หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระจุ่น ธีรปญฺโญ (พรหมจักร)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๖ ครั้ง
การศึกษาภาวะผู้นำของครูและผู้บริหารวิทยาลัยสงฆ์องค์ตื้อ นครหลวงเวียงจันทร์ ประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว.
ชื่อผู้วิจัย : พระจุ่น ธีรปญฺโญ (พรหมจักร) ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.ดร.ชวาล ศิริวัฒน์ พธ.บ., M.A., Ph.D.
  ผศ.ดร.สมชัย ศรีนอก พธ.บ., M.A., Ph.D.
  ผศ.ดร.สิน งามประโคน พธ.บ., M.A., Ph.D.
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของครูและผู้บริหารวิทยาลัยสงฆ์องค์ตื้อ นครหลวงเวียงจันทร์ ประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย  ประชาชนลาว   เปรียบเทียบภาวะผู้นำของครูและผู้บริหารวิทยาลัยสงฆ์องค์ตื้อ นครหลวงเวียงจันทร์ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และศึกษาแนวทางการพัฒนาครูและผู้บริหารวิทยาลัยสงฆ์องค์ตื้อ นครหลวงเวียงจันทร์ ประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย  ประชาชนลาว

                กลุ่มตัวอย่างได้แก่ครูและผู้บริหารจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๘๕รูป/ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ(One-Way ANOVA) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์วิเคราะห์สถิติสำเร็จรูป

ผลการศึกษาพบว่า

               ผลการการศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารและครูที่มีต่อภาวะผู้นำของครูและผู้บริหารวิทยาลัยสงฆ์องค์ตื้อ นครหลวงเวียงจันทร์ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ภาวะผู้นำด้านการมีวิสัยทัศน์ที่ดี  ภาวะผู้นำด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกับชุมชน  ภาวะผู้นำด้านความสามารถในจูงใจ  ภาวะผู้นำด้านการเป็นแบบอย่างที่ดี  ภาวะผู้นำด้านความฉลาดและมีไหวพริบ  ภาวะผู้นำด้านหลักในการปกครองตน 

 

                               

                 ผลการเปรียบเทียบข้อมูลการศึกษาภาวะผู้นำของครูและผู้บริหารวิทยาลัยสงฆ์องค์ตื้อนครหลวงเวียงจันทร์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  จำแนกตามเพศ อายุ วุฒิการศึกษา ประการณ์การทำงาน สาขาที่สอน พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

                                 ข้อเสนอแนะ ๑) ด้านความสามารถในการจูงใจ ควรมีทักษะและความสามารถในการจูง ใจให้บุคลากรสามารถทำงานกับองค์กรด้วยความจงรักภักดีและทุ่มเทการทำงานด้วยจิตใจ มิใช่การ บังคับ ๒) การมีวิสัยทัศน์ที่ดีเป็นสิ่งดี แต่กระบวนการก้าวไปสูวิสัยทัศน์นั้น ควรสอดคลองกับบุคคล สถานการณ์การเงิน ๓) การเป็นแบบอย่างที่ดี เป็นสิ่งถูกต้อง ตัวอย่างดีนั้นมิใช่เพียง พูดดี แต่งตัวดี ๔) การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกับชุมชนยังไม่เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ๕) ความฉลาดและ มีไหวพริบ  การเป็นผู้นำ ต้องมีความฉลาดและมีไหวพริบ ๖) หลักในการปกครองตนจะให้ทุกคนมี สิทธิเท่าเทียมกัน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕