หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายฉัตรกร วรรณโก
 
เข้าชม : ๒๐๐๓๘ ครั้ง
ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน วิชาสังคมศึกษาในโรงเรียน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
ชื่อผู้วิจัย : นายฉัตรกร วรรณโก ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย พธ.บ., M.Ed., Ph.D.
  ผศ.ดร.อินถา ศิริวรรณ พธ.บ., M.Ed., Ph.D
  ผศ.ดร.สิน งามประโดน พธ.บ., M.A., Ph.D.
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษาเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษาและเพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะแนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นัก เรียนโรงเรียนราชวินิตเขตดุสิต กรุงเทพมหานครตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ – ๖ มีจำนวนทั้งหมด ๒๙๗ คนใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Sample Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (mean), ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation:), t-test และ F-test (One Way Analysis of Anova)

 

ผลการวิจัยพบว่า

๑. นักเรียนชั้นประถมศึกษามีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษาในโรงเรียนราชวินิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย  คือ ด้านหลักสูตร ด้านการเรียนการสอนด้านการวัดผลและประเมินผล ด้านบรรยากาศการเรียนการสอนและด้านสื่อการเรียนการสอนตามลำดับ

๒. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษาในโรงเรียนราชวินิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร พบว่า จำแนกตามเพศ อายุ และระดับชั้นต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ๐.๐๑ส่วนจำแนกตามเกรดเฉลี่ยต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษาไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ๐.๐๕

 

                     ๓. ผลการศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะแนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนราชวินิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ทั้ง ๕ ด้าน พบว่า ๑) ด้านหลักสูตร ปัญหาอุปสรรค คือ ครูไม่มีความชัดเจนในโครงสร้างหลักสูตร การเรียนรู้และเนื้อหาหลักสูตรไม่เหมาะสมกับในยุคปัจจุบัน ส่วนข้อเสนอแนะ คือ ครูควรปรับปรุงวิธีการสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตรสาระการเรียนรู้ให้มากขึ้นกว่าเดิมเพื่อความเหมาะสมกับผู้เรียนและทันโลกปัจจุบันเสมอ๒) ด้านการเรียนการสอน ปัญหาอุปสรรค คือ ครูเน้นการเรียนการสอนภาคทฤษฎีในห้องเรียนมากเกินไป ส่วนข้อเสนอแนะ คือ ครูควรให้ความสำคัญทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ๓) ด้านสื่อการเรียนการสอน ปัญหาอุปสรรค คือ สื่อไม่ทันสมัยและไม่สอดคล้องกับเหตุการณ์ปัจจุบัน ส่วนข้อเสนอแนะ คือ ครูควรปรับปรุงสื่อการเรียนการสอนให้สอดคล้องเหมาะสมและเป็นปัจจุบันเสมอ ๔) ด้านบรรยากาศการเรียนการสอน ปัญหาอุปสรรค คือมีแหล่งเรียนรู้ภายในบริเวณโรงเรียนน้อยเกินไปไม่เพียงพอต่อความต้องการของนักเรียนส่วนข้อเสนอแนะ คือ ครูควรเพิ่มแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนให้พอต่อความต้องการของผู้เรียน และ ๕) ด้านการวัดผลและประเมินผล ปัญหาอุปสรรค คือ ไม่มีเวลาพอที่ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังการเรียน ส่วนข้อเสนอแนะ คือ ครูควรจัดเวลาให้เหมาะสม

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕