หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ผศ.เวทย์ บรรณกรกุล
 
เข้าชม : ๕๑๔ ครั้ง
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาแปลมคธเป็นไทย สำหรับนักเรียนชั้นประโยค 1-2 และ ป.ธ. 3
ชื่อผู้วิจัย : ผศ.เวทย์ บรรณกรกุล ข้อมูลวันที่ : ๑๑/๑๑/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
 
 
 
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

                                                                    บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาแปลมคธเป็นไทย สำหรับนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ชั้นประโยค 1-2 เนื้อหาที่ใช้วิจัยมีขอบข่าย 3 หน่วยการเรียน คือ 1) พื้นฐานการแปลมคธเป็นไทย  2) ระเบียบวิธีแปลมคธเป็นไทย  และ 3) หลักการแปลบทพิเศษ

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คัดเลือกโดยใช้วิธีสุ่มแบบเจาะจงจากนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี  ชั้นประโยค 1-2 โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี  ประจำจังหวัดนครปฐม แห่งที่ 2 วัดมหาสวัสดิ์นาคพุฒาราม ตำบลหอมเกร็ด อำเภอสามพราน จังหวัด นครปฐม จำนวนรวมทั้งสิ้น 42 รูป โดยกำหนดให้เป็นผู้ที่มีผลการเรียนอยู่ในระดับอ่อน จำนวน 3 รูป  ระดับปานกลาง จำนวน  9 รูป และผู้ที่มีผลการเรียนระดับเก่ง  จำนวน  30 รูป

การหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนครั้งนี้ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบ One Short Case Study โดยทำการทดลอง 3 ครั้งพบว่า ครั้งที่ 1 บทเรียนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพโดยรวมที่ระดับร้อยละ 83.00/88.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งเอาไว้  และยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความสนใจเนื้อหาและชอบรูปแบบที่นำเสนอในบทเรียน ส่วนการทดลองครั้งที่ 2 และ 3 ในกลุ่มตัวอย่าง 9 รูป และ 30 รูป ตามลำดับ พบว่าบทเรียนที่พัฒนาขึ้นมี ประสิทธิภาพโดยรวมที่ระดับร้อยละ  82.33/84.56  และ  81.83/85.67 ตามลำดับ  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งเอาไว้ เช่นเดียวกัน  เมื่อนำเอาคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทดลองใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนครั้งที่ 3 มาเปรียบเทียบด้วยการแจกแจงของทีชนิดไม่เป็นอิสระจากกัน (t-dependent) พบว่าผลสัมฤทธิ์จากการทำแบบทดสอบระหว่างเรียนและทดสอบหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.001  (t = 7.092, p <.001) แสดงว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้เชื่อได้ร้อยละ 99 นั่นคือ การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นทำให้ผู้ศึกษาได้ความรู้เพิ่มขึ้นจริงเชื่อได้ร้อยละ 99 และยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีเจตคติต่อการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนครั้งนี้โดยรวมอยู่ในระดับพอใจมาก ( = 4.00, S.D. = 0.61)

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕