หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูโอภาสนนทกิตติ์
 
เข้าชม : ๒๐๐๓๙ ครั้ง
การศึกษาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ จังหวัดนนทบุรี
ชื่อผู้วิจัย : พระครูโอภาสนนทกิตติ์ ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ. ดร.สมศักดิ์ บุญปู่ ป.ธ.๔,พธ.บ.,M.A., Ph.D.
  พระครูสุตกิจบริหาร, ผศ. ปธ.๔.,พธ.บ.,M.A.(POL)
  ผศ.ดร.สิน งามประโคน พธ.บ.,M.A.,Ph.D.(Edu)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๔
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการศึกษาเรื่อง การศึกษาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี คือ เพื่อศึกษาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี  จำแนกตามเพศ อายุระดับชั้นเรียน และอาชีพผู้ปกครอง และเพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี ปีการศึกษา ๒๕๕๓  ช่วงชั้น ที่ ๓ – ๔  รวมทั้งสิ้น ๓,๕๒๑ คน และได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๓๔๕ คน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่  ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)  ค่าที (t-test)  และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance: F-test)

ผลการวิจัยพบว่า

๑.  พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก ๒ ด้าน และอยู่ในระดับปานกลาง ๔ ด้าน ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ได้แก่ความรับผิดชอบ ความเสียสละ ส่วนค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ความกตัญญูกตเวที  ความซื่อสัตย์สุจริต ความมีระเบียบวินัย และความขยันหมั่นเพียร

๒.  ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี  จำแนกตามเพศ  ระดับชั้นเรียนและอาชีพผู้ปกครอง โดยการทดสอบค่าที (t-test) จำแนกตามเพศชายและเพศหญิง โดยภาพรวม พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน       ก็พบว่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

ข้อเสนอแนะดังนี้ ๑) ด้านความมีระเบียบวินัยนักเรียนเสนอว่าครูควรเข้าใจวัยของนักเรียนโดยชี้แจงการลงโทษด้วยเหตุผลเพื่อให้นักเรียนเชื่อฟังและนำไปปฏิบัติ ๒) ด้านความรับผิดชอบนักเรียนเสนอแนะว่าครูควรยืดหยุ่นเวลาในการส่งงานที่มอบหมาย ๓) ด้านความซื่อสัตย์สุจริตนักเรียนมีความเห็นว่าให้ทุกคนกล้ายอมรับผิดเมื่อตนเองทำผิด ๔) ด้านความเสียสละนักเรียนเสนอว่าการรู้จักเสียสละแบ่งปันช่วยเหลือผู้อื่นเป็นเรื่องดี ๕) ด้านความกตัญญูกตเวทีนักเรียนเสนอว่าการเชื่อฟังบิดา มารดา ครูอาจารย์เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องมีจิตสำนึกถึงพระคุณของท่านเล่านั้น และ ๖)ด้านความขยันหมั่นเพียรนักเรียนเสนอว่าความกระตือรือร้นในการทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นหน้าที่ที่ต้องทำให้ดี

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕