หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระวรมน ขนฺติโก (วัดถุมา)
 
เข้าชม : ๒๐๐๓๒ ครั้ง
ศึกษาสัมมัปปธาน ๔ อันเป็นองค์แห่งการบรรลุธรรม
ชื่อผู้วิจัย : พระวรมน ขนฺติโก (วัดถุมา) ข้อมูลวันที่ : ๑๔/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(วิปัสนาภาวนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูใบฎีกามานิตย์ เขมคุตฺโต ศน.บ., M.A., Ph.D.
  พระมหาโกมล กมโล ป.ธ.๘, พธ.บ., ศศ.ม.
  อาจารย์นิมิตร โพธิพัฒน์ ป.ธ.๙
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๕
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

                     วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์  ๒ ประการ คือ เพื่อศึกษาการบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท  และเพื่อศึกษาสัมมัปปธาน ๔ ที่เกื้อหนุนต่อการบรรลุธรรม โดยศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท อันได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เรียบเรียงบรรยายตรวจสอบความถูกต้องเนื้อหาจากอาจารย์ที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญ

                      จากการศึกษาพบว่า  การบรรลุธรรม หมายถึง การบรรลุ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ซึ่งจัดเป็นโลกุตตระ ในสัมมัปปธาน ๔ ที่เกื้อหนุนต่อการบรรลุธรรม พบว่าเป็นหลักธรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๔  ซึ่งเรียกว่าความเพียร  และหลักธรรมนี้  มีปรากฏในหลักธรรมอื่น ๆ แต่ที่ปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจน ก็คือโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ซึ่งเป็นหลักธรรมแห่งการตรัสรู้แล้วพบว่า  ในหลักธรรมแต่ละหมวดจะประกอบด้วยความเพียรทุกหมวด  อาทิ  ในสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งเป็นหลักธรรมหมวดแรกในโพธิปักขิยธรรม  มีหลักธรรมอยู่  ๓ ประการที่น่าสนใจ  กล่าวคือ  อาตาปี (ความเพียร)   สติมา (สติ)  และสมฺปชาโน  (สัมปชัญญะ) จะเห็นได้ว่าหนึ่งในสามของหลักธรรมที่อ้างมานี้ก็คือความเพียร  ซึ่งในที่นี้นับเนื่องเข้าในความเพียร ๔ ของสัมมัปปธาน ๔  ต่อมาเป็นอิทธิบาท ๔ ซึ่งเป็นหลักธรรมที่อ้างถึงความเพียรในสัมมัปปธาน ๔ ด้วยเช่นกัน  จากนั้นก็เป็นอินทรีย์ ๕ และพละ ๕ ซึ่งเป็นความเพียรที่อ้างเอาความเพียรในสัมมัปปธาน เกี่ยวกับโพชฌงค์- ๗ นั้น  วิริยะสัมมโพชฌงค์  อ้างเอาวิริยะในสัมมัปปธาน ๔ ด้วย  และสุดท้าย  อริยะมรรคมีองค์ ๘  ในสัมมาวายามะนั้น  ก็ต้องอ้างเอาความเพียร ๔ ในสัมมัปปธานด้วยเช่นกัน   

                     

                      ดังนั้นความเพียรจึงมีความสำคัญในการบรรลุธรรม  ถ้าผู้ปฏิบัติขาดความเพียรแล้ว  เขาก็จะไม่บรรลุธรรม แต่อย่างไรก็ตามความเพียรที่เรียกว่าสัมมัปปธานนี้ จะเจริญงอกงามได้ ย่อมต้องอาศัยความสัมพันธ์ใน หมวดธรรมต่าง ๆ ของโพธิปักขิยธรรม  จึงจะสร้างความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้  และคุณธรรมที่สมบูรณ์เหล่านี้มีความสำคัญต่อการสร้างสรรค์ชีวิตที่ดีงาม  และการเข้าถึงจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕