หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » สุปรียา ธีรสิรานนท์
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๑ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์พัฒนาการการเรียนรู้ในกรอบของไตรสิกขา กับ ทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์
ชื่อผู้วิจัย : สุปรียา ธีรสิรานนท์ ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๑๐/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (นิธิบุณยากร), รศ.ดร. ,น.ธ.เอก,ป.ธ. ๖, พธ.บ.(ปรัชญา), ศศ.ม.(พุทธศาสนศึกษา),พธ.ด.(พระพุทธศาสนา)
  .
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

                       การศึกษาวิจัยเรื่องการศึกษาวิเคราะห์พัฒนาการการเรียนรู้ในกรอบของไตรสิกขา  กับทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ  ศึกษาวิเคราะห์การเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการเรียนรู้ของ        สกินเนอร์   ศึกษาวิเคราะห์การเรียนรู้ในกรอบของไตรสิกขา และศึกษาวิเคราะห์ความเชื่อมโยงพัฒนาการการเรียนรู้ในกรอบของไตรสิกขา กับทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์  ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร ตำราทางวิชาการทางพระพุทธศาสนา และจิตวิทยาตะวันตก

                  ผลการศึกษาวิจัยพบว่า แนวคิดเรื่องการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ของ   สกินเนอร์  พบว่า  ตามแนวคิดของสกินเนอร์การเรียนรู้จะอาศัยประสบการณ์เดิม ผู้สอนจะใช้ประสบการณ์ของตนเป็นข้อมูลเบื้องต้น ในการสร้างพฤติกรรมใหม่ๆ และใช้การเสริมแรงเพื่อเพิ่มหรือลด พฤติกรรมที่พึงประสงค์หรือไม่พึงประสงค์ ดังนั้น การพัฒนาการการเรียนรู้ในกรอบทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์จะเป็นการพัฒนาพฤติกรรม จิตใจ และปัญญา  จึงมีทั้งความเหมือนและแตกต่างจากพัฒนาการการเรียนรู้ในกรอบของไตรสิกขา ซึ่งจะพัฒนาทั้งด้านพฤติกรรม จิตใจ และปัญญาที่เกี่ยวเนื่องกันอย่างเป็นระบบ

                  ความเชื่อมโยงของทั้ง ๒ แนวคิด คือ การเรียนรู้เกิดจากการปฏิสัมพันธ์เชื่อมต่อและมีอิทธิพลถึงกันอย่างเป็นระบบระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม โดยที่มนุษย์รับรู้โลกภายนอกผ่านประสาทสัมผัส  การรับรู้แต่ละอย่างจะมีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง มีปัจจัยภายนอกทั้งปรโตโฆสะและตัวแบบเป็นเริ่มต้นของการเรียนรู้  มีปัจจัยภายในทั้งโยนิโสมนสิการ และปัจจัยการรู้-การคิด เป็นแหล่งประมวลผล เรียนรู้จากปัจจัยภายนอกเข้าสู่ปัจจัยภายใน โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา และประสบการณ์  ทำให้มีการพัฒนาฝึกฝนอบรบตนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งพฤติกรรม จิตใจ และปัญญา สามารถนำผลการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเองและบุคคลในสังคมให้มีศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรม

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕