หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาดีรัตน์ อุทยปุตฺโต (สุพรรณ)
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๒ ครั้ง
การศึกษาเปรียบเทียบการบรรลุธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาทกับซาโตริของพุทธศาสนามหายานนิกายเซน
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาดีรัตน์ อุทยปุตฺโต (สุพรรณ) ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๑๒/๒๐๑๖
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสังวราภิรักษ์
  สุรพงษ์ คงสัตย์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

                                                       บทคัดย่อ


    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา ๓ ประการ คือ  ๑) เพื่อศึกษาการบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท  ๒) เพื่อศึกษาการบรรลุซาโตริในพระพุทธศาสนามหายานนิกายเซน  และ ๓) เพื่อเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของการบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาทและพระพุทธศาสนามหายานนิกายเซน  ผลการวิจัยพบว่า      
    นิกายทั้งสองนั้นถึงแม้จะเกิดขึ้นมาเป็นต่างนิกาย แต่ดูเหมือนนิกายทั้งสองจะมีหลายอย่างที่เหมือน คือ มีคัมภีร์หลักอันบรรจุคำสอนอันเป็นหัวใจหลักของนิกายของตน  เถรวาทมีพระไตรปิฎก  เซ็นมีลังกาวตารสูตร มีหลักธรรมและวิธีการในการนำผู้ปฏิบัติให้บรรลุธรรมที่ชัดเจน เถรวาทมีโพธิปัก ขิยธรรม ส่วนนิกายเซ็นมีหลักปฏิบัติเซ็นทั้งสองนิกายเป็นไปในลักษณะเคารพในคำสอนของอาจารย์มีอาจารย์เป็นผู้ค่อยดูแลให้คำแนะนำในการปฏิบัติ ในด้านหลักการปฏิบัติ นิกายเซ็นค่อนข้างจะคล้าย กันกับเถรวาทที่มุ่งเน้นการปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุธรรมในชาติปัจจุบัน ซึ่งถือว่าแตกต่างจากพุทธศาสนามหายานโดยทั่วไปที่เน้นโพธิสัตว์บารมีธรรมเป็นหลัก  
    ด้านการบรรลุธรรม นิกายเซ็นจะเป็นไปในลักษณะบรรลุแบบฉับพลันซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของการบรรลุธรรมแบบเซ็นที่เรียกว่า ซาโตริ แต่เถรวาทเป็นการบรรลุแบบเป็นไปตามลำดับและมีชื่อเรียกตามลำดับขั้น เช่นการบรรลุโสดาบันจนถึงบรรลุพระอรหันต์ ทั้งนี้ถึงจะเห็นเป็นความแตกต่างกัน แต่ยังมีข้อที่เหมือนกันอยู่ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่า  การบรรลุธรรมของทั้งสองนิกายเป็นผลมาจากการสั่งสมภูมิปัญญาจนกระทั่งมากพอที่จะกำจัดอวิชชาได้จนบรรลุธรรมในที่สุด ในข้อนี้ในนิกายเถรวาทผู้ปฏิบัติค่อย ๆ บรรลุธรรมไปตามลำดับ ในขณะบรรลุธรรมนั้นกิเลสถูกกำจัดจากหยาบไปหาละเอียด  ปัญญาค่อย ๆ ถูกสั่งสมขึ้น จนถึงขั้นเต็มเปี่ยมที่เรียกว่าญาณซึ่งเป็นญาณที่สามารถขจัดกิเลสออกจนหมด ญาณนี้เรียกว่าอาสวักขยะญาณ ผู้ปฏิบัติก็สามารถบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์
    ส่วนการบรรลุแบบเซ็น ผู้ปฏิบัติอยู่ในสำนักอาจารย์ฝึกปฏิบัติตามแบบเซ็น ในขณะปฏิบัติ ปัญญาของผู้นั้นจะถูกสั่งสมไปเรื่อยๆเหมือนการเป่าลูกโปร่ง  จนในที่สุดถึงขีดสุดของการสั่งสมปัญญา  ปัญญาที่มีพลังมากจะสามารถทำลายอวิชชาลงได้แต่ในลักษณะของเซ็นนี้จะเป็นไปในลักษณะการโพลงหรือสว่างวาบของความรู้แจ้ง  ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อผู้ปฏิบัติประสพเหตุการณ์บางอย่างเข้ามากระทบ  จนเกิดการรู้แจ้งขึ้นในขณะนั้นซึ่งเรียกว่าการบรรลุซาโตริ ในส่วนภาวะทางปัญญาและภาวะทางจิตของผู้บรรลุธรรมของทั้งสองนิกาย ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่าไม่ต่างกันเพราะจิตของผู้หมดกิเลสย่อมเป็นจิตที่บริสุทธิ์ถึงพร้อมด้วยปัญญา และความกรุณาเห็นใจผู้อื่นเป็นไปพร้อมเพื่อทำประโยชน์แก่สังคมโดยส่วนร่วม

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕