หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระประจักษ์ อาภากโร (โฉมเรือง)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๐ ครั้ง
การประยุกต์ใช้หลักพุทธศาสนสุภาษิตในการดำเนินชีวิตของสามเณร
ชื่อผู้วิจัย : พระประจักษ์ อาภากโร (โฉมเรือง) ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชวชิรเมธี ดร., ป.ธ.๙, พธ.บ., ศษ.บ., อ.ม., กศ.ด.
  ผศ.ดร.สุพรต บุญอ่อน ศษ.บ., กศ.ม.,Ph.D.(Social Sciences )
  ผศ.ดร. วรกฤต เถื่อนช้าง ป.ธ.๙,ศษ.บ.,ศศ.ม.,ปร.ด.(บริหารอุดมศึกษา)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง การประยุกต์ใช้หลักพุทธศาสนสุภาษิตในการดำเนินชีวิตของสามเณรมีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ ๑) เพื่อศึกษาหลักพุทธศาสนสุภาษิตที่ประยุกต์ใช้ในสังคมไทย  ๒) เพื่อศึกษาการดำรงสมณเพศและจริยธรรมของสามเณร  ๓) เพื่อประยุกต์ใช้พุทธศาสนสุภาษิตในการดำรงสมณเพศของสามเณร  การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitative Research) โดยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอผลการวิจัยโดยวิธีเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

๑.พระพุทธศาสนสุภาษิตที่ประยุกต์ใช้ในในสังคมไทย มีความสำคัญต่อชีวิต สังคม การศึกษาพระพุทธศาสนสุภาษิตจะสะท้อนได้อย่างชัดเจนว่าพระพุทธศาสนาสอนเรื่องความจริงในธรรมชาติที่สอนให้ผู้เรียนได้เกิดปัญญาโดยใช้เหตุผล ซึ่งสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงได้ในสังคมไทย เป็นศาสตร์แห่งศึกษาเป็นศาสนาแห่งการปฏิบัติถูกต้องเป็นกระบวนการในการพัฒนาพฤติกรรมเชิงคุณธรรมจริยธรรม การเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาสามารถพัฒนาตนเองและสังคมให้เจริญก้าวหน้าและอยู่รวมกันได้อย่างสันติสุข ทั้งเป็นประโยชน์แก่ผู้เรียนช่วยให้สามารถใช้หลักเหตุผลทางพระพุทธศาสนา ในการพิจารณาและวินิจฉัยความถูกต้อง มีทัศนคติที่ดี สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของคนในสังคมไทย อย่างยั่งยืน

๒.การดำรงสมณเพศและจริยธรรมของสามเณร เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในองค์ประกอบจริยธรรม ๓ ประการ เป็นอิสระจากกัน ความรู้สึก และพฤติกรรม และหลักความประพฤติ เป็นแนวทาง แบบแผน หรือหลักการที่ว่าด้วยความดีงามซึ่งมีพื้นฐานมาจากหลักการของศาสนา มี ๓ องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านปัญญาสามารถแยกแยะสิ่งที่ถูก องค์ประกอบทางด้านอารมณ์ความรู้สึก และองค์ประกอบทางด้านพฤติกรรม ภายใต้ความจริง ๒ ระดับคือ ๑) ความจริงระดับสมมติ เรียกว่า สมมติสัจจะ ๒) ความจริงระดับพ้นวิสัยโลก เรียกว่า ปรมัตถสัจจะ

๓.แนวทางการประยุกต์ใช้พุทธศาสนสุภาษิตที่มีผลต่อการดำรงสมณเพศของสามเณร พบว่า พุทธศาสนสุภาษิตมีคุณค่าทางจริยธรรมในพระพุทธศาสนามาก และจริยธรรมของสามเณรนั้น สามารถพิจารณาด้วยกรรม ซึ่งหมายถึงการกระทำ และการกระทำจะบ่งชี้เจตนา ว่าดีหรือร้าย บริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ ซึ่งกรรมในพุทธศาสนาเถรวาท มีรายละเอียดที่ชัดเจน พระพุทธศาสนามองทั้งเจตนาของผู้กระทำและผลของการกระทำ นั่นก็คือ ถ้าสามเณรจะทำอะไรก็แล้วแต่ ถ้ามีเจตนาที่เป็นกุศลก็ถือได้ว่าดีในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ต้องดูผลของการกระทำด้วย นั่นคือเมื่อมีเจตนาที่เป็นกุศลแล้วกระทำ ถ้าผลออกมาเป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น อีกทั้งผู้รู้ทั้งหลายสรรเสริญ นั่นถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ดีงาม อันจะส่งผลต่อการประพฤติพรหมจรรย์ของสามเณรต่อไป

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕