หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU
Mahachulalongkornrajavidyalaya University


ข้อมูลเรื่อง


มหาวิทยาลัย


การบริหาร

วิชาการ

การวิจัย

หลักสูตรมหาวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย

วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ

คณะและส่วนงาน

ทำบุญกับมหาจุฬาฯ

งานบริการวิชาการแก่สังคม

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

กฎระเบียบและประกาศ


ข้อมูลสำหรับ

อาจารย์/บุคลากร

นิสิต

สมาคมศิษย์เก่า



  สถิติเข้าชมส่วนงาน  
ของวิทยาเขต
คลิ๊กเพื่อเลือกส่วนงาน
กรุงเทพ ฯ
คณะ/บัณฑิตวิทยาลัย
วิทยาเขต
วิทยาลัยสงฆ์
ห้องเรียน

 พระพุทธรูปที่สำคัญ

    พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ( พระแก้วมรกต )

                                                
           
           สถานที่ประดิษฐาน         พระอุโสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) กรุงเทพมหานคร

           พุทธลักษณะ                   ศิลปะเชียงแสนสิงห์หนึ่ง
                                                 ปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ
                                                 ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๙ นิ้ว สูงจากฐานถึงพระรัศมี ๒๘ นิ้ว
                                                 วัสดุ แก้วผลึกสีเขียว

            พระพุทธมหาณีรัตนปฏิมากรเป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่และสำคัญยิ่ง เรื่องราวของพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรที่
ปรากฏชัดเจนในพงศาวดารเริ่มที่ราวพุทธศักราช ๑๙๗๘ ในรัชสมัยพระเจ้าสามฝั่งแกนแห่งอาณาจักรล้านนา เมื่อพระสถูป
ใหญ่โตเก่าแก่องค์หนึ่งของเมืองเชียงราย (ปัจจุบันคือวัดพระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย) ถูกฟ้าผ่าทลายลง พบว่ามีพระ
พุทธรูปลงรักปิดทองอยู่ภายใน เมื่ออัญเชิญไปประดิษฐานในพระวิหารได้ไม่นานปูนปั้นที่ปลายพระนาสิกกระเทาะออกเห็นเป็น
แก้วสีเขียวจึงมีการแกะปูนที่ลงรักปิดทองหุ้มองค์พระออกจนหมดก็ปรากฏเป็นพระพุทธรูปแก้วทึบทั้งแท่งงามบริสุทธิ์สมบูรณ์ คุณลักษณะพิเศษขององค์พระปฏิมาที่สร้างขึ้นจากแก้วผลึกสีเขียวงดงามราวกับมรกตผนวกกับการค้นพบอย่างอัศจรรย์ทำให้
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรเป็นที่เลื่อมใสบูชาของประชาชนทั่วไปรวมทั้งบรรดาผู้ครองเมืองต่างๆ จึงปรากฏว่าในช่วงระยะ
เวลากว่าสามร้อยปีจากนั้นมาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรได้รับการอัญเชิญไปประดิษฐานอยู่ ณ เมืองสำคัญหลายเมือง อาทิ
ลำปาง เชียงใหม่ หลวงพระบางและเวียงจันทน์
       ครั้นถึงพุทธศักราช ๒๓๒๑ ในสมัยกรุงธนบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเมื่อยังเป็นสมเด็จเจ้า
พระยามหากษัตริย์ศึก เสด็จนำทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ได้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรลงมายังกรุงธนบุรี เมื่อเสด็จ
เถลิงถวัลยราชสมบัติโปรดฯ ให้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรมาประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ซึ่งเป็นพระอารามในเขตพระราชฐานเมื่อวันจันทร์เดือน ๔ แรม ๑๔ ค่ำ ปีมะโรง พุทธศักราช ๒๓๒๗ เป็นที่ปฏิบัติบูชาของ
พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์สืบมาจนทุกวันนี้

        พระพุทธสิหิงค์

                                                 

            สถานที่ประดิษฐาน         พระที่นั่งพุทไธศวรรย์ภายในบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระ
นคร
            พุทธลักษณะ                   ศิลปะลังกา
                                                 ปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ
                                                 ขนาด หน้าตักกว้าง ๖๖ เซนติเมตร สูง ๙๑ เซนติเมตร
                                                 วัสดุ สำริด

            เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นโดยกษัตริย์องค์หนึ่งของลังกา ได้มีการอัญเชิญมายังกรุงสุโขทัยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำ
แหงมหาราช เมื่อกรุงสุโขทัยตกอยู่ใต้อำนาจกรุงศรีอยุธยาสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว) ได้ทรงอัญเชิญ
พระพุทธสิงหิงค์มาประดิษฐาน ณ กรุงศรีอยุธยา
            พระพุทธสิงหิงค์เป็นพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งที่ผู้ครองเมืองทั้งหลายปรารถนาที่จะได้ไว้เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง จึงปรากฏตามประวัติว่าได้มีการอัญเชิญพระพุทธสิงหิงค์ย้ายไปมาระหว่างกรุงศรีอยุธยากับเมืองเชียงใหม่สุดแต่สถานการณ์
์และอำนายทางการเมืองจนกระทั่งในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์เมื่องเชียงใหม่เจ้ารวมอยู่ในการปกครองของกรุงเทพฯ สมเด็จ
พระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาททรงอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ลงมาประดิษฐานฯ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ใน พระบวรราชวัง
เมื่อปี ๒๓๓๘
            เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทสวรรคต พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดฯ ให้
อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า
เจ้าอยู่หัวทรงอัญเชิญกลับมายังพระบวรราชวังด้วยพระราชประสงค์จะปราดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาสซึ่ง
เป็นวัดในเขตพระราชฐานที่กำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงแต่เสด็จสวรรคตเสียก่อนพระพุทธสิหิงค์จึงประดิษฐานอยู่ ณ พระที่
นั่งพุทไธสวรรย์สืบมาจนปัจจุบัน

        พระพุทธสิหิงค์ ( เชียงใหม่ )

                                    

 
         สถานที่ประดิษฐาน         วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร ตำบงพระสิงห์ อำเภอเมือง
จังหวัดเชียงใหม่

            พุทธลักษณะ                  ศิลปะเชียงแสนสิงห์หนึ่ง
                                                 ปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร
                                                 ขนาด หน้าตักกว้าง ๑ เมตร
                                                 วัสดุ สำริด ลงรักปิดทอง

            เมื่อพุทธศักราช ๑๙๕๐ ขณะเมื่อพระพุทธสิหิงค์ยังประดิษฐานอยู่ ณ เมืองเชียงราย เชียงรายกับเชียงใหม่เกิดการรบ
พุ่งกันขึ้นเชียงใหม่เป็นฝ่ายชนะ พระเจ้าแสนเมืองมาแห่งนครเชียงใหม่จึงโปรดให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มายังเชียงใหม่โดย
ล่องเรือมาตามลำน้ำปิง
            เรือที่อัญเชิญพระพุทธสิงหิงค์มาเทียบท่าขึ้นฝั่งยังนครเชียงใหม่ที่ท่าวังสิงห์คำขณะเชิญขึ้นพระดิษฐานบนบุษบก
ปรากฏรัศมีจากองค์พระเรืองรองเป็นลำไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือไกลถึง ๒๐๐๐ วา ต่อมาจึงได้มีการสร้างวัดขึ้น ณ ที่นั้น
ได้ชื่อตามเหตุอัศจรรย์ในครั้นนั้นว่า วัดฟ้าฮ่าม ซึ่งหมายถึงฟ้าอร่ามนั่นเอง
            แต่แรกนั้นพระเจ้าแสนเมืองมาตั้งพระทัยจะอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ไปประดิษฐานยังวัดสวนดอกซึ่งตั้งอยู่นอกเวียงออก
ไปทางทิศตะวันตก แต่เมื่อชักลากบุษบกไปถึงวัดสีเชียงพระก็มีอันติดขัดไม่อาจลากต่อไปได้ พระเจ้าแสนเมืองมาถือเป็นศุภนิมิตร
จึงโปรดให้สร้างมณฑปขึ้น ณ วัดลีเชียงพระและประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ไว้ ณ วัดนั้น
            เมื่อพระพุทธสิหิงส์ประดิษฐานอยู่ ณ วัดลีเชียงพระ ความศรัทธาเลื่อมใสของชาวเมืองที่มีต่อพระพุทธรูปองค์นี้ทำให
้ชาวเมืองเชียงใหม่พากันเรียกชื่อวัดตามนามพระแต่เนื่องจากชาวเมืองเรียกนามพระพุทธสิหิงค์กร่อนเป็นพระสิงห์ วัดพระพุทธ
สิหิงค์จึงกลายมาเป็นวัดพระสิงห์ดังเช่นทุกวันนี้

         พระพุทธสิหิงค์ ( นครศรีธรรมราช )

                                    

            สถานที่ประดิษฐาน        หอพระพุทธสิหิงค์ ในบริเวณศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช
            พุทธลักษณะ                  ศิลปะแบบขนมต้ม (สกุลช่างนครศรีธรรมราช)
                                                ปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร
                                                ขนาด หน้าตัดกว้าง ๑๔ นิ้ว สูง ๑๖.๘ นิ้ว
                                                วัสดุ สำริด

             พระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองนครศรีธรรมราชมาช้านานชาวนครศรีธรรมราชเชื่อกันว่าพระพุทธรูปนี้
คือ พระพุทธสิหิงค์องค์ที่ปรากฏเรื่องราวตาม “สิหิงคนิทาน” หรือตำนานของพระพุทธสิหิงค์ เนื่องจากมีความที่ระบุเรื่องราว
เกี่ยวข้องกับเมืองนครศรีธรรมราชอยู่ กล่าวคือ พ่อขุนรามคำแหงแห่งกรุงสุโขทัยได้ทรงทราบกิติศัพท์เกี่ยวกับพระพุทธสิหิงค์
จึงโปรดให้พระยานครศรีธรรมราชแต่งทูตอัญเชิญพระราชสาส์น ไปขอประทานพระพุทธสิหิงค์จากกษัตริย์ลังกา ซึ่งพระเจ้า
กรุงลังกาก็ถวายให้สมพระราชประสงค์จึงได้มีการอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์เข้ามายังดินแดนไทยโดยผ่านทางนครศรีธรรมราช
ซึ่งเป็นเมืองที่มีการติดต่อสัมพันธ์อยู่กับลังกาอย่างใกล้ชิด ตามตำนานนั้นว่าพ่อขุนรามคำแหงเสด็จไปรับพระพุทธสิหิงค์ถึงยัง
นครศรีธรรมราชด้วยพระองค์เอง
             พระพุทธสิหิงค์เป็นที่เลื่อมใสเคารพบูชาในหมู่ชาวภาคใด้โดยเฉพาะชาวนครศรีธรรมราชเป็นอย่างยิ่งว่ากันว่าผู้ทุจริต
คิดมิชอบทั้งหลายจะไม่กล้าสาบานต่อหน้าองค์พระเลย หลังจากที่ได้อัญเลิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่ศาลากลางจังหวัด
แล้วคดีความที่จะต้องขึ้นโรงขึ้นศาลลดน้อยลงไปอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากมักมีการเอ่ยอ้างนามพระพุทธสิหิงค์ในการสาบานตัว ทำให้ไม่มีใครกล้าเบิกความเท็จ
             มีการอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ออกให้ประชาชนสรงน้ำในเทศกาลสงกรานต์เป็นประจำทุกปี

     
   พระพุทธชินราช

                                     

             สถานที่ประดิษฐาน        พระวิหาร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมือง พิษณุโลก
             พุทธลักษณะ                 ศิลปะสุโขทัย ปางมารวิชัย
                                                 ขนาดหน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๑ คืบ ๕ นิ้ว สูง ๗ ศอก
                                                 วัสดุ สำริดลงรักปิดทอง

             พิษณุโลกเป็นเมืองใหญ่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มาแต่โบราณจึงมีโบราณสถานโบราณวัตถุให้เที่ยวชมจำนวน
มาก ในขณะเดียวกันก็เป็นเมืองที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น ป่า เขาและน้ำตกที่งดงามมีชื่อเสียงให้เลือกเที่ยวกับตาม
อัธยาศัย แต่มีสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งนักเดินทางไม่ว่าจะมาเที่ยวแบบใดจะต้องมุ่งไป คือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุหรือที่ชาวเมือง
เรียกขานกันว่า “วัดใหญ่” วัดแห่งนี้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านในบริเวณตัวเมือง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินราชพระพุทธรูปที่ได้รับ
ยกย่องว่างามที่สุดองค์หนึ่งของไทย
             พระพุทธชินราชเป็นพระพุทธรูปโบราณ สันนิษฐานว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทโปรดให้สร้างขึ้นในคราวเดียว
กับพระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดาครั้นสถาปนาเมืองพิษณถุโลกเป็นเมืองลูกหลวงในพุทธศักราช ๑๙๐๐ พระพุทธชินราชคือ
ประจักษ์พยานถึงความสูงส่ง ทางฝีมือและความฉลาดลึกซึ้งของช่างในยุคนั้น นอกจากองค์พระจะงดงามโดยพุทธลักษณะคือ
เป็นการนำเอาลักษณะที่งามตามแบบอย่างพระพุทธรูปสุโขทัยกับเชียงใหม่มาผสมผสานกันอย่างลงตัวแล้วการประดิษฐานองค์
พระในจุดที่พอดีทั้งเรื่องแสงเงาและมุมมองยังมีส่วนสำคัญให้เราได้รับความงามนั้นอย่างเต็มที่ เมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรง
ราชานุภาพเสด็จมานมัสการพระพุทธชินราชครั้นแรกในปี ๒๔๓๕ ทรงบันทึกไว้ว่า “…เวลานั้นยังมิได้ปฏิสังขรณ์แก้ไขพระ
วิหารให้สว่างอย่างทุกวันนี้พอไปถึงประตูวิหารแลเข้าไปข้างใน ดูที่อื่นมืดหมดเห็นแต่องค์พระชินราชตระหง่านงามเหมือนลอย
อยู่ในอากาศ เห็นเข้าก็จับใจเกิดเลื่อมใสในทันที เพราะเขาทำช่องแสงสว่างเข้าทองประตูใหญ่ด้านหน้าแต่ทางเดียว พระชินราช
ตั้งอยู่ข้างในตรงประตูและเป็นของปิดทอง จึงแลเห็นก่อนสิ่งอื่นในวิหาร…” ต่อมาได้มีการเจาะหลังคาวิหารให้แสงสว่างเข้าได้
มากขึ้น ซึ่งกลับทำให้องค์พระไม่เด่นเข่นที่เป็นมาแต่โบราณ อีกประการหนึ่งได้แก่การกำหนดตั้งองค์พระให้หน้าตักอยู่ในระดับ
สายตาในวิหารซึ่งมีรูปทรงยาว เปรียบประดุจกล้องส่องกำกับระยะการมองให้ได้คมชัดที่ช่วยให้เราเห็นความงามได้เต็มที่ ข้อนี้
ท่านผู้รู้กล่าวไว้ว่าหากพระพุทธชินราชไปประดิษฐานฯอยู่ในวิหารสั้นๆ และองค์พระตั้งอยู่สูงจนต้องแหงนหน้าดู จะไม่งามได้
เท่าที่เป็นอยู่นี้

        พระพุทธชินสีห์

                                      

 
         สถานที่ประดิษฐาน          พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรมหาวิหาร
                                                  ริมถนนบวรนิเวศและถนนพระสุเมรุ กรุงเทพมหานคร
            พระพุทธลักษณะ             ศิลปะสุโขทัยผสมเชียงแสน
                                                  ปางมารวิชัย
                                                  ขนาด หน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๑ คืบ ๔ นิ้ว
                                                  วัสดุ สำริด ลงรักปิดทอง

            พระพุทธชินสีห์เป็นพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งในกระบวนพระพุทธรูปที่อัญเชิญลงมาจากหัวเมืองฝ่ายเหนือในสมัย
กรุงรัตนโกสินทร์ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่เชื่อกันว่าพระมหาธรรมราชาลิไทแห่งกรุงสุโขทัยโปรดให้สร้างขึ้นที่เมืองพิษณุโลก
คราวเดียวกันกับพระพุทธชินราช แล้วให้ประดิษฐานไว้ที่พระวิหารทิศเหนือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลกสืบมาเป็นเวลา
หลายร้อยปี
            ครั้นในรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระวิหารที่ประดิษฐานพระพุทธชินสีห์ชำรุดทรุดโทรมขาดผู้รักษาดูแล สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพจึงโปรดให้อัญเชิญมายังกรุงเทพมหานคร เพื่อประดิษฐาน ณ วัดบวรนิเวศที่ทรง
ปฏิสังขรณ์
            พระพุทธชินสีห์นั้นเป็นพระพุทธรูปที่ชาวพิษณุโลกและชาวเมืองเหนือเคารพบูชาอย่างยิ่งองค์หนึ่ง ในคราวที่อัญเชิญ
พระพุทธชินสีห์ลงมากรุงเทพฯในปี ๒๓๗๒ นั้น มีบันทึกที่กล่าวถึงความรู้สึกของชาวเมืองไว้ว่า
            …เมื่อเชิญออกจากวิหารนั้น ราษฏรพากันมีความเศร้าโศกร้องไห้เป็นอันมาก เงียบเหงาสงัดไปทั้งเมืองเหมือนศพลงเรือน
แลแต่นั้นมาฝนก็แล้งไป ๓ ปี ชาวเมืองพิษณุโลกได้ความยากยับไปเป็นอันมาก ตั้งแต่พระพุทธชินสีห์ลงมาถึง กรมพระราชวัง
บวรมหาศักดิพลเสพก็ทรงพระประชวรพระโรคมานน้ำได้ปีเศษก็เสด็จสวรรคต ราษฏรพากันกล่าวว่าเพราะเหตุที่ท่านไปเชิญ
พระพุทธชินสีห์อันเป็นสิริของเมืองพิษณุโลกลงมา…
            เมื่อแรกที่พระพุทธชินสีห์มาถึงยังวัดบวรนิเวศได้ประดิษฐานอยู่ ณ มุขหลังของพระอุโสถเดิมซึ่งทำเป็นจตุรมุข เมื่อ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครั้งยังผนวชเสด็จมาครองวัดบวรนิเวศจะทรงสร้างพระเจดีย์จึงทรงเชิญพระพุทธชิน
สีห์มาประดิษฐานในพระอุโบสถเพื่อรื้อมุขหลังสร้างพระเจดีย์ พระพุทธชินสีห์จึงประดิษฐานคู่กับพระสุวรรณเขตตราบจนทุก
วันนี้

        พระพุทธตรีโลกเชฏฐ์

                                     

           สถานที่ประดิษฐาน          พระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร เสาชิงช้า กรุงเทพมหานคร
           พุทธลักษณะ                    ศิลปะรัตนโกสินทร์
                                                 ปางมารวิชัย
                                                 ขนาดหน้าตัด ๑๐ ศอก ๘ นิ้ว สูง ๔ วา ๑๘ นิ้ว
                                                 วัสดุ สำริดลงรักปิดทอง

           วัดสุทัศนเทพวรารามสถาปนาขึ้นในช่วงปลายรัชกาลที่ ๑ เมื่อเสด็จสวรรคตการสร้างยังค้างอยู่อีกมาก จนสิ้นรัชกาลที่ ๒ ก็ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ มีพระราชประสงค์จะสร้างให้ครบบริบูรณ์โปรดฯให้ศร้างพระอุโบสถสำเร็จ
เมื่อปี ๒๓๗๗ แล้วโปรดฯให้กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์หลอ่พระประธานเพื่อประดิษฐานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปาง
มารวิชัยขนาดหนัก ๓ วา ๑๗ นิ้ว สูง ๔ วา ๑๘ นิ้ว จัดเป็นพะพุทธรูปหล่อใหญ่ที่สุดในกรุงรัตนโกสินทร์ตลอดเวลาเกือบ ๒๐๐
ปี (หากไม่นับรวมถึงพระศรีศากยะทศพลญาณฯ ที่พุทธมณฑลซึ่งเพิ่งจะแล้วเสริ๗ในรัชกาลปัจจุบัน)
           ในสมัยรัชการที่ ๔ ถวายพระนามพระพุทธรูปว่า พระพุทธตรีโลกเชฏฐ์และเนื่องจากทรงโปรดฯ ให้อัญเชิญพระศรี
ศาสดาที่เคยประดิษฐานอยู่ด้วยกันกับพระพุทธตรีโลกเชฏฐ์ไปไว้ยังวัดบรวนิเวศวิหาร จึงโปรดฯให้สร้าง “พระอสีติมหาสาวก”
ขึ้นไว้แทน ดังนั้นในพระอุโบสถวัดสุทัศนฯนอกจากฐานชุกชีที่ประดิษฐานพระประธานแล้วยังมีแท่นขนาดใหญ่จัดวางรูปปูนปั้น
พระอสีติมหาสาวกรวม ๘ องค์นั่งพนมมืออยู่เบื้องหน้าพระพุทธตรีโลกเชฏฐ์ด้วย

        พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร

                                      

 
        สถานที่ประดิษฐาน           พระวิหาร วัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร กรุงเทพมหานคร
           พุทธลักษณะ                     ศิลปะสุโขทัย
                                                   ปางมารวิชัย
                                                   ขนาด ๖ ศอก ๕ นิ้ว สูง ๗ ศอก ๑ คืบ ๙ นิ้ว
                                                   วัสดุ ทองคำเนื้อเจ็ดน้ำสองขา

          วัดโชตินารามหรือวัดพระยาไกรเป็นวัดที่พระยาโชฏึกราชเศรษฐี (เจ้าสัวบุญมา) สร้างขึ้นแล้วถวายเป็นพระอารามหลวง
ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ครั้นเมื่อถึงสมัยประชาธิปไตยใหม่ๆ คือ ปี ๒๔๗๘ วัดนี้มีสภาพเป็นวัดร้าง จึงมีการอัญเชิญพระประธานซึ่ง
เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่มาไว้ยังวัดสามจีน ต่อมาวัดสามจีนได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ มีการดำริที่จะสร้าง
พระวิหารขึ้นเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปที่เชิญมาจากวัดพระยาไกร แต่จะยกพระขึ้นประดิษฐานอย่างไรก็ไม่สำเร็จ จนกระทั่ง
วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๔๙๘ มีฝนตกตอนใกล้รุ่ง พบว่าปูนตรงพระอุระแตกกะเทาะออกเห็นรักปิดทองอยู่ชั้นใน เมื่อกะเทาะ
ปูนออกหมดก็พบว่าเป็นพระพุทธรูปทองคำตลอดองค์ลักษณะงดงามสมบูรณ์เมื่อพิจารณาโดยพุทธลักษณะสันนิษฐานกันว่าเป็น
พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัยแต่เหตุใดจึงมาปรากฏอยู่ที่วัดพระยาไกรในลักษณะพระพุทธรูปปูนปั้นไม่มีผู้ใดทราบ
แน่ชัด
          การพอกปูนปิดบังพระพุทธรูปเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยด้วยเจตนาจะซ่อนเร้นรักษาพระพุทธรูปสำคัญหรือล้ำค่าไว้ ในกรณีนี้
นับว่าปูนที่พอกปิดอยู่ช่วยรักษาพระพุทธรูปทองล้ำค่าองค์นี้ให้รอดพ้นภัยพิบัติมาได้จนถึงปัจจุบันอย่างน่าอัศจรรย์ อนึ่งพบว่าที่
ใต้ฐานทับเกษตรมีกุญแจกลสำหรับถอดองค์พระออกได้เป็น ๙ ส่วน ช่วยให้สามารถเคลื่อนย้ายองค์พระขึ้นประดิษฐานยังพระ
วิหารได้สำเร็จ และผู้สร้างหรือผู้หล่อองค์พระได้ใส่ทองคำสำรองรวมทั้งมุกที่ใส่พระเนตรมาให้อย่างครบถ้วน นับเป็นการสื่อ
สารข้ามศตวรรษระหว่างคนต่างยุคที่น่าอัศจรรย์อีกประการหนึ่ง
          พระพุทธรูปองค์นี้เป็นที่เรียกขานกันว่า “พระสุโขทัยไตรมิตร” และเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวต่างประเทศที่มุ่งมาชมอย่างเนื่อง
แน่นทุกวันว่า “Golden Buddha” จนกระทั่งเมื่อปี ๒๕๓๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โปรดเกล้าฯพระราชทานนาม
พระพุทธรูปองค์นี้ว่า พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร ซึ่งเป็นนามของพระพุทธรูปทองคำที่ปรากฏอยู่ในจารึกของพญาลิไทสมัย
สุโขทัยซึ่งเชื่อกันว่าเป็นพระพุทธรูปองค์นี้นั่นเอง

        พระพุทธเทวปฏิมากร

                                                  

           สถานที่ประดิษฐาน          พระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
           พุทธลักษณะ                    ศิลปะอยุธยา
                                                  ปางสมาธิ
                                                  ขนาดหน้าตัก ๕ ศอก คืบ ๔ นิ้วหรือ ๖๒ นิ้ว สูงถึงพระรัศมี ๗๙ นิ้ว
                                                  วัสดุ สำริดลงรักปิดทอง

           วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือที่ชาวบ้านเรียกกันโดยทั่วไปว่าวัดโพธิ์ตามชื่อเดิมของวัดว่าวัดโพธารามนี้ ถือเป็นวัด
ประจำรัชกาลในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาวัดนี้ขึ้นใหม่จากวัดที่มีอยู่เดิมโดยนับเป็นวัดที่
สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างราชธานี
           เมื่อสร้างพระอุโบสถแล้ว โปรดฯให้อัญเชิญพระประธานจากวัดศาลาสี่หน้าธนบุรีมาบูรณะแล้วประดิษฐานเป็นพระ
ประธาน ได้ทรงทำพิธีบรรจุพระบรมธาตุแล้วถวายพระนามว่าพระพุทธเทวปฏิมากร และได้ทรงสร้างพัดแฉกขนาดใหญ่ถวาย
ด้วย
           ต่อมาในรัชกาลที่ ๔ โปรดฯ ให้อัญเชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯที่พระเจ้าลูกเธอที่รับไปสักการะสิ้น
พระชนม์แล้วขาดผู้พิทักษ์รักษามาบรรจุในพุทธอาสน์ของพระพุทธเทวปฏิมากร ที่ผ้าทิพย์ฐานชั้นบนจึงประดับลายอุณาโลมซึ่ง
เป็นตราพระราชลัญจกรในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ รวมทั้งมีนพปฎลมหาเศวตรฉัตรประดับเหนือองค์พระด้วย
           วัดพระเชตุพนฯนับเป็นวัดสำคัญของกรุงรัตนโกสินทร์วัดหนึ่ง พระพุทธเทวปฏิมากรก็เช่นเดียวกัน จึงได้รับการบูรณะ
ปฏิสังขรณ์จากพระมหากษัตริย์ในพระราชจักรี วงศ์มาโดยตลอด ในรัชกาลปัจจุบันได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในโอกาส
เฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๖๐ พรรษาเมื่อปี ๒๕๓๐ และรัชมังคลาภิเษกในปี ๒๕๓๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระ
ราชศรัทธาถวายฉัตรผ้าตาดทอง ๙ ชั้นและถวายผ้าห่มตาดทองประดับพระปรมาภิไธยย่อ ภปร แด่พระพุทธเทวปฏิมากรด้วย
           ในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครสถลมารคหลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์จะเสด็จ
พระราชดำเนินยังพระอุโบสถวัดพระเชตุพนฯ ทรงนมัสการพระพุทธเทวปฏิมากร ทั้งนี้ถือเป็นธรรมเนียมจากที่พระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติไว้เป็นปฐม

        พระพุทธธรรมิศราชโลกธาตุดิลก

                                     

 
        สถานที่ประดิษฐาน          พระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร
          พุทธลักษณะ                    ศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น
                                                 ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ
                                                 ขนาด หน้าตัก ๑.๗๕ เมตร
                                                 วัสดุ โลหะผสมทอง

           พระพุทธรูปองค์นี้จัดเป็นศิลปวัตถุที่มีความพิเศษยิ่งชิ้นหนึ่งของชาติเนื่องด้วยเป็นฝีพระหัตถ์ของพระมหากษัตริย์รัชกาล
ที่สองแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งได้รับยกย่องว่าทรงเป็นเลิศทางศิลปะหลายแขนง
           พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงทำนุบำรุงวัดอรุณราชวรารามมาตั้งแต่เมื่อยังทรงเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ
ในรัชกาลที่ ๑ จากวัดแจ้งที่เป็นวัดในเขตพระราชฐานของพระราชวังเดิมกรุงธนบุรีทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ใหญ่ทั้งวัดซึ่งมาแล้ว
เสร็จในรัชกาลของพระองค์ เมื่อสร้างพระอุโบสถแล้วทรงปั้นหุ่นพระพักตร์พระพุทธรูปด้วยฝีพระหัตถ์แล้วโปรดฯให้หล่อขึ้น
ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ
           ในรัชกาลต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอัญเชิญพระบรมธาตุจากพระบรมมหาราชวังมาบรรจุไว้ใน
พระเกตุพระพุทธรูป
           เมื่อถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอัญเชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า
นภาลัยมาบรรจุไว้ ผ้าทิพย์ที่ฐานพระพุทธรูปจึงปรากฏตราครุฑ อันเป็นพระราชลัญจกรในรัชกาลที่ ๒ และได้ถวายนามว่า พระ
พุทธธรรมิศราชโลกธาตุดิลก
           ในเดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๓๘ เกิดเพลิงไหม้พระอุโบสถวัดอรุณราชวรารามพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า
อยู่หัวเสด็จฯทรงบัญชาการดับเพลิงด้วยพระองค์เองโปรดฯให้เชิญพระบรมอัฐิออกจากองค์พระได้ทันท่วงทีเมื่อปฏิสังขรณ์พระ
อุโบสถแล้วจึงอัญเชิญกลับมาบรรจุไว้อีกครั้น เมื่อพุทธสักราช ๒๔๔๑

        พระพุทธอนันตคุณอดุลยญาณบพิตร

                                                 

           สถานที่ประดิษฐาน          พระอุโบสถ วัดราชโอรสาราม วรมหาวิหาร ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร
           พุทธลักษณะ                    ศิลปะรัตนโกสินทร์
                                                  ปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ
                                                  หน้าตัก ๓.๑ เมตร สูง ๔.๕ เมตร
                                                  วัสดุ สำริด ลงรักปิดทอง

           พระพุทธรูปพระประธานวัดราชโอรสนี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้สร้างขึ้นเมื่อยังทรงเป็นพระเจ้า
ลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ในรักาลที่ ๒ ครั้งที่ทรงพระราชศรัทธาบูรณะปฏิสังขรณ์วัดจอมทองริมคลองด่านซึ่งเป็นวัดเก่า
ขึ้นใหม่ทั้งวัด เมื่อถวายเป็นพระอารามหลวงแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหน้านภาลัยพระราชทานชื่อว่าวัดราโอรส
           ขณะที่กำลังหล่อพระพุทธรูปองค์นี้ นายจอห์น ครอฟอร์ด ชาวอังกฤษที่เข้ามาติดต่อทำสัญญาระหว่างประเทศกับสยาม
ได้มาเยี่ยมวัดราชโอรสและบันทึกถึงพระพุทธรูปองค์นี้ไว้อย่างน่าสนใจดังนี้
           …ขณะที่เราไปนั้นวัดยังกำลังสร้างอยู่ เราโอกาสได้เห็นลำดับการก่อสร้างเช่นองค์พระประธานก็เห็นหล่อขึ้นแล้ว แต่บาง
ส่วนวางเรียงรายอยู่ในโรงงานแห่งหนึ่งรอไว้ประกอบเมื่อภายหลังได้ทราบว่าโลหะที่ใช้ในการนี้คือ ดีบุกสังกะสี ทองแดงเจือ
ด้วยธาตุอื่นๆ อีกบ้าง โดยไม่มีส่วนแน่นอน เพราะจัดเป็นการยากอยู่บ้างที่จะกำหนดส่วน เมื่อใครๆ ก็มาทำบุญหยอดโน่นหยอดนี่
ี่ลงไปตามแต่จะศรัทธาไม่มีการหวงห้าม องค์พระที่หล่อขึ้นเป็นตอนๆ นี้ข้างในกลวง เนื้อหนาประมาณ ๒ นิ้ว(ฟุต) เวลาเอาออก
จากพิมพ์ดูขรุขระ แต่ข้อนี้ไม่สำคัญเพราะถึงอย่างไรก็ต้องลงรักปิดทองอีกชั้นหนึ่งจะทำเป็นพระนั่งหน้าตัก ๑๐ ฟุต ซึ่งถ้าเป็น
พระยืนก็จะสูงถึง ๒๒ ฟุต
           หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เสด็จสวรรคตแล้วที่ฐานของพระพุทธรูปนี้ได้เป็นที่ประดิษฐานพระราช
สรีรางคารและศิลาจารึกดวงพระชะตาโดยมีเศวตรฉัตร ๙ ชั้นกั้นเหนือองค์พระ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถวาย
นามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า พระพุทธอนันตคุณอดุลยญาณบพิตร กล่าวกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่งามโดยพุทธลักษณะอย่างยิ่งองค์
หนึ่ง

        พระพุทธอังคีรส

                                      

           สถานที่ประดิษฐาน           พระอุโบสถ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
           พุทธลักษณะ                     ศิลปะรัตนโกสินทร์
                                                   ปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ
                                                   ขนาด หน้าตัก ๒ ศอกคืบหรือ ๖๐ นิ้ว
                                                   วัสดุ สำริด กะไหล่ทองคำ

           พระพุทธรูปองค์นี้ มีประวัติการสร้างบันทึกไว้ต่างกันเป็น ๒ ความ ความหนึ่งสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรง
นิพนธ์ว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้หล่อขึ้นเมื่อสถาปนาวัดราชบพิธ ส่วนอีกความหนึ่งสมเด็จพระ
สังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์นิพนธ์ว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้หล่อขึ้นเพื่อนำไปประดิษฐานยัง
พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน ถึงรัชกาลที่ ๕ โปรดฯให้กะไหล่ทองคำทั้งองค์ด้วยทองเครื่องแต่ง
พระองค์เมื่อทรงพระเยาว์ สิ้นทองเนื้อแปด หนักถึง ๑๘๐ บาท และภายหลังเมื่อเสด็จสวรรคตแล้วพระบาทสมเด็จพระมงกุฏ
เกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้นำเศวตรฉัตรองค์ที่ใช้กั้นพระโกศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาถวายพระ
พุทธอังคีรส โดยเสด็จฯทรงประกอบพิธียกด้วยพระองค์เอง
           ณ ใต้ฐานบัลลังก์พระพุทธอังคีรสนี้สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์โปรดให้บรรจุพระบรมอัฐิและพระ
อัฐิในครอบครองของพระองค์ ประกอบด้วยพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า
เจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอัฐิสมเด็จพระศรีสุลาลัยและ
สมเด็จฯกรมพระยาสุดารัตนราชประยูร เมื่อเรากราบพระพุทธอังคีรส นอกจากจะได้สักการะบูชาพระพุทธเจ้าแล้ว ยังเท่ากับได้
้ถวายสักการะพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์และพระบรมวงศ์ไปในขณะเดียวกัน
           ในวันที่ ๒๐ กันยายนของทุกปี จะมีพิธีบำเพ็ญกุศลถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเนื่องในวันคล้ายวัน
เสด็จพระราชสมภพ ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธฯแห่งนี้

        พระมหาพุทธพิมพ์

                                       

           สถานที่ประดิษฐาน            วัดไชโย วรวิหาร ตำบลสระเกศ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
           พุทธลักษณะ                      ศิลปะรัตนโกสินทร์ ปางสมาธิขัดสมาธิราบ
                                                    ขนาดหน้าตัก ๘ วา ๗ นิ้ว
                                                    วัสดุ ก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทอง

           พระมหาพุทธพิมพ์หรือหลวงพ่อโตวัดไชโยนี้ เป็นที่เคารพนับถือในหมู่ชาวอ่างทองและจังหวัดใกล้เคียงมาก ด้วยเป็น
พระที่สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) วัดระฆังโฆสิตาราม ฝั่งธนบุรี สมเด็จพระพุฒาจารย์หรือที่เรียกกัน
ติดปากว่าสมเด็จโตนั้นได้สร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่โตสมนามของท่านมาก่อนนี้แล้วสององค์คือ พระนอนที่วัดสะตือ พระ
นครศรีอยุธยา และพระยืนที่วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม
           เมื่อมาสร้างหลวงพ่อโตที่วัดไขโยนี้ แรกทีเดียวทานสร้างเป็นพระนั่งขนาดใหญ่มากก่อด้วยอิฐและดินแต่ไม่นานก็ทลาย
ลง ท่านจึงสร้างขึ้นอีกครั้ง ครั้งนี้ใช้วิธีเดิมแต่ลดขนาดให้เล็กลงก็สำเร็จเป็นพระปางสมาธิองค์ใหญ่ถือปูนขาว ไม่ปิดทอง ปรากฏ
ในพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “…รูปร่างหน้าตาไม่งามเลย…ปากเหมือนท่านขรัวโตไม่มีผิด…”
           ต่อมาเจ้าพระยารัตนบดินทร์(บุญรอด กัลยาณมิตร) สมุหนายก มีศรัทธาสร้างพระอุโบสถและพระวิหารวัดไชโย แต่เมื่อ
กระทุ้งรากพระวิหารแรงสั้นสะเทือนทำให้องค์พระพังทลายลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้
้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ นายช่างฝีมือเยี่ยมสมัยนั้นมาช่วย เมื่อพิจารณาแล้วทรงให้รื้อองค์พระออกทั้งองค์
์แล้ววางรากฐานใหม่ใช้วิธีวางโครงเหล็กยึดไว้ภายในแล้วก่อขึ้นเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิซ้อนพระหัตถ์ตามลักษณะที่สมเด็จ
พระพุฒาจารย์ทำไว้เดิม เมื่อแล้วเสร็จได้รับพระราชทานนามว่า พระมหาพุทธพิมพ์ ซึ่งก็คือหลวงพ่อโตวัดไชโยองค์ที่ปรากฏอยู่
ู่จนทุกวันนี้
           ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโตเป็นที่ประจักษ์กันดีในหมู่คนที่เคารพนับถือว่ากันว่าผู้ก่อกรรมทำชั่วจะไม่สามารถเข้าไป
กราบนมัสการหลวงพ่อได้เพราะเมื่อเข้าใกล้องค์จะเห็นไปว่าหลวงพ่อกำลังจะล้มลงมาทับ น้ำมนต์ของหลวงพ่อก็กล่าวกันว่า
ศักดิ์สิทธิ์สามารถรักษาแก้ไข้โรคเคราะห์ต่างๆ ได้ ทั้งเล่าลือกันว่าหลวงพ่อมักมาเข้าฝันผู้ที่เคารพบูชาบอกกล่าวเตือนภัยต่างๆ
ชาวบ้านแถบนั้นจึงมักมีรูปท่านไว้กราบไหว้บูชาแทบทุกครัวเรือน

        พระพุทธจุฬารักษ์

                                                   

           สถานที่ประดิษฐาน            พระอุโบสถ วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (วัดพลับ) ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร
           พุทธลักษณะ                      ศิลปะรัตนโกสินทร์
                                                    ปางมารวิชัย
                                                    ขนาดหน้าตัก ๕ ศอก ๒ นิ้ว สูงจรดพระรัศมี ๖ คือ
                                                    วัสดุ ปูนปั้นลงรักปิดทอง

            พระพุทธรูปองค์นี้ไม่ปรากฏเรื่องราวการสร้างที่ชัดเจนกล่าวกันมาแต่เพียงว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ทรงปั้นพระเศียร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปั้นพระองค์และถวายพระนามว่าพระพุทธจุฬารักษ์
            วัดราชสิทธารามหรือวัดพลับที่ประดิษฐานพระพุทธจุฬารักษ์นี้เป็นวัดโบราณมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อถึงกรุง
รัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯทรงสร้างวัดใหม่ขึ้นติดกันแล้วเลยรวมวัดพลับเข้าไว้ด้วย และนิมนต์พระ
ญาณสังวร(สุก)หรือรู้จักกันว่าสังฆราชไก่เถื่อนจากอยุธยามาจำพรรษาที่วัดใหม่นี้ พระญาณสังวร(สุก) เคยเป็นพระอาจารย์ใน
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯมาก่อน เมื่อมาครองวัดราชสิทธารามพระบาทสมเด็จ
พระพุทธเลิศหล้าฯ ซึ่งยังทรงเป็นกรมพระราชวังบวรฯในรัชกาลที่ ๑ ก็ได้โปรดให้สร้างพระตำหนักจันทร์ให้พระโอรสองค์
์ใหญ่(คือพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ) จำพรรษาที่นี้เมื่อผนวชด้วย จัดว่าพระมหากษัตริย์สามพระองค์แรกในพระบรมราชจักรี
วงศ์ทรงมีความผูกพันเคารพนับถือต่อพระอาจารย์องค์นี้อย่างยิ่ง ดังนั้นคำกล่าวเกี่ยวกับความเป็นมาและฝีมือการสร้างพระพุทธ
จุฬารักษ์ที่ว่าเป็นฝีพระหัตถ์ของพรเจ้าอยู่หัวถึงสองพระองค์ จึงมีโอกาสที่จะเป็นไปได้จริงอยู่มาก

        พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลี ศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ

                                       

 
        สถานที่ประดิษฐาน             พระอุโบสถ วัดหน้าพระเมรู ตำบลท่าวาสุกรี
                                                    อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

          พุทธลักษณะ                      ศิลปะอยุธยา
                                                    ปางมารวิชัย ทรงเครื่อง
                                                    ขนาด หน้าตัก ๔.๕ เมตร สูง ๖ เมตร
                                                    วัสดุ สำริด ลงรักปิดทอง


           วัดพระเมรุราชิการาม หรือที่ผู้คนพากันเรียกจนรู้จักกันทั่วไปแล้วว่าวัดหน้าพระเมรุเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของกรุง
ศรีอยุธยา วัดนี้ปรากฏนามเข้าไปเกี่ยวข้องกับการศึกสงครามระหว่างอยุธยากับพม่าครั้งสำคัญ อาทิ เคยเป็นที่ตั้งพลับพลาทำ
สัญญาสงบศึกระหว่างสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์กับพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองคราวสงครามช้างเผือกก่อนเสียกรุงครั้งแรกไม่กี่ปี
กับอีกครั้งหนึ่งเมื่อเสียกรุงครั้งหลังวัดพระเมรุฯ ก็เป็นที่ตั้งค่ายของทหารพม่า จุดหนึ่ง
           ในรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรตนโกสินทร์ได้มีการบูรณะปฎิสังขรณ์วัดหน้าพระเมรุซึ่งขณะนั้นมีสภาพเป็นวัดร้างครั้งใหญ่ เมื่อแล้วเสร็จพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามพระพุทธรูปพระประธานว่าพระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลี ศรี
สรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องต้นอย่างพระมหากษัตริย์ทรงเทริด(มงกุฏทรงเตี้ย) ไม่ทราบประวัติการสร้างที่แน่นอนแต่เป็นพระประธานที่มีอยู่แต่เดิมในวัดในรัชกาลต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดฯให้ลงรักปิดทองประดับกระจกพระพุทธรูปองค์นี้
           พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลี ศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถนี้จัดว่าเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องที่งดงามและใหญ่ที่สุด
ของกรุงศรีอยุธยา ที่น่าอัศจรรย์คือองค์พระดำรงรอดมาได้ตลอดเวลาหลายร้อยปีทั้งที่อยู่ท่ามกลางวิกฤติการณ์บ้านเมื่องครั้งแล้ว
ครั้งเล่าจนคนรุ่นหลังได้มีโอกาสสักการะและชื่นชมความสูงส่งทางศิลปะที่บรรพชนทิ้งไว้เป็นมรดกในสภาพอันงดงามสมบรูณ์

       พระพุทธนาคน้อย

                                       

          สถานที่ประดิษฐาน              พระวิหาร วัดประยุรวงศาวาส วรวิหาร ริมคลองบ้านสมเด็จฯ
                                                    ฝั่งตะวันตกเชิงสะพานพุทธฯฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร
          พุทธลักษณะ                        ศิลปะสุโขทัย
                                                    ปางมารสวิชัย ขัดสมาธิราบ
                                                    ขนาด หน้าตักกว้าง ๘ ศอก ๑๒ นิ้วหรือ ๔.๒๕ เมตร สูง ๕.๓ เมตร
                                                    วัสดุ โลหะนากปิดทอง

           พระพุทธนาคน้อยเป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย สันนิษฐานว่าอัญเชิญลงมาในช่วงกรุงรัตโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งก็ยังไม่
่ชัดเจนว่าเป็นคราวใดระหว่างคราวที่มีการรวบรวมพระจากหัวเมืองเหนือลงมาชุดใหญ่ ๑.๒๔๘ องค์ในรัชกาลที่ ๑ หรือใน
รัชกาลที่ ๓ ที่โปรดฯให้เชิญลงมาพระราชทานสำหรับเป็นพระประธานวัดประยุรวงศาวาสเมื่อคราวสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหา
ประยูรวงศ์(ดิศ)สร้างวัดแห่งนี้เสร็จในราวปี ๒๓๗๔
           เหตุที่เรียกขานกันว่าพระพุทธนาคน้อย หรือหลวงพ่อนาคมีเป็นสองนัยคือ นัยหนึ่งเชื่อกันว่าพระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระคู่
กันกับพระศรีศากยมุนีที่เรียกกันว่าพระพุทธนาคใหญ่ และเชิญลงมาจากกรุงสุโขทัยในคราวเดียวกัน กับอีกนัยหนึ่งเล่ากันว่าครั้ง
นี้มีการก่อสร้างในวัด ไม้นั่งร้านไปกระแทกถูกพระพักตร์ปูนตรงพระปรางค์กะเทาะออกเห็นเนื้อนากข้างใน แต่ก็ได้พอกปูนกลับ
ไว้ตามเดิม
           พระพุทธนาคน้อย หรือหลวงพ่อนาคนี้เป็นที่เคารพนับถือของผู้คนจำนวนมากว่ามีอัศจรรย์และอภินิหารให้เป็นที่ประจักษ์
หลายประการชาวไทย เชื้อสายจีนพากันเรียกว่า หลักน้อยบ้าง ซำปอกงบ้างความเชื่อที่ว่าพระพุทธนาคน้อยสร้างขึ้นคู่กับพระศรี
ีศากยมุนีก่อนที่จะมีการซ่อมแปลงในรัชกาลที่ ๑ ได้จากพุทธลักษณะของพระพุทธนาคน้อยองค์นี้

        พระพุทธไตรรัตนายก

                                      

           สถานที่ประดิษฐาน           พระวิหารหลวงวัดพนัญเชิง วรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
           พุทธลักษณะ                     ศิลปะอู่ทองตอนปลาย ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ
                                                   ขนาด หน้าตักกว้าง ๑๔.๒๐ เมตร สูง ๑๙.๒๐ เมตร
                                                   วัสดุ ปูนปั้นลงรักปิดทอง

            หลวงพ่อพนัญเชิงหรือหลวงพ่อโต หรือพระโตของชาวอยุธยาองค์นี้ ถือกันว่าเป็นพระโบราณคู่บ้านคู่เมืองกรุงศรีอยุธยา
มาแต่แรกสร้างกรุง พงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวง ประเสริฐอักษรนิติ์ระบุว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๖๘ หรือก่อนสมเด็จพระรา
มาธิบดีที่ ๑ สถาปนากรุงศรีอยุธยา ๒๖ ปี และเมื่อกรุงศรีอยุธยาใกล้จะแตก ปรากฏในคำให้การชาวกรุงเก่าว่า พระปฏิมากรใหญ่
่ที่วัดพนัญเชิงมีน้ำพระเนตรไหลเป็นที่อัศจรรย์
            หลวงพ่อพนัญเชิงเป็นที่เคารพสักการะของผู้คนตลอดจนถึงพระมหากษัตริย์มาตลอดทุกยุคทุกสมัยแม้ในสมัยกรุงรัตน
โกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ โปรดฯให้ปฏิสังขรณ์พระโตทั้งองค์แล้วลงรักปิดทองใหม่ พระราชทานนามว่าพระพุทธไตรรัตนนายก
            ในยุครัตนโกสินทร์ได้มีเหตุเภทภัยเกิดแก่หลวงพ่อพนัญเชิง ๒ ครั้ง ครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๕ ไฟไหม้ผ้าห่มที่ห่มองค์
พระ ทำให้องค์ชำรุดร้าวรานหลายแห่ง โปรดฯให้ซ่อมแซมกลับคืนดังเดิม เสร็จพระราชดำเนินทรงปิดทองแล้วมีสมโภช ต่อมา
ในรัชกาลที่ ๗ องค์พระส่วนพระหนุ(คาง)พังทลายลงมาจนถึงพระปรางค์ทั้งสองข้างได้ซ่อมแซมจนเรียบร้อยภายในเวลา ๑ ปี ครั้งนั้นได้เปลี่ยนพระอุณาโลมจากทองแดงเป็นทองคำด้วย ในรัชกาลปัจจุบันมีการปฏิสังขรณ์ลงรักปิดทองใหม่ทั้งองค์ ๒ ครั้ง
แล้วคือในปี ๒๔๙๑ กับปี ๒๕๓๔ - ๒๕๓๖ หลวงพ่อพนัญเชิงเป็นพระองค์หนึ่งซึ่งเป็นที่เคารพนัถือในหมู่ชาวจีนมากโดยเรียก
กันว่าซำปอกง นอกจากชาวไทยแล้วยังมีผู้มีเชื้อสายจีนหลั่งไหลกันมากราบไหว้บูชาจำนวนมากและงานประจำปีใหญ่ๆ ๔ งานก็
เป็นที่เนื่องด้วยประเพณีเสีย ๒ งาน กล่าวคือ
            ๑. งานสงกรานต์ ๑๓ เมษายน เป็นงานใหญ่มีการนมัสการและเวียนเทียนประทักษิณรอบองค์พระติดต่อกันถึง ๕ วัน
            ๒. งานสรงน้ำละห่มผ้าถวาย วันแรม ๘ ค่ำเดือนเมษายน มีการสรงน้ำและเปลี่ยนผ้าห่มผืนใหม่ ส่วนผืนเก่าที่ใช้มาตลอด ๑ ปี จะฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ แจกจ่ายให้ผู้คนนำไปบูชา
            ๓. งานทิ้งกระจาดหรืองานงิ้วเดือน ๙ จะมีงิ้วและมหรสพอื่นๆ เล่นประชันกันอย่างครึกโครม จะมีผู้คนนับหมื่นหลั่ง
ไหลกันมานมัสการนับเป็นงานทิ้งกระจาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยทีเดียว
            ๔. งานตรุษจีนเป็นงานใหญ่อีกงานหนึ่งจะมีการเปิดประตูพระวิหารหลวงไว้ทั้งวันทั้งคืนตลอด ๕ วันที่จัดงาน

        พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมา

                                      

           สถานที่ประดิษฐาน           พระอุโบสถ วัดเฉลิมพระเกียรติ วรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
           พุทธลักษณะ                     ศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น
                                                   ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ
                                                   ขนาดหน้าตัก ๖ ศอก คืบ ๔ นิ้ว
                                                   วัสดุ ทองแดง สงรักปิดทอง

           พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์ที่ใฝ่พระทัยในการศาสนาเป็นอย่างยิ่ง พระราชกรณียกิจที่โดด
เด่นประการหนึ่งคือการทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนาและวัดวาอารามอย่างมากมายใหญ่หลวงจนมีคำกล่าวกันว่าในรัชสมัยของ
พระองค์ “…ใครสร้างวัดก็โปรด…”เมื่อมีการขุดพบแร่ทองแดงที่อำเภอจันทึกจังหวัดนครราชสีมา ก็โปรดฯให้ถลุงและนำทอง
แดงที่ได้ไปใช้ในการพระศาสนาก่อนเป็นอย่างแรก จึงมีการหล่อพระพุทธรูปทองแดงขึ้นสององค์ องค์หนึ่งเมื่อเสร็จโปรดฯให้
้เชิญไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดราชนัดดา
           ต่อมาเมื่อโปรดฯให้สร้างวัดเฉลิมพระเกียรติขึ้นที่นิวาสสถานเดิมของพระอัยกาอัยกีและที่ประสูติของพระราชชนนี
บริเวณป้อมเก่าริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกใต้ตลาดขวัญ เมืองนนทบุรีแล้วโปรดฯให้อัญเชิญพระพุทธรูปทองแดงอีกองค์
หนึ่งไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ แต่เสด็จสวรรคตในขณะที่การก่อสร้างวัดยังคางคา พระบาทสมเด็จพระ
จอมเกล้าฯทรงรับเป็นพระธุระจะสำเร็จลุล่วง ทรงมีพระราชศรัทธาปิดทองพระพุทธรูปในพระอุโบสถองค์นี้และถวายนามว่า
พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมา


        พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล

                                       

         
สถานที่ประดิษฐาน           บริเวณพุทธอุทยาน วัดเขากงมงคลมิงมิตรปฏิฐาราม
                                                   ตำบลลำภู อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส
            พุทธลักษณะ                     ศิลปะรัตนโกสินทร์อิทธิพลอินเดียใต้ยุคโจฬะรุ่นหลังผสมกัน
                                                    นครศรีธรรมราชหรือแบบขนมต้ม
                                                    ปางแสดงปฐมเทศนา ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร
                                                    พระหัตถ์ขวายกจีบเสมอพระอุระ พระหัตถ์ซ้ายวางหงาย
                                                    ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๗ เมตร สูง ๒๔ เมตร
                                                    สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก

           เมื่อเอ่ยถึงสี่จังหวัดภาคใต้เรามักนึกถึงประชาชนชาวไทยมุสลิมและศาสนสถานสำคัญๆ ทางศาสนาอิสลาม แต่ที่
ี่นราธิวาสซึ่งเป็นหนึ่งในสี่จังหวัดนี้ ยังมีสถานที่อันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่เป็นศรีสง่าแก่ภาคใต้องค์หนึ่งได้แก่ พระพุทธ
ทักษิณมิ่งมงคล
           พุทธอุทยานเขากงซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธทักษิณมิ่งมงคลอยู่ห่างจากตัวจังหวัดนราธิวาสมาตามทางสายนราธิวาส
ตันหยงมัสเพียง ๘ กิโลเมตร บริเวณเขากงนี้เชื่อได้ว่าคงเคยมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนามาก่อนเนื่องจากได้สำรวจพบ
ร่องรอยโบราณสถานโบราณวัตถุที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาหลายสิ่งประกอบกับในสมัยปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์อยู่แล้ว
           พุทธศาสนิกชนจึงดำริพร้อมกันที่จะสร้างสิ่งสำคัญทางพุทธศาสนาไว้เป็นมิ่งขวัญและเป็นที่สักการะบูชาของภาคใต้ การ
ก่อสร้างได้เริ่มขึ้นในปี ๒๕๐๙ แล้วเสร็จในปี ๒๕๑๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯเสด็จพระราชดำเนินทรงบรรจุพระบรม
สารีริกธาตุเมื่อปี ๒๕๑๓
           พระพุทธทักษิณมิ่งมงคลเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่มีพุทธลักษณะงดงาม ประกอบกับประดิษฐานอยู่ยอดเขาจึงสูงเด่น
เป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธา ทั้งยังเป็นเครื่องหมายแห่งการอยู่ร่วมกันโดยสันติระหว่างพุทธศาสนาและศาสนาอิสลามในภาคใต้ของ
ประเทศไทยด้วย

       พระพุทธเทววิลาส

                                      


          สถานที่ประดิษฐาน            พระอุโสถ วัดเทพธิดาราม วรวิหาร กรุงเทพมหานคร
          พุทธลักษณะ                      ศิลปะเชียงแสนผสมสุโขทัย
                                                   ปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร
                                                   ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๔ นิ้ว สูง ๒๐ นิ้ว
                                                   วัสดุ หินอ่อนสีขาวบริสุทธิ์


          ในพระรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร นอกจากพระพุทธรูปองค์ต่างๆ ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามแล้ว ยังมีพระพุทธ
รูปสำคัญประดิษฐานอยู่อีกเป็นจำนวนมาก พระพุทธรูปดังกล่าว ล้วนเป็นพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรม
ราชจักรีวงศ์ทุกรัชกาล ทรงสร้างขึ้นหรือทรงได้รับมาตามโอกาสต่างๆ พระพุทธรูปเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นศิลปะอันล้ำค่า ใน
เหตุการณ์สำคัญหรือโอกาสพิเศษยิ่งเท่านั้นที่จะมีการพระราชทานพระพุทธรูปบางองค์ออกมานอกวังและเหตุการณ์สำคัญครั้ง
หนึ่งที่ว่านี้คือเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๒ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทาน หลวงพ่อขาวเพื่อให้เป้นพระประธาน วัด
เทพธิดาราม
          หลวงพ่อขาวองค์นี้เป็นพระพุทธรูปที่สร้างจากหินอ่อนสีขาวบริสุทธิ์นับเป็นศิลปวัตถุที่งดงามและหาชมได้ยากไม่ปรากฏ
ที่มา ทราบแต่เพียงว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้อัญเชิญจากพระบรมมหาราชวังไปประดิษฐานเป็นพระ
ประธานในพระอุโบสถวัดเพทธิดารามอันเป็นวัดซึ่งสร้างพระราชทานกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ พระราชธิดาพระองค์ใหญ่แล้ว
เสร็จเมื่อปี ๒๓๘๒
          หลวงพ่อขาวเมื่อพระราชทานมาเป็นพระประธานวัดเทพธิดารามประดิษฐานอยู่ในเวชยันต์บุษบกไม้จำหลักลายปิดทอง
ประดับกระจกงดงามอย่างยิ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันถวายนามว่า พระพุทธเทววิลาส ซึ่งนอกจากจะมีความ
หมายอันแสดงถึงความงามแล้ว ยังเป็นนามที่มีความเกี่ยวเนื่องกับพระนามเดิมของกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพคือ พระเจ้าลูกเธอ
พระองค์หญิงวิลาสอีกด้วย

       พระพุทธนรเชษร์ เศวตอัศมมัยมุนี ศรีทวารวดีปูชนียบพิตร

                                       

          สถานที่ประดิษฐาน             บริเวณลานชั้นลด ด้านทิศใต้ขององค์พระปฐมเจดีย์
                                                   วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
          พุทธลักษณะ                       ศิลปะทวารวดี
                                                    ปางแสดงปฐมเทศนา ประทับนั่งห้อยพระบาท
                                                    พระหัตถ์ขวายกจีบเสมอพระอุระ พระหัตถ์ซ้ายวางแตะพระชานุ
                                                    ขนาดสูง ๑๔๘ นิ้ว หรือ ๓.๗๖ เมตร
                                                    วัสดุ ศิลาขาว

 
        พระพุทธนรเชษฐ์ฯ หรือหลวงพ่อขาวของชาวบ้านนองค์นี้มีประวัติความเป็นมาที่ออกจะพิศดารและระหกระเหินอยู่ไม่
น้อย
           เรื่องราวเริ่มขึ้นจากเมื่อกรมศิลปากรทำการสำรวจขุดค้นทางโบราณคดีที่วัดทุ่งพระเมรุหรือวัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม
เมื่อปลายปี ๒๔๘๑ ถึงปี ๒๔๘๒ ได้พบสถูปสมัยทวารวดีองค์ใหญ่มีร่องรอยว่ามีมุขประจำ ๔ ทิศ และในแต่ละมุขทิศเคยมี
ีพระพุทธรูปขนาดใหญ่นั่งห้อยพระบาทประจำอยู่
           เมื่อสืบความดูก็ทราบว่าในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้มีการขุดพบพระพุทธรูปที่ว่านี้แล้วองค์หนึ่งได้อัญเชิญไปเป็นประธานที่วัด
พระปฐมเจดีย์ ต่อมาในรัชกาลที่ ๕ ก็ได้พบชิ้นส่วนพระพุทธรูปแบบเดียวกันอีกจำนวนหนึ่งจึงมีการรวบรวมไปเก็บรักษาไว้ที่
ี่พระระเบียงคดด้านนอกองค์พระปฐมเจดีย์ซึ่งก็ยังไม่ครบจำนวนสี่องค์ที่ควรจะปรากฏ ถึงปี ๒๕๐๑ กรมศิลปากรจึงติดตามพบ
ว่าพระพุทธรูปองค์หนึ่งถูกเชิญไปไว้ยังวัดพระยากง ตำบลสำเภาล่ม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และพบชิ้นส่วนองค์พระอีก
จำนวนหนึ่งจากวัดขุนพรหม ตำบลเดียวกันรวมทั้งพบเศียรพระที่ร้านค้าของเก่าอีก ๒ ร้าน
           หลังจากรวบรมพระพุทธรูปและชิ้นส่วนที่มีอยู่ทั้งหมดมาแล้วจึงนำมาประกอบกันขึ้นได้เป็นพระพุทธรูปศิลาขาว ๓ องค์ เชิญไปไว้ยังพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติเจ้าสามพระยา ๑ องค์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ๑ องค์และที่บริเวณลานขั้นลด
ด้านทิศใต้ พระปฐมเจดีย์อีก ๑ องค์ ซึ่งได้รับขนานนามโดยเจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ขณะนั้น(พ.ศ. ๒๕๑๐)ว่า พระพุทธ
นรเชษฐ์ เศวตอัศมมัยมุนี ศรีทวารวดีปูชนียบพิตร

       พระพุทธนฤมลธรรโมภาส

                                      

          สถานที่ประดิษฐาน             พระอุโบสถ วัดนิเวศธรรมประวัติ ราชวรวิหาร ท้ายเกาะลอย
                                                   หน้าพระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
          พุทธลักษณะ                       ศิลปะรัตนโกสินทร์
                                                    ปางสมาธิ ขัดสมาธิเพชร
                                                    ขนาดหน้าตัก ๒๒ นิ้วครึ่ง สูง ๓๖ นิ้วครึ่ง
                                                    วัสดุ โลหะกะไล่ทองทั้งองค์พระและฐาน

          พุทธศาสนิกชนที่อยากเข้าวัดให้ได้บรรยากาศ “ฝรั่ง” ขอให้ลองมาที่วัดนิเวศธรรมประวัติที่บางปะอินดู วัดนี้เป็นวัดที่
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้นในช่วงต้นๆ ของรัชกาลไว้สำหรับทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเมื่อเสด็จฯ
ประทับยังพระราชวังบางประอิน
          ที่พิเศษก็คือโปรดฯให้สร้างโบสถ์วิหารเสนาสนะเป็นแบบสถาปัตยกรรมยุโรปทั้งหมดด้วยทรงตั้งพระทัยให้เป็นพุทธบูชา
ด้วย”ของแปลกประหลาด” กับทั้งเพื่อให้ประชาชนได้ชมเล่นว่าไม่เหมือนวัดอื่นใดในประเทศไทย
          พระอุโบสถนั้นสร้างตามแบบวัดคริสต์ศาสนาเลยทีเดียว เป็นศิลปะแบบโกธิค (Gothic) คือทรวดทรงสูงระหงมียอด
แหลมเพดานโค้ง บานประตูหน้าต่างเป็นกระจกสลับสีหรือ Stained Glass เมื่อรูปทรงและบรรยากาศของโบสถ์เป็น “ฝรั่ง”
เช่นนี้แล้ว พระพุทธรูปพระประธานก็มีลักษณะที่เจือความเป็นฝรั่งอยู่ด้วยเช่นกัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดฯให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการทรงออกแบบปั้นหุ่นและหล่อขึ้น โดยผสานศิลปะแบบประเพณีนิยมกับ
ศิลปะตะวันตกเข้าด้วยกันได้เป็นพระพุทธรูปที่งดงามอย่างยิ่งและมีพุทธลักษณะคล้ายมนุษย์สามัญมากขึ้นได้รับพระราชทาน
นามว่า พระพุทธนฤมลธรรโมภาส ซึ่งจัดเป็นงานชิ้นเอกของพระองค์เจ้าประดิษฐวรการ แม้ภายหลังจะโปรดฯ ให้สร้างพระ
พุทธรูปให้งามเช่นนี้อีกก็ทำไม่ได้ จนว่ากันว่า “ทรงสิ้นฝีมือ” แล้วที่พระพุทธนฤมลธรรโมภาสที่วัดนิเวศธรรมประวัตินอกจากจะ
ได้ชมพระอารามที่งดงามแปลกตาแห่งหนึ่งแล้วยังจะได้ชมพระพุทธรูปที่เป็นสุดฝีมือของนายช่างเอกท่านหนึ่งแห่งกรุงรัตน
โกสินทร์ด้วย
          มีงานประเพณีไหว้พระในวันแรม ๑๒ ค่ำเดือน ๑๑ ของทุกปี

       พระพุทธนฤมิตร

                                       

          สถานที่ประดิษฐาน              บุษบกยอดปรางค์ ผนังด้านหน้าพระอุโบถ วัดอรุณราชวราราม
                                                    ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร
          พุทธลักษณะ                        ศิลปะรัตนโกสินทร์
                                                     ปางห้ามสมุทร ทรงเครื่องต้นอย่างจักรพรรดิราช
                                                     ขนาดสูง ๙๘ นิ้ว ฐานสูง ๔๖ นิ้ว
                                                     วัสดุโลหะ ลงรักปิดทอง

          เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขร์วัดอรุณราชวรา
รามอันเป็นวัดประจำรัชกาลในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระราชบิดาสิ่งหนึ่งที่โปรดฯให้สร้างเพิ่มเติมคือบุษบก
ยอดปรางค์ที่ผนังมุขพระอุโบสถด้านหน้าสำหรับจะประดิษฐานพระพุทธรูปที่จำลองจากพระพุทธรูปฉลองพระองค์รัชกาลที่ ๒
ที่ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แต่สิ้นรัชกาลไปเสียก่อน
          รัชกาลต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงดำรงสิริราชสมบัติครบ ๕๔๓๑ วันเท่ากับพระบาท
สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระราชดำริจะทรงบำเพ็ญการอันเป็นราชกุศลถวายแด่สมเด็จพระอัยกาธิราช(ปู่) เมื่อทรง
ทราบการที่ค้างอยู่นี้จึงโปรดฯให้สร้างต่อจนสำเร็จและพระราชทานนามพระพุทธรูปที่จำลองจากพระพุทธรูปฉลองพระองค์
รัชกาลที่ ๒ ที่นำมาไว้ที่วัดอรุณราชวรารามนี้ว่า พระพุทธนฤมิตร

    
   พระพุทธปฏิมากร

                                                   

          สถานที่ประดิษฐาน             พระอุโบสถ วัดหนัง ราชวรวิหาร
                                                   ฝั่งขวาของคลองด่าน เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร
          พุทธลักษณะ                       ศิลปะสุโขทัยตอนปลาย
                                                    ปางมารวิชัย
                                                    ขนาดหน้าตัก ๑.๘๐ เมตร ๒.๕๐ เมตร
                                                    วัสดุ สำริด ปิดทอง

          พระพุทธปฏิมากรองค์นี้เป็นพระที่นร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัยตอนปลายโดยมีข้อความจารึกไว้ที่ฐานอย่างชัดเจนว่าสร้าง
เมื่อ “…ศาสนาได้ ๑๙๖๖…” ซึ่งก็คือพุทธศักราช ๑๙๖๖ นั่นเอง โดยผู้สูงศักดิ์หลายท่านได้แก่ “…พ่อพระยาเจ้าไทย พ่อขุน พ่อเม
ดธาเจ้า…”
          แม้จะมีหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องราวและยุคสมัยของการสร้างที่ย้อนกลับไปถึงสมัยกรุงสุโขทัยอย่างแน่นอนชัดเจน แต่เหตุที่
พระพุทธรูปองค์นี้จะมาประดิษฐานอยู่ที่วัดหนังนี้เมื่อใดและอย่างไรกลับเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการสันนิษฐานจากเหตุแวดล้อม
กล่าวคือ เมื่อสมเด็จพระศรีสุลาลัย พระราชชนนีในรัชกาลที่ ๓ ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดหนังทั้งพระอารามในช่วงประมาณปี
๒๓๖๗ ถึงปี ๒๓๗๘ นั้น พระพุทธปฏิมากรประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ในพระอุโบสถแล้วทำให้สันนิษฐานกันว่าพระ
พุทธปฏิมากรอาจจะเป็นหนึ่งในพระพุทธรูปกว่าหนึ่งพันสองร้อยองค์ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดฯ
ให้รวบรวมอัญเชิญลงมาจากหัวเมืองเหนือในรัชกาลของพระองค์เพื่อมาประดิษฐานตามพระอารามต่างๆ ทั่วพระนคร
          ฐานที่รับแท่นพระพุทธรูป เป็นฐานหนุนสองชั้น ตั้งพระสาวก ๕ องค์ คือฐานตอนบน ๒ องค์ ฐานตอนล่าง ๓ องค์ หมาย
ถึง พระปัญจวัคคีย์ ทั้ง ๕ องค์ได้แก่ พระอัญญาโกณทัญญะ พระภัททิยะ พระวัปปะ พระมหานามะและพระอัสสชิ

       พระพุทธรูปศิลาขาว

                                      

          สถานที่ประดิษฐาน            พระอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร
                                                  อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
          พุทธลักษณะ                      ศิลปะทวารวดี
                                                   ปางแสดงปฐมเทศนา
                                                   ขนาดสูง ๑๔๘ นิ้ว
                                                   วัสดุ ศิลาขาว

          พระพุทธรูปศิลาขาวเป็นพระพุทธรูปในชุดเดียวกันกับพระพุทธนรเชษฐ์เศวตอัศมมัยมุนีฯ ที่ได้กล่าวถึงแล้วเดิมพระพุทธ
รูปชุดนี้เคยประดิษฐานอยู่ในมุขทิศ ๔ ด้านของพระสถูปยุคทวารวดีที่วัดทุ่งพระเมรุ หรือวัดพระเมรุจังหวัดนครปฐม ในปลาย
รัชกาลที่ ๔ พระเณรชาวบ้านไปช่วยกันขนอิฐจากวัดทุ่งพระเมรุซึ่งขณะนั้นเป็นวัดร้างแล้วมาใช้บูรณะพระปฐมเจดีย์ได้พบจอม
ปลวกขนาดใหญ่มีพระเกตุมาลาของพระพุทธรูปโผล่พ้นยอดขึ้นมาเมื่อช่วยกันทำลายจอมปลวกออกก็พลพระพุทธรูปศิลาองค์นี้
          พระพุทธรูปศิลาองค์ที่พบอยู่ในจอมปลวกนี้เป็นองค์ที่สมบูรณ์ที่สุดในกระบวน ๔ องค์ และพระพุทธรูปศิลาขาวอายุกว่า
หนึ่งพันปีชุดนี้สร้างไว้ให้ถอดได้เป็นส่วนๆ เมื่อมีความจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายก็สามารถถอดออกให้เคลื่อนย้ายจากสถานที่พบมายัง
วัดพระปฐมเจดีย์และเมื่อมีการ สร้างพระอุโบสถใหม่ในปี ๒๔๗๑ จัดเป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่และมีประวัติความเป็นมาน่าศึกษา
และมีพุทธลักษณะที่น่าดูน่าชมยิ่งองค์หนึ่ง

       พระพุทธเสฏฐมุนี

                                     

 
        สถานที่ประดิษฐาน           ศาลาการเปรียญ วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
          พุทธลักษณะ                     ศิลปะรัตนโกสินทร์
                                                  ปางมารวิชัย
                                                  ขนาด หน้าตัก ๑ ศอก ๑ คืบ ๑ นิ้ว
                                                  วัสดุทองเหลือง

          ในยุคสมัยที่สังคมโลกเริ่มตื่นตัวใส่ใจกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเช่น ปัจจุบันการนำวัสดุที่ยังใช้ได้กลับมาใช้อีกเป็นหน
ทางหนึ่งที่มีการรณรงค์กันทั่วไป
          ในเมืองไทยของเราเมื่อเกือบสองร้อยปีที่แล้วก็มีความคิดในการทำเช่นว่านี้ และปรากฏวัตถุพยานมาจนทุกวันนี้
          ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีประกาศห้ามสูบฝิ่นและมีการปราบปรามฝิ่นอยู่เนืองๆ ในการปราบ
ปรามครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งเมื่อปี ๒๓๘๒ เป็นการกวาดล้างฝิ่นในภาคใต้ตั้งแต่เมืองปราณบุรี ถึงนครศรีธรรมราช และอีกด้านหนึ่ง
ของฝั่งทะเลคือตะกั่วป่าถึงถลาง สามารถจับฝิ่นดิบมาได้ถึง ๓๗๐๐ กว่าหาบฝิ่นสุก ๒ หาบ ตัวฝิ่นนั้นโปรดฯให้เผาทำลายที่หน้า
พระที่นั่งสุทไธสวรรย์เหลือแต่กลักฝิ่นซึ่งทำด้วยทองเหลืองอยู่จำนวนมาก โปรดฯให้นำมาหล่อพระพุทธรูปได้พระขนาดหน้าตัก
ถึง ๔ ศอก นำมาประดิษฐานเป็นพระประธานในศาลาการเปรียญ วัดสุทัศนเทพวรารามต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ
ถวายพระนามว่า พระพุทธเสฏฐมุนี
          จากบรรจุภัณฑ์ของสิ่งผิดกฏหมายกลายมาเป็นพระพุทธรูปซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งคุณงามความดีที่คงอยู่เพื่อให้พุทธ
ศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชามาเกือบสองร้อยปีนับว่าเป็นการใช้ประโยชน์วัสดุอย่างคุ้มค่าและยืนยงอย่างแท้จริง

       พระพุทธโสธร

                                      

 
        สถานที่ประดิษฐาน            พระอุโบสถวัดโสธรวราราม วรวิหาร อำเอเมือง ฉะเชิงเทรา
           พุทธลักษณะ                     ฝีมือช่างแบบล้านช้าง หรือที่เรียกกันว่า “พระลาว” ปางสมาธิ
                                                   หน้าตัก ๑ เมตร ๖๕ เซนติเมตร สูง ๑ เมตร ๙๘ เซนติเมตร
                                                   วัสดุ สำริด พอกปูนลงรักปิดทอง

           พระพุทธรูปสำคัญๆ หลายองค์ของไทยมักมีประวัติความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับปาฏิหาริย์บางประการ ประการหนึ่งได้แก่
การ “ลอยน้ำมา” พระพุทธโสธรหรือที่ผู้คนทั่วไปมักเรียกกันว่า “หลวงพ่อโสธร” ก็เป็นพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งที่มีความเป็นมา
เช่นว่านี้
           ตำนานของหลวงพ่อโสธรที่ได้ยินกันอยู่เสมอๆ จะเป็นเรื่องพระพุทธรูปสามองค์พี่น้องที่ลอยน้ำมาจากทางเหนือแล้วได้
รับอาราธนาขึ้นประดิษฐานยังวัดต่างๆ กันคือ วัดโสธร วัดบ้านแหลมและวัดบางพลีใหญ่ ในตำนานนี้อาจมีรายละเอียดแตกต่าง
กันไปบ้างเช่นเรื่องจำนวนพระพุทธรูปที่บางครั้งก็เป็นห้าองค์พี่น้องโดยรวมเอาหลวงพ่อวัดไร่ขิงและวัดเขาตะเคราไว้ด้วย
           จากคำบอกเล่าของชาวเมืองแปดริ้ว หลวงพ่อโสธรองค์เดิมที่ลอยน้ำมานั้นเป็นพระปางสมาธิขนาดไม่ใหญ่นัก บ้างก็ว่า
หน้าตักคืบเศษแกะจากไม้ฝีมือหยาบ บ้างก็ว่าเป็นพระพุทธรูปหล่อสำริดหน้าตักศอกเศษ ลอยตามลำน้ำบางปะกงมาจากทางตอน
เหนือ เมื่ออาราธนาขึ้นยังวัดโสธรและเริ่มมีกิตติศัพท์แพร่หลายเป็นที่เคารพนับถือของผู้คนแล้ว ทั้งพระเณรชาวบ้านก็เริ่มวิตกว่า
จะมีผู้มาลักพระพุทธรูปไปจึงสร้างพระจำลองแบบไม้ธรรมดาครอบองค์พระจริงไว้ ต่อมาได้มีการทำดังนั้น ซ้ำอีกและท้ายที่สุด
ได้ใช้ปูนพอกทับแน่นหนาจนมีขนาดและรูปทรงดังที่ปรากฏในปัจจุบัน
           ความศักดิ์สิทธิ์ของพลวงพ่อโสธรเป็นที่เลื่องลือเล่าขานกันมากมายครั้งหนึ่งที่เกิดโรคระบาดขึ้นเมื่อมีการบนบานหลวง
พ่อ โรคร้ายแรงนั้นก็ยุติลงได้อย่างอัศจรรย์ หลวงพ่อยังเป็นที่นับถืออย่างยิ่งเมื่อมีการบนบานหลวงพ่อ โรคร้ายแรงนั้นก็ยุติลงได้
อย่างอัศจรรย์ หลวงพ่อยังเป็นที่นับถืออย่างยิ่งในหมู่ชาวเรือถือว่าหากได้ “บอก” หลวงพ่อแล้วจะซื้อง่ายขายคล่อง พระบาท
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้เคยเสด็จพระราชดำเนินยังวัดโสธรฯต่อมาโปรดเกล้าฯให้ข้าราชการจังหวัดฉะเชิงเทราทำพิธีถือน้ำ
พระพิพัฒน์สัตยาต่อหน้าพระพุทธโสธรในพระอุโบสถ จากเดิมที่เคยทำที่วัดเมือง(วัดปิตุลาธิราชสฤษดิ์)
           กิตติศัพท์ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโสธรเป็นที่แพร่หลายไม่แต่เพียงในจังหวัดฉะเชิงเทราดังจะเห็นได้จากจำนวน
ผู้คนที่หลั่งไหลไปกราบไหว้บูชาหลวงพ่อจากทุกสารทิศแม้จากต่างประเทศจนกระทั่งวัดโสธรฯกลายเป็นวัดใหญ่โตด้วยกำลัง
ศรัทธาจากผู้เคารพนับถือเหล่านี้

       พระพุทธไสยาสน์

                                       

 
        สถานที่ประดิษฐาน             พระวหารพระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร
                                                    ท่าเตียน กรุงเทพมหานคร
          พุทธลักษณะ                       ศิลปะรัตนโกสินทร์
                                                    ปางไสยาสน์
                                                    ขนาดยาว ๙๐ ศอกหรือ ๑ เส้น ๒ วา ๒ ศอก
                                                    วัสดุ ก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทอง

          พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์ที่ใฝ่พระทัยในทางพุทธศาสนาอย่างยิ่งพระองค์ทรงสร้างและ
บูรณปฏิสังขรณ์ศิลปวัตถุและสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับการพุทธศาสนาไว้เป็นจำนวนมากมายคราวหนึ่งทรงพระดำริว่าได้ทรง
สร้างพระปางต่างๆไว้ตามวัดวาอารามทั้งหลาย หลายต่อหลายปางแล้วยังขาดพระพุทธไสยาสน์ หรือพระนอน จึงโปรดฯให้
สร้างพระพุทธไสยาสน์ขึ้นที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามโดยขยายพื้นที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามออกมา สร้างพระวิหาร
พระพุทธไสยาสน์ลงในอาณาบริเวณที่เคยเป็นวังกรมหลวงนรินทรเทวี(พระองค์เจ้ากุ)
          พระพุทธไสยาสน์องค์นี้จัดเป็นพระพุทธรูปที่ได้รับยกย่องว่า งานเป็นเอกในกระบวนพระนอนขนาดใหญ่ โปรดฯให้กรม
หมื่นภูมินทรภักดีซึ่งทรงกำกับกรมช่างสิงหมู่อยู่ในเวลานั้นเป็นผู้ทรงกำกับการ ก่อสร้างโดยโปรดฯให้จำหลักลายมงคล ๑๐๘ ประดับมุกที่พื้นพระบาทของพระไสยาสน์เพื่อให้ถูกต้องตามตำรามหาปริสลักษณะจัดเป็ฯงานประดับมุกที่แสดงฝีมือช่างอันสูง
ส่งในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
์          กล่าวกันว่าหากจะชมความงามของพระไสยาสน์องค์นี้ให้ยืนดูจากเบื้องพระบาทจะมองเป็นพระเกตุจรดเพดาน พระ
พักตร์งามจับตาจับใจเป็นอย่างยิ่ง

       พระพุทธไสยาสน์

                                      

          สถานที่ประดิษฐาน             พระวิหาร วัดพระนอนจักรสีห์ วรวิหาร ตำบลจักรสีห์ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุร
ี          พุทธลักษณะ                      ศิลปะอยุธยาตอนต้น
                                                   ปางไสยาสน์
                                                   ขนาดยาว ๑ เส้น ๓ วา ๒ ศอก ๑ คืบ ๗ นิ้ว
                                                   วัสดุ ปูนปั้น

          พระพุทธไสยาสน์วัดพระนอนจักรสีห์ กรือหลวงพ่อพระนอนจักรสีห์เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่องค์หนึ่งซึ่งไม่ปรากฏหลัก
ฐานการสร้างที่แน่นอน สันนิษฐานจากพุทธลักษณะว่าคงสร้างขึ้นในยุคสมัยใกล้เคียงกันกับพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก จังหวัด
อ่างทอง คือ ในราวต้นสมัยกรุงศรีอยุธยา
          พระพุทธไสยาสน์ หรือพระนอนจักรสีห์นี้ ปรากฏเรื่องราวอยู่ในพระราชพงศาวดารช่วงปลายกรุงศรีอยุธยาว่าได้มีการ
บูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเมื่อปี ๒๒๙๗ และสองปีต่อมาเมื่อการบูรณะเสร็จสิ้นมีการสมโภช
พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จฯประทับแรม ณ วัดพระนอนจักรสีห์แห่งนี้เป็นเวลา ๓ คือ
          ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินยังวัดนี้และพระราชทานเงินค่านา
ของวัดและของเมืองสิงห์ให้บูรณะปฏิสังขรณ์พระพุทธไสยาสน์ด้วย
          เมื่อนึกถึงว่าพระพุทธไสยาสน์วัดพระนอนจักรสีห์เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นเมื่อหลายร้อยปีมาแล้วในสมัยที่
ี่เครื่องจักรเครื่องทุ่นแรงยังไม่มีใช้กันเช่นปัจจุบันก็พอจะทำให้เราเห็นถึงความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของคนไทยในอดีต
อย่างยิ่งใหญ่เพียงใดได้เป็นอย่างดี
          วัดได้จัดให้มีงานนมัสการพระพุทธไสยาสน์ขึ้นปีละ ๓ ครั้ง คือ
              วันขึ้น ๑๔ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖
              วันแรม ๗ ถึงแรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๐
              วันขึ้น ๑๔ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓

        พระพุทธไสยาสน์

                                      

 
        สถานที่ประดิษฐาน             วิหารพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก วรวิหาร
                                                    อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง
           พุทธลักษณะ                      ศิลปะอยุธยาตอนต้น
                                                    ปางไสยาสน์
                                                    ขนาด ยาว ๑๒ วา
                                                    วัสดุ ปูนปั้น ลงรักปิดทอง

           พระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกนี้ มีความเป็นมาที่คล้ายคลึงกับพระพุทธไสยาสน์วัดพระนอนจักรสีห์ คือไม่ปรากฏหลักฐาน
การสร้างที่ชัดเจน แต่สันนิษฐานจากพุทธลักษณะว่าเป็น พระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนต้นและมาปรากฏเรื่องราวการบูรณะปฏิ
สังขรณ์ในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาเช่นกัน
           เรื่องราวของพระนอนวัดป่าโมกปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารรัชสมัยพระเจ้าท้ายสระว่าองค์พระนั้นประดิษฐานอยู่ใน
วิหารริมแม่น้ำ อยู่มาน้ำได้เซาะตลิ่งจนเกือบจะถึงพระวิหาร พระเจ้าท้ายสระจึงโปรดฯให้ทำการชะลอพระพุทธรูปให้ออกห่าง
จากแม่น้ำซึ่งการดังกล่าวนี้เป็นงานใหญ่และยากลำบากอย่างยิ่งปรากฏว่าพระยาราชสงครามรับอาสาทำการได้สำเร็จเรียบร้อยใน
ปี ๒๒๗๕ แต่ยังไม่ทันได้ฉลองก็สิ้นรัลกาลเสียก่อนการฉลองได้มาทำในรัชกาลต่อมาคือพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศซึ่งได้มีโคลงพระ
ราชนิพนธ์พระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้เมื่อครั้งยังทรงเป็นกรมพระราชวังบวรในรัชกาลก่อน เรื่องการชะลอพระพุทธไสยาสน์
ปรากฏอยู่ในพระวิหารด้วย
           พระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกมาปรากฏเรื่องราวอีกครั้งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่เมื่อมีเรื่องโจษจัน
กันว่าพระนอนวัดป่าโมกที่เมืองอ่างทองพูดได้ โดยมีพยานยืนยันทั้งพระและฆราวาส โดยความทราบถึงพระเนตรพระกรรณทั้ง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ผู้อยู่ในเหตุการณ์ยังได้เฝ้ากราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อเสด็จพระราชดำเนินยังวัดป่าโมกด้วย
           มีงานนมัสการพระพุทธไสยาสน์ประจำปีๆ ละ ๒ ครั้ง
                วันขึ้น ๑๔ ค่ำ ถึง แรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน
                วันขึ้น ๑๒ ค่ำ ถึง แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ เป็นเวลา ๕ วัน ๕ คืน

 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕