หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสิริรัตนานุวัตร ผศ.ดร., และพระไพรเวศน์ จิตฺตทนฺโต
 
เข้าชม : ๕๒๔ ครั้ง
บทบาทการบริการวิชาการแก่สังคมของอาจารย์วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสิริรัตนานุวัตร ผศ.ดร., และพระไพรเวศน์ จิตฺตทนฺโต ข้อมูลวันที่ : ๑๑/๑๑/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
 
 
 
วันสำเร็จการศึกษา : 2553
 
บทคัดย่อ

                                                บทคัดย่อ

        การศึกษาวิจัยเรื่อง บทบาทการบริการวิชาการแก่สังคมของอาจารย์วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช   มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาระดับบทบาทที่ปฏิบัติจริงในการให้การบริการวิชาการแก่สังคม  ศึกษาบทบาทที่สังคมคาดหวังในการให้บริการวิชาการแก่สังคม   และศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการให้บริการวิชาการแก่สังคมของอาจารย์วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช
       งานวิจัยนี้ มีขอบเขตพื้นที่ในจังหวัดพิษณุโลก กำหนดประชากร 1,000 ท่าน กลุ่มประชากร 128 ท่าน มีเนื้อหา 4 บทบาท คือ บทบาทการสร้างแหล่งเรียนรู้ บทบาทแนะแนวอาชีพ บทบาทจัดกิจกรรมทางศาสนาเชิงวิชาการ และบทบาทแนะแนวตามเศรษฐกิจพอเพียง ดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้สถิติพรรณนา จำนวนและร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  เชิงคุณภาพเป็นการรวบรวมคำบอกเล่าลงในกลุ่มความแทนด้วยอักษร A, B, C, D แล้วลำดับตัวเลขย่อยลงไปเรื่อย ๆ 
       ผลการวิจัย พบว่า  บทบาทที่ปฏิบัติจริงมีค่าเฉลี่ย 2.90 อยู่ในระดับปานกลาง  เมื่อแยกแต่ละบทบาทแล้วจะเห็นว่า  บทบาทการบริการวิชาการด้านการสร้างแหล่งเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย 3.00 อยู่ในระดับปานกลาง บทบาทการบริการวิชาการด้านแนะแนวอาชีพ มีค่าเฉลี่ย 2.78 อยู่ในระดับปานกลาง บทบาทการบริการวิชาการจัดกิจกรรมทางศาสนาเชิงวิชาการ มีค่าเฉลี่ย 3.11 อยู่ในระดับปานกลาง บทบาทการบริการวิชาการด้านการแนะแนวตามเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ย 2.71 อยู่ในระดับปานกลาง
       บทบาทที่สังคมคาดหวังโดยรวมอยู่ในระดับมาก  มีค่าเฉลี่ย 3.63 แสดงให้เห็นว่าสังคมคาดหวังมากกว่าที่จะเห็นการปฏิบัติจริง เมื่อพิจารณารายละเอียดแต่ละด้าน มีดังนี้
       บทบาทการบริการวิชาการด้านการสร้างแหล่งเรียนรู้  มีค่าเฉลี่ย 3.70 อยู่ในระดับมาก  บทบาทการบริการวิชาการด้านอาชีพ มีค่าเฉลี่ย 3.52 อยู่ในระดับมาก บทบาทการบริการวิชาการจัดกิจกรรมทางศาสนาเชิงวิชาการ  มีค่าเฉลี่ย 3.82 อยู่ในระดับมาก บทบาทการบริการวิชาการด้านการแนะแนวตามเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ย 3.51 อยู่ในระดับมาก
      ในส่วนวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 นั้น เป็นการศึกษาปัญหาและอุปสรรคของอาจารย์ในการออกบริการสังคม  โดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ แยกประเด็น 4 ประเด็นคือ ด้านการเงิน ด้านเวลา ด้านการคมนาคม และด้านความร่วมมือ
      ในตอนที่ 3 เกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรค กำหนดปัญหาและอุปสรรค 4 ด้านคือ ด้านการเงิน ด้านเวลา ด้านคมนาคม และด้านความร่วมมือ  โดยน้ำหนักของปัญหาลงมาอยู่ที่การเงินมากที่สุด

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕