เข้าชม : ๒๐๐๓๓ ครั้ง |
ศึกษาวิเคราะห์ความเชื่อการสืบชะตาของชาวล้านนา |
|
ชื่อผู้วิจัย : |
เจ้าอธิการภานุวัฒน์ ปญฺญาวชิโร (ตุ่นคำ) |
ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๑๐/๒๐๑๓ |
ปริญญา : |
พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา) |
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ : |
|
พระครูพิศาลสรกิจ, ดร.พธ.บ.(รัฐศาสตร์), M.A.(Buddhist Studies),M.Phil.(Buddhist Studies), Ph.D.(Buddhist Studies) |
|
ผศ.ดร.วันชัย พลเมืองดี พธ.บ.(ศาสนา), M.A.(Buddhist Studies), Ph.D.(Buddhist Studies). |
|
ดร.พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์ ป.ธ.๙, พธ.บ.(ปรัชญา), M.A.(Philosophy), Ph.D.(Philosophy) |
วันสำเร็จการศึกษา : |
๒๕๕๖ |
|
บทคัดย่อ |
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์เรื่อง “ศึกษาวิเคราะห์ความเชื่อการสืบชะตาของชาวล้านนา” เป็นการศึกษาวิจัยเชิงเอกสารและเชิงคุณภาพ โดยค้นคว้าข้อมูลทั้งจากภาคเอกสารและการสัมภาษณ์ โดยมีวัตถุประสงค์ ๓ประการคือ (๑) เพื่อศึกษาแนวคิดและความเป็นมาของการสืบชะตาในล้านนา (๒) เพื่อศึกษาความหมายของเครื่องประกอบพิธีในการสืบชะตาและ(๓) เพื่อวิเคราะห์ความเชื่อของการสืบชะตาของชาวล้านนา
ผลการศึกษาวิจัยพบว่าพิธีสืบชะตาเป็นพิธีกรรมของชาวล้านนาที่มีการปฏิบัติและสืบสานมาตั้งแต่บรรพกาล เป็นประเพณีที่แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานที่กลมกลืน ของพิธีกรรมทางศาสนาพุทธ ฮินดู พราหมณ์และลัทธิผีสางเทวดา โดยมีแนวคิดมาจากอรรถกถาธรรมบท เรื่อง อายุวัฒนกุมาร และโพธิราชกุมาร ด้านความเป็นมาของพิธีกรรมสืบชะตาในล้านนา พบว่า มีความเป็นมายาวนานและมีหลักฐานปั๊บสา (สมุดเยื่อสา) จารึกด้วยอักษรล้านนา กล่าวถึงพิธีกรรมสืบชะตาเมืองในสมัยพระเจ้าสามฝั่งแกน กษัตริย์ล้านนาไทย ราชวงศ์มังราย รัชกาลที่ ๑๐ ในระดับชุมชนนั้น พิธีกรรมสืบชะตานิยมทำกันในหลายโอกาสเช่นเนื่องในวันเกิดวันขึ้นบ้านใหม่เพื่อต่อดวงชะตาหรือในโอกาสที่ได้รับการเลื่อนยศตำแหน่ง เป็นต้น ด้านเครื่องประกอบพิธีกรรมนั้นสามารถตีความได้ว่าเกี่ยวข้องกับสุขภาพและขวัญกำลังใจของผู้ที่ได้รับการประกอบพิธีกรรม
ด้านความเชื่อพิธีกรรมสืบชะตามีความสัมพันธ์ยึดโยงกับวิถีชีวิตชาวล้านนา ๔ ด้าน คือ ๑) ความเชื่อเรื่องอานุภาพของพระรัตนตรัย ๒) ความเชื่อเรื่องกรรม ๓) ความเชื่อเรื่องมงคล ๔) ความเชื่อเรื่องการอุทิศกุศลให้กับสรรพสัตว์ทั้งปวง
ดาวน์โหลด |
|
|