หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายทวีศักดิ์ ทองทิพย์
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๒ ครั้ง
การบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักไตรสิกขาของโรงเรียนวัดพระพุทธบาทเขากระโดง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อผู้วิจัย : นายทวีศักดิ์ ทองทิพย์ ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๑๐/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สรเชต วรคามวิชัย ปธ.๙, ศน.บ., M.A., Ph.D.
  .
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๕
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

                        การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาและศึกษาการบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักไตรสิกขาของโรงเรียนวัดพระพุทธบาทเขากระโดง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก คัมภีร์พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลแบบบรรยาย ผลของการวิจัยมีข้อค้นพบ ดังนี้

                     . ความเป็นมาของโรงเรียนวัดพระพุทธบาทเขากระโดง พบว่า เป็นโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นตามภารกิจของวัดในพระพุทธศาสนาด้านการศึกษาสงเคราะห์ ตั้งอยู่ที่วัดพระพุทธบาทเขากระโดง เลขที่ ๑ หมู่ที่ ๑๓ บ้านน้ำซับ ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ๓๑๐๐๐ จำนวนเนื้อที่ประมาณ ๕๑ ไร่ สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต ๑ กระทรวงศึกษาธิการ ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งตามใบอนุญาต เลขที่ บร ๑๐๐๑ / ๒๕๕๒ ลงวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒ ด้านความจำเป็นในการจัดตั้ง เพื่อสนองตอบคำปรารภของคณะสงฆ์จังหวัดบุรีรัมย์  เพื่อสนองตอบภารกิจของวัดในพระพุทธศาสนาด้านการศึกษาสงเคราะห์ สนองตอบนโยบายรัฐและคณะสงฆ์ด้านการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ ผลิตผู้จบมัธยมศึกษาส่งต่อให้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ให้เป็นสถานที่ฝึกสอนของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ เพื่อให้เป็นสถานที่ศึกษาดูงานโรงเรียนวิธีพุทธของหน่วยงานทั่วไป ด้านแนวทางในการดำเนินการของโรงเรียนได้กำหนดไว้ในตราสารของโรงเรียน ซึ่งเป็นไปตามที่ได้กำหนดไว้ใน วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ หลักสูตร เป้าหมาย นโยบาย และกลยุทธ์หลักของโรงเรียนด้านพัฒนาการของโรงเรียน ได้มีพัฒนาการทั้งทางด้านบุคลากร ด้านระบบบริหาร ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม ด้านสื่อและแหล่งการเรียนรู้ ด้านอุปกรณ์การศึกษา และด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานและสวัสดิการ ปัจจุบันโรงเรียนสามารถสร้างชื่อเสียงและได้รับความไว้วางใจจากชุมชนเห็นได้จากแต่ละปีการศึกษา ผู้ปกครองได้ส่งลูกหลานเข้ามาเรียนกับทางโรงเรียนเพิ่มมากขึ้น

                     .การบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักไตรสิกขา พบว่า โรงเรียนวัดพระพุทธบาทเขากระโดง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ดำเนินการโดยนำเอาหลักไตรสิกขามาใช้เป็นกรอบในการพัฒนาสถานศึกษา เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์สรุปได้ ๓ ประเด็นหลักดังนี้

                                ๑) ด้านปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ คือ หลักการนำรูปแบบไตรสิกขาไปใช้ในการบริหารสถานศึกษาจะต้องสร้างปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ ๒ ประการให้เกิดขึ้นมาก่อน ได้แก่ (๑) ปรโตโฆสะ คือ องค์ประกอบฝ่ายภายนอก เป็นปัจจัยทางสังคม เรียกง่าย ๆ ว่าวิธีการแห่งศรัทธา ซึ่งได้แก่ ทรัพยากรทางการบริหารทุก ๆ องค์ประกอบซึ่งต้องจัดดำเนินการให้มีขึ้นก่อนดำเนินการจัดการศึกษา (๒)โยนิโสมนสิการ คือ องค์ประกอบฝ่ายภายใน เป็นปัจจัยภายในตัวบุคคล เรียกง่าย ๆ ว่าวิธีการแห่งปัญญา ซึ่งได้แก่ การทำความเข้าใจในกระบวนการดำเนินงานในทุกขั้นตอนอย่างถูกต้องจนเกิดเป็นสัมมาทิฏฐิก่อนแล้วจึงเข้าสู่กระบวนการพัฒนาตามหลักไตรสิกขาต่อไป ด้านปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิที่โรงเรียนวัดพระพุทธบาทเขากระโดงได้ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม คือ ด้านบุคลากร ด้านระบบบริหาร ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม ด้านสื่อและแหล่งการเรียนรู้ ด้านอุปกรณ์การศึกษา และด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานและสวัสดิการ

                                ๒) ด้านกระบวนการพัฒนาตามหลักไตรสิกขา คือ การนำเอาปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ อันเป็นทรัพยากรทางการบริหารมาใช้ในการดำเนินงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ ด้านกระบวนการพัฒนาตามหลักไตรสิกขา ที่โรงเรียนวัดพระพุทธบาทเขากระโดงได้มีการดำเนินการอยู่อย่างเป็นรูปธรรมมีดังนี้ คือ ด้านการเรียนการสอนที่บูรณาการหลักไตรสิกขา ด้านบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์ที่เป็นกัลยาณมิตร และด้านกิจกรรมการพัฒนาผู้เรียน

                                ๓) ด้านผลสำเร็จที่เกิดจากการใช้หลักไตรสิกขาในการบริหารสถานศึกษา มีดังนี้ คือ (๑) ด้านสถานศึกษา ได้มีความพร้อมในด้านทรัพยากรทางการบริหารทุก ๆ องค์ประกอบ เช่น บุคลากร ระบบบริหาร วิชาการ งบประมาณ อาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม สื่อและแหล่งการเรียนรู้ อุปกรณ์การศึกษา สาธารณูปโภคพื้นฐานและสวัสดิการอย่างพอเพียง และ (๒) ด้านชุมชน โรงเรียนได้รับความไว้วางใจจากชุมชน เห็นได้จากในแต่ละปีการศึกษาผู้ปกครองจะส่งนักเรียนเข้ามาเรียนกับทางโรงเรียนวัดพระพุทธบาทเขากระโดงเพิ่มมากขึ้น

  ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕