หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระศรัณย์กร ปญฺญาสิขโร (วงค์มณีสัย)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๒ ครั้ง
การศึกษาหลักพุทธธรรมเพื่อป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่นในสังคมไทยปัจจุบัน
ชื่อผู้วิจัย : พระศรัณย์กร ปญฺญาสิขโร (วงค์มณีสัย) ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๑๒/๒๐๑๖
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสังวราภิรักษ์
  เสรี ศรีงาม
  สุรพงษ์ คงสัตย์
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

                    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาการทุจริตคอร์รัปชั่นในพระพุทธศาสนาเถรวาท (๒) เพื่อศึกษาการเกิดคอร์รัปชั่นในสังคมไทยปัจจุบัน และ (๓) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมเพื่อป้องกันปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นในสังคมไทยปัจจุบัน  ผลการวิจัยพบว่า

                    การทุจริตคอร์รัปชั่นที่เกิดขึ้นในพระพุทธศาสนา ลักษณะของการคอร์รัปชั่นเกิดขึ้นในสมัยพุทธกาลนั้นจะเป็นลักษณะของเรื่องราวเกี่ยวกับการทุจริต ๓ ประการ คือ กายทุจริต                 วจีทุจริต และมโนทุจริต  ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับพระวินัย เมื่อมีการกระทำผิดจะต้องมีบทลงโทษปรับอาบัติ และไม่ให้กระทำอีก ประเภทของการคอร์รัปชั่นพระพุทธศาสนาไม่ได้กล่าวถึงโดยตรงเป็นเพียงการละเมิดต่อพระวินัยและการประพฤติผิดจึงวางแนวทาง ให้ประพฤติธรรม เพื่อป้องกันและสามารถที่จะแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นได้โทษของการคอร์รัปชั่น และสำหรับพระภิกษุที่ล่วงละเมิดพระวินัยอันเป็นการกระทำความผิดโดยสงฆ์ ก็จะใช้ระบบการประชุมสงฆ์ ลงโทษแก่พระภิกษุเป็นสำคัญ การลงโทษ หรือการปรับอาบัติพระภิกษุผู้ละเมิด เพราะความประพฤติชั่ว ทางกาย วาจา และใจ ก็เป็นพฤติกรรมที่ไม่บริสุทธิ์ ก่อให้เกิดความชั่ว เป็นเครื่องมัวหมอง                       ซึ่งหากเกิดขึ้นกับบุคคลใด จะเป็นทางแห่งความเสื่อม เป็นกรรมหรือการกระทำที่ไม่ดีนำไปสู่    อบาย วินิบาต นรก  และปัจจัยที่เกื้อหนุนให้เกิดการคอร์รัปชั่น คือ ความไม่มีศีล ความเห็นแก่ตัว ความไม่มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาป

                การทุจริตคอร์รัปชั่นในสังคมไทยปัจจุบัน  ถือเป็นภัยร้ายแรงสำคัญที่ทำลาย                ความมั่นคงของชาติ เพราะหากมีการคอร์รัปชั่นหรือทุจริตในโครงการใดโครงการหนึ่งมูลค่าหลายล้านบาทย่อมส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่โดยภาพรวม และที่สำคัญทำให้การแสวงหาทรัพย์นั้นไม่มีศีลธรรม  มีความเห็นแก่ตัว และไม่มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาป เป็นการกระทำที่ขัดต่อความซื่อสัตย์ คุณธรรมความดี หรือศีลธรรม เป็นการกระทำที่ผิดทำนองคลองธรรม กฎเกณฑ์    หรือ กฎหมายเป็นการกระทำที่ถือว่าไม่บริสุทธิ์ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งล่อใจอย่างอื่น  นอกจากนี้ยังเกิดจากอุปนิสัยไม่ดีของผู้กระทำเอง  เกิดจากความแตกแยกในระเบียบของสังคม  การถือค่านิยมที่ผิด  เป็นต้น

                หลักพุทธธรรมเพื่อใช้ป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่นในสังคมปัจจุบัน คือ (๑) เบญจศีล เบญจธรรม (๒)  หลักสุจริต    (๓) หลักหิริ-โอตตัปปะ (๔) หลักอคติ ๔ (๕) หลักสัมมาอาชีวะ  (๖) หลักสันโดษ  ดังนั้นการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่นด้วยพุทธธรรมจะช่วยในการพัฒนากาย  วาจา และพัฒนาใจ ตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม และได้รับประโยชน์ในโลกนี้และโลกหน้า เมื่อบุคคลไม่ทำการทุจริตคอร์รัปชั่นเมื่อตายไปก็จะไปสู่สุคติ และถ้าประพฤติตรงกันข้ามทำทุจริตคอร์รัปชั่นก็ไปสู่ทุคติภูมิ

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕