตรงต่อมหาเถรสมาคม
 
               การจัดให้มีคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ การ แต่งตั้งกรรมการหรืออนุกรรมการ การพ้นจาก
ตำแหน่งของกรรมการ หรืออนุกรรมการและระเบียบการประชุมให้เป็นไปตามระเบียบมหาเถรสมาคม
 
               มาตรา ๒๐ คณะสงฆ์ต้องอยู่ภายใต้การปกครองของมหาเถรสมาคม
                 การจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม
                 มาตรา ๑๐ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๒๐ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕
 
              “มาตรา ๒๐ ทวิ เพื่อประโยชน์แก่การปกครองคณะสงฆ์ส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคให้มีเจ้าคณะใหญ่ปฏิบัติหน้าที่
ี่ในเขตปกครองคณะสงฆ์
                 การแต่งตั้งและการกำหนดอำนาจหน้าที่เจ้าคณะใหญ่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎมหาเถร
สมาคม”
                 มาตรา ๑๑ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
               “มาตรา ๒๗ เมื่อพระภิกษุรูปใดต้องด้วยกรณีข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
               (๑) ต้องคำวินิจฉัยตามมาตรา ๒๕ ให้รับนิคหกรรมไม่ถึงให้สึก แต่ไม่ยอมรับนิคหกรรมนั้น
               (๒) ประพฤติล่วงละเมิดพระธรรมวินัยเป็นอาจิณ
               (๓) ไม่สังกัดอยู่ในวัดใดวัดหนึ่ง
               (๔) ไม่มีวัดเป็นที่อยู่เป็นหลักแหล่ง
 
             ให้ภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม
               พระภิกษุผู้ต้องคำวินิจฉัยให้สละสมณเพศตามวรรคสอง ต้องสึกภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำวินิจฉัยนั้น”

               มาตรา ๑๒ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๑ แห่งพระราช บัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
              “มาตรา ๓๑ วัดมีสองอย่าง
              (๑) วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
              (๒) สำนักสงฆ์
               ให้วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล
               เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดในกิจการทั่วไป”
 
             มาตรา ๑๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๓๒ ทวิ แห่งพระ ราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕
              “มาตรา ๓๒ ทวิ วัดใดเป็นวัดร้างที่ไม่มีพระภิกษุอยู่อาศัยใน ระหว่างที่ยังไม่มีการยุบเลิกวัด ให้กรมการศาสนามี
หน้าที่ปกครองดูแลรักษาวัดนั้น รวมทั้งที่วัด ที่ธรณีสงฆ์และทรัพย์สินของวัดนั้นด้วย
               การยกวัดร้างขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
               มาตรา ๑๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๔ และมาตรา ๓๕ แห่ง พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ และให้
ใช้ความต่อไปนี้แทน
              “มาตรา ๓๔ การโอนกรรมสิทธิ์ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ หรือที่ ศาสนสมบัติกลาง ให้กระทำได้แต่โดยพระราชบัญญัติ เว้น
แต่เป็นกรณีตามวรรคสอง
               การโอนกรรมสิทธิ์ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ หรือที่ศาสนสมบัติกลาง ให้แก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของ
รัฐ เมื่อมหาเถรสมาคมไม่ขัดข้องและได้รับค่าผาติกรรมจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานนั้นแล้ว ให้กระทำโดยพระ
ราชกฤษฎีกา
              ห้ามมิให้บุคคลใดยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัดหรือกรมการศาสนา แล้วแต่กรณี ในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นที่วัด ที่ธรณี
สงฆ์ หรือที่ศาสนสมบัติกลาง
              มาตรา ๓๕ ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ และที่ศาสนสมบัติกลาง เป็นทรัพย์สินซึ่งไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี”
               มาตรา ๑๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๒ มาตรา ๔๓ และ มาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.
๒๕๐๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
              “มาตรา ๔๒ ผู้ใดมิได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ หรือถูก ถอดถอนจากความเป็นพระอุปัชฌาย์ตามมาตรา ๒๓ แล้วกระทำการบรรพชาอุปสมบทแก่บุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งป
               มาตรา ๔๓ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๕ จัตวา วรรคสอง มาตรา ๒๖ มาตรา ๒๗ วรรคสาม หรือมาตรา ๓๘ ต้องระวาง
โทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
               มาตรา ๔๔ ผู้ใดพ้นจากความเป็นพระภิกษุเพราะต้องปาราชิกมาแล้วไม่ว่าจะมีคำวินิจฉัยตามมาตรา ๒๕ หรือไม่ก็
ตาม แต่มารับบรรพชาอุปสมบทใหม่โดยกล่าวความเท็จหรือปิดบังความจริงต่อพระอุปัชฌาย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี”
               มาตรา ๑๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๔๔ ทวิ และมาตรา ๔๔ ตรี แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕
              “มาตรา ๔๔ ทวิ ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายสมเด็จพระสังฆราช ต้องระวางโทษจำ
คุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
               มาตรา ๔๔ ตรี ผู้ใดใส่ความคณะสงฆ์หรือคณะสงฆ์อื่นอันอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียหรือความแตกแยก ต้องระ
วางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
 
             มาตรา ๑๗ ให้ยกเลิกความในมาตร ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
              “มาตรา ๔๖ การปกรองคณะสงฆ์อื่นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง”

               มาตรา ๑๘ บรรดากฎกระทรวง กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งของมหาเถรสมาคมที่ออกตาม
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้
 
             มาตรา ๑๙ วัดที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามพระราช
บัญญัติคณะ สงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
 
             มาตรา ๒๐ ให้พระภิกษุที่ได้รับแต่งตั้งและสถาปนาให้มี สมณศักดิ์อยู่ก่อนวันใช้พระราชบัญญัตินี้ยังมีสมณศักดิ์
นั้นต่อไป
  
            ให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะ ใหญ่ กรรมการหรืออนุกรรมการใดตามพระราชบัญ
ญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ หรือตามกฎกระทรวง กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งของมหาเถรสมาคมซึ่งออก
ตามความในพระ ราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ยังคงดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนครบวาระการดำรงตำ
แหน่งหรือจนกว่ามหาเถรสมาคมจะมีมติเป็นประการอื่น
 
             มาตรา ๒๑ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

                                                         ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
                                                               อานันท์ ปันยารชุน
                                                                 นายกรัฐมนตรี

              หมายเหตุ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ ได้ใช้
บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว สมควรปรับปรุงบทบัญญัติว่าด้วยการสถาปนา สมเด็จพระสังฆราช และการแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่
ี่แทนสมเด็จพระสังฆราช การแต่งตั้งถอดถอนสมณศักดิ์ของพระภิกษุ อำนาจหน้า ที่และการปฏิบัติหน้าที่ของมหาเถรสมาคม การปกครอง การสละสมณเพศของคณะสงฆ์และคณะสงฆ์อื่น วัดการดูแลรักษาวัด ทรัพย์สินของวัด และศาสนสมบัติกลาง
ตลอดจนปรับปรุงบทกำหนดโทษให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕