หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายณัฐพล แก้วขัน
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๓ ครั้ง
การให้อภัยโทษในสังคมไทยตามหลักพระพุทธศาสนา
ชื่อผู้วิจัย : นายณัฐพล แก้วขัน ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๑๐/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.โสวิทย์ บำรุงภักดิ์ ป.ธ.๗, พธ.บ.(ปรัชญา), M.A.(Bud),พธ.ด.(พระพุทธศาสนา)
  .
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

                      สารนิพนธ์เรื่อง “การให้อภัยโทษในสังคมไทยตามหลักพระพุทธศาสนา” นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีและรูปแบบการให้อภัยโทษในประเทศไทย อังกฤษ สหรัฐอเมริกาและศึกษาวิเคราะห์การให้อภัยโทษของประเทศไทยตามหลักพระพุทธศาสนา ผลจากการศึกษาพบว่า

                      การให้อภัยโทษมีที่มาจากพระราชอำนาจของกษัตริย์ในการพระราชทานความกรุณาแก่ผู้กระทำความผิด ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดความเมตตาปราณีอันมาจากประมุขแห่งรัฐและทรงเป็นที่มาแห่งความยุติธรรม การให้อภัยโทษในประเทศอังกฤษนั้นเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์มีอยู่ ๒ แบบคือ การให้อภัยโทษแบบมีเงื่อนไขอีกรูปแบบหนึ่งคือการให้อภัยโทษแบบไม่มีเงื่อนไข ส่วนการอภัยโทษในสหรัฐอเมริกานั้นเมื่อประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นต่อประเทศอังกฤษ การให้อภัยโทษจึงได้กำหนดเป็นอำนาจประธานาธิบดีและผู้ว่าการรัฐ แม้พระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์ไทยจะเป็นที่ล้นพ้น แต่ด้วยอิทธิพลจากข้อธรรมคำสั่งสอนในระพุทธศาสนาก็เป็นผลให้พระมหากษัตริย์ไทยทรงตั้งมั่นอยู่ในธรรมอันควรแก่ความประพฤติของผู้ปกครองแผ่นดินนอกจากการบำเพ็ญทศบารมีเพื่อบรรลุซึ่งจุดหมายสูงสุดแล้วหลักธรรมพรหมวิหาร จักรวรรดิวัตร ราชสังคหวัตถุและทศพิธราชธรรม ได้รับการยอมรับเป็นหลักธรรมเพื่อการปกครองของพระมหากษัตริย์ การอภัยโทษมีทั้งเป็นรายบุคคล คณะบุคคลและการอภัยโทษเป็นการทั่วไปเมื่อถึงวาระสำคัญของบ้านเมือง พระมหากษัตริย์ไทยจะทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจโดยเด็ดขาดตามพระราชอัธยาศัยในการพระราชทานอภัยโทษ

                      การอภัยโทษในสังคมไทย กับอภัยทาน และอโหสิกรรมตามหลักพระพุทธศาสนานั้น โดยรวมแล้วสิ่งที่มีความสอดคล้อง และมีความชัดเจน เป็นผลออกมาที่เรียกว่า การกระทำ นั้น จะมีตัวเจตนาเป็นตัวกำหนดทั้งสิ้น ไม่ว่าจะในทางพระพุทธศาสนา หรือในทางกฎหมายอาญา โดยก่อนที่บุคคลใดๆ ก็ตามจะแสดงสิ่งใดออกมาเป็นการกระทำนั้น ต้องมีการคิด ไตร่ตรอง การหมายมุ่งใจ การชั่งใจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็คือ เจตนาที่ปรากฏอยู่ภายในที่จะเป็นตัวกำหนดให้แต่ละคนแสดงพฤติกรรมออกมานั้นเอง อภัยทานตามหลักพระพุทธศาสนามีบทบาทที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะนำมาป้องกันและจัดการความขัดแย้งของสังคมไทย เพราะประชาชนโดยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา ซึ่งมีพื้นฐานความรู้ความใจในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว จากการศึกษาวิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง จนความรู้นั้นตกผลึก ผู้วิจัยได้นำมาเสนอเป็นองค์ความรู้ใหม่ในเรื่องอภัยทานกับการจัดการอภัยโทษสังคมไทยปัจจุบัน ซึ่งเป็นการพิสูจน์ ความเป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล (อกาลิโก) ในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ด้วยการแสดงให้เห็นว่า อภัยทานเป็นสิ่งที่ชาวพุทธสามารถปฏิบัติได้จริง เป็นการใช้ปัญญา เพื่อพัฒนาชีวิต พัฒนาจิตใจของเรา สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในยุควัตถุนิยมหรือบริโภคนิยม รวมไปถึงสภาพแวดล้อมทีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในสังคมไทยปัจจุบัน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕