หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » จุฬามณี แก้วโพนทอง
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๐ ครั้ง
การปฏิบัติตนตามหลักทศพิธราชธรรมที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลด้านการมีส่วนร่วมของบุคลากรในเขตพื้นที่ รับ ผิดชอบสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ ๖ จังหวัดขอนแก่น สังกัดกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : จุฬามณี แก้วโพนทอง ข้อมูลวันที่ : ๒๓/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ดร.ปัญญา คล้ายเดช
  ผศ.ดร.ชาญชัย ฮวดศรี
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๘ มกราคม ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

  การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาการปฏิบัติตนตามหลักทศพิธราชธรรมของบุคลากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ ๖ จังหวัดขอนแก่น สังกัดกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (๒) เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลด้านการมีส่วนร่วมของบุคลากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ ๖ จังหวัดขอนแก่น สังกัดกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (๓) เพื่อศึกษาการปฏิบัติตนตามหลักทศพิธราชธรรมที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลด้านการมีส่วนร่วมของบุคลากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ ๖ จังหวัดขอนแก่น สังกัดกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ              (๔) เพื่อศึกษาตัวแปรพยากรณ์ปัจจัยสนับสนุนที่มีผลต่อการปฏิบัติตนตามหลักทศพิธราชธรรมกับการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลด้านการมีส่วนร่วมของบุคลากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ ๖ จังหวัดขอนแก่น สังกัดกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ  ( Quantitative Research )  กลุ่มตัวอย่างคือ  ข้าราชการ  ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ และลูกจ้างชั่วคราว จำนวน ๑๓ หน่วยงาน ในจังหวัดขอนแก่น จำนวน ๑๗๐ คน ซึ่งหาได้จากขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์และประมวลผลโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่  ค่าความถี่ ( Frequency ), ค่าร้อยละ ( Percentage ), ค่าเฉลี่ย ( Mean ),  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( Standard Deviation ) และสถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน     ( Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient ) หากพบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จะทำการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า
๑) การปฏิบัติตนตามหลักทศพิธราชธรรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ๔.๑๓    เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่มีค่ามากที่สุดคือ หลักความไม่เบียดเบียน มีค่าเฉลี่ย ๔.๒๑ รองลงมาคือ หลักความอ่อนโยน มีค่าเฉลี่ย ๔.๒๐, หลักความซื่อตรง มีค่าเฉลี่ย ๔.๑๙, หลักความอดทน มีค่าเฉลี่ย ๔.๑๖, หลักความเพียร มีค่าเฉลี่ย ๔.๑๕, หลักความไม่โกรธ มีค่าเฉลี่ย ๔.๐๙, และหลักที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ หลักการให้ทาน  หลักการมีศีล หลักบริจาค และหลักความเที่ยงธรรม  มีค่าเฉลี่ยเท่ากันคือ ๔.๐๓
(๒) การปฏิบัติงานตามหลักธรรมมาภิบาลด้านการมีส่วนร่วมโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = ๓.๙๙) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า บุคลากรมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน กิจกรรม หรือโครงการต่างๆ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๐๖ อยู่ในระดับมาก รองลงมามี ๕ ข้อ ที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากันคือ   เปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดในขั้นตอนการดำเนินงาน, แก้ไขปัญหา, สร้างทัศนะคติที่ดีในการมีส่วนร่วมให้กับบุคลากรทั้งภาครัฐและเอกชน, สร้างความเข้าใจและความจริงใจ, และสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหน่วยงานและบุคคลที่เข้ามาติดต่อมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ๔.๐๒ และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในขั้นตอนการดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๐๑ ตามลำดับ
(๓) การปฏิบัติตนตามหลักทศพิธราชธรรมที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลด้านการมีส่วนร่วม พบว่า มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์โดยรวมอยู่ในระดับสูง (r=๐.๗๑๑) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงบวก อยู่ในระดับสูง มีจำนวน ๕ ด้านได้แก่ หลักการให้ทาน หลักบริจาค หลักความซื่อตรง หลักความไม่เบียดเบียน และหลักความเที่ยงธรรม รองลงมามี ๕ ด้าน ที่อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ หลักการมีศีล หลักความอ่อนโยน    หลักความเพียร หลักความไม่โกรธ หลักความอดทน ที่ระดับนัยสำคัญ .๐๑
(๔) ตัวแปรพยากรณ์ปัจจัยสนับสนุนที่มีผลต่อการปฏิบัติตนตามหลักทศพิธราชธรรมกับการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลด้านการมีส่วนร่วมมี ๓ ด้านได้แก่ หลักการให้ทาน (X2)       หลักความเที่ยงธรรม (X11) และหลักความซื่อตรง (X5) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ เรียงลำดับจากมากสุดที่สุดไปหาน้อยที่สุด โดยนำค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวแปรพยากรณ์มาเขียนสมการได้ดังนี้
๑) สมการในรูปคะแนนดิบ Ý = .195 + .526(X2) + .235(X11) + .165(X5)
๒) สมการในรูปคะแนนมาตรฐาน Z′Y = .500(Z2) + .198(Z11) + .160(Z5)

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕