หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูปิยธรรมวิมล (ธนชน นรินฺโท)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๕ ครั้ง
การศึกษาเปรียบเทียบบทบาทการอุปถัมภ์ศาสนาของอนาถบิณฑิกเศรษฐีกับแม่ชีเทเรซา
ชื่อผู้วิจัย : พระครูปิยธรรมวิมล (ธนชน นรินฺโท) ข้อมูลวันที่ : ๓๑/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูโสภณธรรมาภิมณฑ์ ป.ธ. ๔, พธ.บ. M.A. Ph.D. (Linguistic).
  ดร.แสวง นิลนามะ ป.ธ.๗, พธ.บ., พธ.ม., พธ.ด. (พระพุทธศาสนา)
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

              วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาบทบาทการอุปถัมภ์ทางพระพุทธศาสนาของอนาถบิณฑิกเศรษฐี (๒) เพื่อศึกษาบทบาทการอุปถัมภ์ทางศาสนาคริสต์ของแม่ชีเทเรซ่า (๓) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทการอุปถัมภ์ศาสนาของอนาถบิณฑิกเศรษฐีกับ  แม่ชีเทเรซา 

              ผลการวิจัยพบว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐีเกิดในตระกูลเศรษฐีมีอาชีพค้าขายด้วยกองเกวียน เป็นอุบาสกผู้เลิศด้านการถวายทานและเป็นพระโสดาบัน ที่มีบทบาทสำคัญในการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา บทบาทการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาของท่านครอบคลุม ๔ ด้านที่สำคัญ คือ ด้านการอุปถัมภ์ปัจจัย ๔ ทั้งแก่ภิกษุสงฆ์ ด้านการส่งเสริมการศึกษา ด้านสาธารณสุข ด้านการเผยแผ่ธรรม และเป็นตัวอย่างแก่พุทธศาสนิกชนในสมัยปัจจุบัน

             ส่วนบทบาทการอุปถัมภ์ศาสนาคริสต์ของแม่ชีเทเรซานั้นพบว่า แม่ชีเทเรซาเป็นมิชชันนารีในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ท่านมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้ช่วยเหลือและผู้ต่อสู้เพื่อคนยากไร้ในเมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ และหลังจากมรณกรรมก็ได้รับการประกาศเป็นบุญราศีนามว่า “บุญราศีเทเรซาแห่งกัลกัตตา” บทบาทด้านการอุปถัมภ์ศาสนาคริสต์ของแม่ชีเทเรซา อยู่บนพื้นฐานของความรักต่อเพื่อนมนุษย์ และ ความศรัทธาในพระเจ้า  

              การเปรียบเทียบบทบาทการอุปถัมภ์ศาสนาของอนาถบิณฑิกเศรษฐีกับแม่ชีเทเรซา พบว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐีมีฐานะร่ำรวย มีการสละทรัพย์เพื่อบำรุงพระพุทธศาสนา ดังนั้นจึงสามารถบริจาคทรัพย์ทำได้มากกว่าคนอื่น และได้รับการสนับสนุนจากพระราชาเป็นอย่างดี ส่วนการอุปถัมภ์ศาสนาคริสต์ของแม่ชีเทเรซานั้น มีความยากลำบาก เนื่องจากความขัดสนในทรัพย์สินต้องใช้เวลามากกว่า นอกจากนี้ท่านไม่ใช่คนอินเดีย เป็นคณะมิชชันนารีที่ตั้งใหม่มาจากต่างประเทศ จึงได้รับการต่อต้านจากคนท้องถิ่นในเบื้องต้น แต่เมื่อผลงานการปฏิบัติงานได้สร้างเชื่อมั่นจึงได้รับความยอมรับจนถึงปัจจุบัน

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕