หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายเดโชพล เหมนาไลย
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๕ ครั้ง
สัมมาอาชีวะในพระไตรปิฎก
ชื่อผู้วิจัย : นายเดโชพล เหมนาไลย ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๑๐/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ศาสตราจารย์ ดร.วัชระ งามจิตรเจริญ ป.ธ.๙, พธ.บ.,ศษ.บ.,M.A. (Philosophy), อ.ด. (ปรัชญา)
  .
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

 

          สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการคือ ๑) เพื่อศึกษาวิเคราะห์คำสอนเรื่องสัมมาอาชีวะในพระไตรปิฎกอย่างเป็นระบบให้เกิดเป็นองค์ความรู้ที่ถูกต้องและชัดเจนซึ่งสอดคล้องกับหลักการของพระพุทธศาสนาโดยรวม ๒) เพื่อศึกษาหาเกณฑ์วินิจฉัยความเป็นสัมมาอาชีวะจากพระไตรปิฎก

 

          จากการศึกษาพบว่า นิยามของสัมมาอาชีวะที่สอดรับกับข้อมูลจากพระไตรปิฎก รวมทั้งคำอธิบายของคัมภีร์ชั้นรองอื่นๆ และมีความครอบคลุมมากที่สุด ได้แก่ นิยามที่ว่า สัมมาอาชีวะ หมายถึง การเลี้ยงชีวิตด้วยกุศลกรรม คือ กายสุจริต ๓ วจีสุจริต ๔  เป็นเบื้องต้น ตลอดจนมีความเพียรในการชำระ ขัดเกลากิเลสที่เนื่องด้วยการเลี้ยงชีวิตนั้น ให้เบาบางลงเรื่อยๆ จนกว่าจิตใจจะ บริสุทธิ์และ ผ่องแผ้วในที่สุด นิยามดังกล่าวยังสอดคล้องกับการที่พระไตรปิฎกแบ่งสัมมาอาชีวะออกเป็น ๒ ระดับ คือสัมมาอาชีวะที่ยังมีอาสวะ  กับสัมมาอาชีวะที่ไม่มีอาสวะ 

ส่วนความสำคัญของสัมมาอาชีวะนั้น สามารถมองได้ ๒ ระดับ ได้แก่ (๑)สัมมาอาชีวะระดับธรรม หมายถึงสัมมาอาชีวะในฐานะที่เป็นองค์มรรคหนึ่งในมรรคมีองค์ ๘ และในฐานะที่เป็นศีลซึ่งทำหน้าที่เป็นบาทฐานให้แก่สมาธิและปัญญา (๒) สัมมาอาชีวะระดับวินัย หมายถึงสัมมาอาชีวะที่ทำหน้าที่เป็นกรอบกำหนดกายกรรมและวจีกรรมในการเลี้ยงชีพของบุคคลให้สุจริต และเพื่อประโยชน์แก่หมู่คณะ

กล่าวสำหรับเกณฑ์วินิจฉัยความเป็นสัมมาอาชีวะ เพื่อให้มีความครอบคลุมรอบด้านมากที่สุด ควรพิจารณาทั้งหมด ๔ ประเด็น ได้แก่ (๑) แรงจูงใจของผู้ประกอบอาชีพ (๒) ตัวอาชีพ  (๓) กระบวนการประกอบอาชีพ และ (๔) ผลจากการประกอบอาชีพ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕