หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » มนตรี พุฒซ้อน
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๕ ครั้ง
การบริหารงานวิชาการตามหลักอริยสัจ ๔ ระดับโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก (การบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : มนตรี พุฒซ้อน ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ. ดร. อินถา ศิริวรรณ
  ดร. กิตติ กอบัวแก้ว
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๑ มกราคม ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการ ๒) เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติ ที่มีต่อการบริหารงานวิชาการ และ ๓) ศึกษาถึงปัญหา อุปสรรคและแนวทางการบริหารงานวิชาการตามหลักอริยสัจ ๔ ระดับโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็น ผู้บริหาร และครู ในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก จำนวน ๑๒ โรงเรียน ซึ่งรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ซึ่ง ซึ่งได้ค่าความสอดคล้องที่ ๐.๘ - ๑.๐๐ วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการหาค่าความ ถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย     ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  t-test  และ  One-way ANOVA  

ผลการศึกษาวิจัย
๑ การบริหารงานวิชาการตามหลักอริยสัจ ๔ ระดับโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก จากกลุ่มตัวอย่าง ๑๖๘ คน เป็นเพศหญิง ๑๓๑ คน มีอายุระหว่าง  ๓๑ - ๔๐ ปี มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี และมีตำแหน่งเป็นครูผู้สอน มีประสบการณ์ทำงานตั้งแต่ ๕ - ๑๖ ปีขึ้นไป มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการอยู่ในระดับมาก
๒ การวิจัยเปรียบเทียบทัศนคติ ที่มีต่อการบริหารงานวิชาการตามหลักอริยสัจ ๔ ระดับโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก พบว่า มีทัศนคติอยู่ในระดับมาก และไม่แตกต่างกัน ทั้ง ๕ ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ซึ่งในด้านที่มีทัศนคติมากที่สุดได้แก่ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา, ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้, ด้านการวัดผล ประเมินผลการเรียน, ด้านการนิเทศการศึกษา, และด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ตามลำดับ
๓ ปัญหา อุปสรรคและแนวทางการบริหารงานวิชาการตามหลักอริยสัจ ๔ ของบุคลากรทางการศึกษาระดับโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ในด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนส่วนใหญ่ขาดการศึกษาและวิเคราะห์เอกสารหลักสูตรแกนกลาง, ขาดความเข้าใจที่ถูกต้องในการกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมายของโรงเรียน, ขาดการนิเทศการใช้หลักสูตรอย่างต่อเนื่อง, และต้องมีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยเฉพาะด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ครูผู้สอนขาดความรู้ ความเข้าใจในการจัดทำแผนการเรียน, ผู้บริหารขาดความเข้าใจในการใช้สื่อ, สื่อไม่เหมาะสมกับบทเรียนในแต่ละวิชา, ครูไม่ชอบใช้สื่อประกอบ หรือจัดหาสื่อล่วงหน้าเพื่อใช้ในการเรียนการสอน และ ด้านการวัดผลประเมินผลการเรียน  ผู้สอนยังขาดความรู้ความเข้าใจในการประเมินผลผู้เรียน, การกำหนดแนวทางการประเมินไม่ชัดเจน, เครื่องมือที่ใช้ไม่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้, ครูผู้สอนขาดความเข้าใจในการประเมิน และ ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ขาดการวางแผน ผลิต จัดหา และใช้สื่ออย่างเป็นระบบ, ขาดการส่งเสริมให้มีการพัฒนาสื่ออย่างต่อเนื่อง, ขาดความร่วมมือในการผลิต จัดหา และพัฒนาสื่อ, ขาดสื่อที่ทันสมัยในกิจกรรมการเรียนที่ทันสมัย และ ด้านการนิเทศการศึกษา  ความร่วมมือ ประสานงาน ของบุคลากรภายในยังมีน้อย, การให้ความเข้าใจ ความรู้ ในระบบการนิเทศ, และการมอบหมายงานนิเทศที่ชัดเจน, พร้อมกับการส่งเสริมการนิเทศอย่างต่อเนื่อง

ดาวน์โหลด

 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕