หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » เกื้อ ชัยภูมิ
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๐ ครั้ง
รูปแบบการสวดมนต์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : เกื้อ ชัยภูมิ ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีธรรมานุวัตร
  พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑.เพื่อศึกษารูปแบบของการสวดมนต์ ๒.เพื่อศึกษาพัฒนาการของการสวดมนต์ ๓ เพื่อศึกษารูปแบบการสวดมนต์ที่พึงประสงค์ ในทางพระพุทธศาสนาเถรวาท

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสวดมนต์มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้พระอริยสัจธรรมทั้ง ๔ แล้ว พระองค์ได้ทรงตัดสินพระหฤทัยสั่งสอนประชน ทรงแสดงพระปฐมธรรมเทศนาคือธรรมจักกัปวัตตนสูตรและพระสูตรอื่น ๆ จากนั้นทรงนำพระสูตรที่แสดงแล้วมาแสดงอีกเป็นครั้งที่ ๒ นั้นคือลักษณะการสวดมนต์ ต่อมาพระสาวกทั้งหลายได้ประปฏิบัติตามพระพุทธองค์ โดยนำพระสูตรเหล่านั้นไปเผยแผ่ต่อไป นี้คือลักษณะการสวดมนต์ต่อมา

 อันที่จริง พระสูตรทั้งหลาย มิได้เป็นบทสวดมนต์ทั้งหมด มีพระสูตรมากมายไม่ได้เป็นบทสวดมนต์ เพราะไม่มีผู้นำมาสวด การสวดมนต์มิใช่พุทธบัญญัติที่พระสงฆ์จะต้องปฎิบัติประจำแน่นอน การสวดมนต์ เกิดหลังคำว่าเทศนา มาจากคำบาลีว่า อุทเทศ เช่นปาติโมก+อุทเทศ= ปาติโมกขุทเทศ การสวดพระปาติโมกข์ ภาณวาร สัชฌาย ญัตติ สังคีติ พระสงฆ์ใช้คำว่าสวดนำหน้าทั้งสิ้น บทสวดมนต์จะต้องมีคำของพระอานนท์ว่า เอวมฺเม สุตํ (ข้าพเจ้าฟังมาอย่างนี้)ดังนี้รับรอง การสวดมนต์ในที่นี้ กล่าวเฉพาะ๑๒ สูตรที่มีใน ๑๒ ตำนาน เช่น มงคลสูตรเป็นต้นในพระสุตตันตปิฏกเท่านั้น เป้าหมายของการสวดมนต์กระทำเพื่อศึกษาบาลี การเรียนแบบท่องจำ และขอสิริมงคลและโสตถิธรรมและขออานุภาพกำจัดวิบัติภัยคือทุกข์ภัยและโรคและขอความพรั่งพร้อมด้วยสมบัติ ตามคำอาราธนา

พัฒนาการของการสวดมนต์ ได้มีมาอย่างมากตั้งแต่สมัยพุทธกาล เดิมมีขึ้นในลักษณะการศึกษา ต่อมาพัฒนาเพื่อโสตถิธรรม คือสวดขออานุภาพบำบัดภัยเช่นวิบัติภัยในเมืองไพสาลี การ

 

สวดมนต์ต่ออายุเป็นต้น และพัฒนามาเป็นพุทธมนต์ เวทมนต์ และเวชมนต์ เพื่อสิริมงคล เชื่อกันว่าการสวดมนต์มีความขลังและศักดิ์สิทธิ์ที่อำนวยผลให้ได้รับความปลอดภัย ไปสู่สุคติ นำความสุขสงบเพื่อคุ้มครองรักษาให้ปลอดภัยจากอุปัทวภัยให้แก่ผู้สวดมนต์และผู้ฟังการสวดมนต์และใช้ในการรักษาศาสนสมบัติคือศาสนธรรม ศาสนบุคคลเป็นต้น

การสวดมนต์คือการนำพระพุทธพจน์มาเปล่งเสียงสวดด้วยภาษาบาลี แต่เปล่งเสียงตามภาษาของตน ๆ เปล่งเสียงแบบไม่ให้มีอักขระวิบัติ และปัจจุบันจะสวดในงาน ๕ งานคือ ๑ สวดทำวัตรสวดมนต์ เช้า – เย็น(ในพุทธกาลไม่มี) ๒ สวดมนต์งานมงคล ๓ สวดงานอวมงคลอุทิศให้ผู้ล่วงลับไปแล้ว ๔ สวดงานทักษิณานุปทาน(งานทำบุญครบรอบเพื่อระลึกถึงปุพพการี) ๕ งานพิธี

ประโยชน์ของการสวดมนต์ คือการปกป้องคุ้มครอง ต้านทานภัยพิบัติ อำนวยให้เกิดบุญกุศลมากมาย บทสวดมนต์และการสวดมนต์ดังกล่าว เป็นการสวดมนต์ที่พึงประสงค์ในทางพระพุทธศาสนาเถรวาท การสวดมนต์เป็นทั้งเบื้องต้นและผลต่อมาขององค์ธรรมคือศีลสมาธิและปัญญา แม้ว่าการสวดมนต์นั้น จะกระทำในเวลาอันสั้นเช่นเพียงชั่วเวลาช้างกระดิกหูงูแลบลิ้น ก็อำนวยประโยชน์อย่างไพศาล เช่นการฟังการสวดมนต์ในอดีตชาติแล้วได้ประโยชน์โดยการได้อริยธรรมของพระภัทรวัคคีย์ในครั้งพุทธกาล

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕