หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาราเชนทร์ ธมฺมกาโม (ธาตุเงิน)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๐ ครั้ง
การศึกษาเปรียบเทียบความจริงเรื่องจิตในพระพุทธศาสนาเถรวาท กับจิตในปรัชญาตะวันตกสมัยโบราณ (๒๕๓๗)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาราเชนทร์ ธมฺมกาโม (ธาตุเงิน) ข้อมูลวันที่ : ๑๘/๐๖/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหามนตรี ขนฺติสาโร
  พระมหามนตรี ขนฺติสาโร
  พระมหามนตรี ขนฺติสาโร
วันสำเร็จการศึกษา : พ.ศ. ๒๕๓๗
 
บทคัดย่อ

ปรัชญาถือว่าเป็นศาสตร์แรกที่เกิดขึ้นมาในโลกนี้ และกระบวนการหาความรู้ทางปรัชญาก็ถือว่ามีความสมเหตุสมผลและน่าเชื่อถือ      เมื่อปรัชญาเกิดขึ้นมาอย่างเป็นระบบ       ก็ทำหน้าที่สำคัญใหญ่ ๆ  อยู่สองประการคือ  ๑. ค้นหาความเป็นจริงของโลกหรือจักรวาล  ๒. เป็นเข็มทิศที่จะนำให้ท่านนักปรัชญาเข้าถึงความจริงได้ดียิ่งขึ้น ที่กล่าวว่าปรัชญาเป็นเข็มทิศนั้นก็ย่อมมีนักคิดเกิดขึ้นมาตามยุคสมัย มีวิธีการค้นหาความจริง และยืนยันสิ่งที่ถูกคิดค้นพบ โดยแสดงออกมาให้ชาวโลกได้เข้าใจกัน พอสรุปได้เป็น ๒ ฝ่าย คือ
          ๑. นักปรัชญาบางกลุ่มที่เน้นเรื่องวัตถุก็พิสูจน์ว่า วัตถุที่บริสุทธิ์เป็นปฐมธาตุของโลก
          ๒. นักปรัชญาบางกลุ่มที่เน้นเรื่องจิตหรือวิญญาณอันตรงกันข้ามกับวัตถุ ก็พิสูจน์ว่า
วิญญาณเป็นความจริงสูงสุดของโลกและจักรวาล
         การวิจัยนี้ได้นำหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาส่วนที่เป็นความจริงสูงสุด หรือปรมัตถธรรม    โดยเฉพาะเรื่องจิตหรือวิญญาณที่แบ่งออกเป็นอกุศลจิต (จิตที่ชั่ว) กุศลจิต (จิตที่ดี) วิปากจิต (จิตที่เป็นผลของอกุศลจิตและกุศลจิต) และโลกุตรจิต (จิตที่พัฒนาแล้ว) ที่พระพุทธเจ้าได้สอนไว้ที่ปรากฏเป็นหลักฐานในคัมภีร์พระไตรปิฎก นำมาเสนอเป็นตัวหลัก แล้วนำทัศนะเรื่องจิตของนักปรัชญาตะวันตกสมัยโบราณมาเปรียบเทียบ ตามที่มีผู้บันทึกหรือนิพนธ์ไว้ ให้เห็นจุดเริ่มต้นของความคิดเรื่องจิตหรือวิญญาณว่ามีความคล้ายคลึงกันเพียงใด รวมทั้งกระบวนการพัฒนาจิตสู่ความสูงสุดด้วย จะได้เป็นแนวทางในการศึกษาสืบต่อไป
 เมื่อผู้วิจัยได้ศึกษาคำสอนของพระพุทธศาสนา จากพระไตรปิฎกทั้ง ๔๕ เล่ม ไม่ว่าจะเป็นพระวินัยปิฎก พระสุตตันปิฎก หรือพระอภิธรรมปิฎก จะพบว่ามีแต่เรื่องจิตวิญญาณเป็นส่วนมาก ผู้วิจัยคงไม่สามารถนำเอาคำสอนมาเสนอได้หมด เป็นแต่เพียงนำเอาหัวข้อธรรมบางประการที่จะนำมาเสนอได้เท่านั้น ส่วนคำสอนเรื่องจิตของปรัชญาก็เช่นเดียวกัน คงไม่สามารถนำมาวิเคราะห์ทั้งหมดได้ และการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยไม่ได้มีความประสงค์จะเสนอหรือตัดสินว่าหลักคำสอนของใครดีกว่ากัน เป็นเพียงแต่นำข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคัมภีร์มาเสนอเท่านั้น
           ผู้วิจัยมีความเห็นว่าคำสอนเรื่องจิตของทั้งสองฝ่าย ยังคงเป็นดุจเข็มทิศที่จะให้นักศึกษาไปค้นคว้ากันอีกต่อไป เพราะถ้านักศึกษาสามารถนำหลักคำสอนเป็นแนวทางการสืบค้นความจริงหรือความรู้จริงได้ ถือได้ว่าเราเข้าถึงความจริงได้อย่างน้อย ๕๐ เปอร์เซ็นต์แล้ว จึงหวังว่าความจริงเรื่องจิตที่นำเสนอจะนำแสงสว่างให้แก่การศึกษาปรัชญาต่อไป

Download : 253702.pdf
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕