หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางสาวทัศนีย์ เจนวิถีสุข
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๑ ครั้ง
การสื่อสารที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคมที่ปรากฏในพระไตรปิฏก
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวทัศนีย์ เจนวิถีสุข ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๑๐/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร ป.ธ.๗, พธ.บ., ศศ.ม., พธ.ด. (พระพุทธศาสนา)
  .
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๓
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

การศึกษาการสื่อสารที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคมที่ปรากฏในพระไตรปิฏก มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ ศึกษาวิเคราะห์เนื้อหาสาร ลักษณะ รูปแบบ และวิธีการการสื่อสารที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคมที่ปรากฏในพระไตรปิฎกวมทั้งศึกษาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงสังคมที่เกิดจากการสื่อสารที่ปรากฏในพระไตรปิฎก การศึกษามีแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล โดยเน้นการพิจารณาองค์ประกอบของการสื่อสารด้านเนื้อหาสาร และช่องทางการสื่อสาร หรือลักษณะ รูปแบบ วิธีการสื่อสาร ที่สัมพันธ์กับผู้รับสาร วัตถุประสงค์ และบริบทในการสื่อสาร

จากการศึกษาพบว่า การสื่อสารที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคมในสมัยพุทธกาลที่ปรากฏในพระไตรปิฏกนั้น มีจุดเริ่มต้นมาจากพระกรุณาในหมู่สัตว์ของพระพุทธเจ้าทรงตัดสินพระทัยทำการสื่อสาร เพราะการสื่อสารของพระองค์จะเป็นสิ่งที่พาทวนสวนกระแส (กิเลสของมนุษย์) ซึ่งหมายถึงว่าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นทั้งในระดับปัจเจกและระดับสังคม การเปลี่ยนแปลงในระดับปัจเจก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของบุคคลในแง่สถานภาพ เป้าหมายของชีวิต และความคิด ความเชื่อ พฤติกรรม การดำเนินชีวิต ส่วนการเปลี่ยนแปลงในระดับสังคม ได้แก่ สถานภาพของบุคคลในสังคม ความสัมพันธ์กันของบุคคลกับบุคคลอื่น คตินิยมและธรรมเนียมปฏิบัติของสังคม การศึกษา การปกครอง

โดยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเหล่านั้น เป็นผลมาจากการสื่อสารกับกลุ่มผู้รับสารที่เป็นบุคคลสำคัญ (key person) ซึ่งมีผลกระทบต่อความเปลี่ยนแปลง ได้แก่ กลุ่มผู้รับสารที่มีศักยภาพในการบรรลุธรรม กลุ่มผู้นำผู้ปกครอง สาวกคนสำคัญของลัทธิอื่น และกลุ่มผู้ปฏิบัติตามธรรมเนียมปฏิบัติที่แพร่หลายอยู่ในขณะนั้น และการสื่อสารนั้นมีวัตถุประสงค์ในการสื่อสารที่ชัดเจน คือ เพื่อประโยชน์ตามอุดมการณ์ทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ ประโยชน์โลกนี้ ประโยชน์โลกหน้า ประโยชน์อย่างยิ่ง ทั้งที่เป็นประโยชน์เพื่อตน ประโยชน์เพื่อผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองฝ่าย โดยมุ่งเน้นให้ผู้รับสารเกิดปัญญาจนสามารถบรรลุถึงประโยชน์ดังกล่าวได้ และการสื่อสารทั้งมวลนั้นเป็นไปโดยสอดคล้องกับบริบทในด้านสังคมวัฒนธรรม สถานการณ์ที่เป็นอยู่ และระบบการปกครองในขณะนั้น

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕