หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » แม่ชีกิตติยา ป้อมเจริญ
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๗ ครั้ง
ศึกษาเนกขัมมสุขในพระพุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : แม่ชีกิตติยา ป้อมเจริญ ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาทวี มหาปญฺโญ
  เสนาะ ผดุงฉัตร
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาเนกขัมมะในพระพุทธศาสนาเถรวาท (๒) เพื่อศึกษาวิธีปฏิบัติเพื่อให้เกิดเนกขัมมสุขในพระพุทธศาสนาเถรวาทและ (๓) เพื่อประยุกต์ใช้วิธีปฏิบัติเพื่อให้เกิดเนกขัมมสุขในสังคมไทย

จากการวิจัยพบว่า เนกขัมมะสุขในพระพุทธศาสนาเถรวาท คำว่า เนกขัมมะนั้น  หมายถึง การปฏิบัติออกจากกาม ข้อปฏิบัติของผู้ออกจากกาม และการน้อมกาย วาจา และใจ เพื่อฝึกฝนพัฒนาตนเองให้หลุดพ้นจากกิเลสกามและวัตถุกามทั้งหลาย ซึ่งเนกขัมมะในทางพระพุทธศาสนานั้นแบ่งออกเป็น    ช่วงยุคสมัย  คือ(๑) เนกขัมมะในสมัยก่อนพุทธกาล (๒) เนกขัมมะในสมัยพุทธกาลและ (๓) เนกขัมมะในสมัยปัจจุบัน และระดับความสุขในพระพุทธศาสนาแบ่งออกเป็น ๒ ระดับใหญ่ๆ คือ (๑) ความสุขทางโลกิยสุข ได้แก่ กามสุข สุขในรูปฌาน ๔ สุขในอรูปฌาน  ๔ (๒) ความสุขทางโลกุตตรสุข ได้แก่ สัญญาเวทยิตนิโรธ และความสุขในพระนิพพาน

วิธีปฏิบัติเพื่อให้เกิดเนกขัมมสุขในพระพุทธศาสนาเถรวาท  ซึ่งความสุขตามหลักพระพุทธศาสนานั้น หมายถึง สภาวะที่ร่างกายและจิตใจมีความสบายปราศจากความเจ็บปวด มีอาการยินดี พอใจ อิ่มใจ จากทุกข์โทมนัสทั้งหลาย ทั้งทางร่างกายและทางด้านจิตใจ มีข้อปฏิบัติอยู่ ๒ วิธีด้วยกัน คือ วิธีปฏิบัติเพื่อให้เกิดเนกขัมมสุขด้วยสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน อันได้แก่ การรู้จักใช้สมถะข่มจิตข่มใจ เมื่อมีสิ่งที่ยั่วยวนเข้ามากระทบ และใช้วิปัสสนาในการรู้ถึงสภาวะที่เข้ามากระทบนั้น แล้วกำหนดตัดทิ้งไป และวิธีการปฏิบัติเพื่อให้เกิดเนกขัมมสุขด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นทางแห่งความสุขอย่างแท้จริง กล่าวคือ ความมีปัญญาเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ และคิด พูด ทำ มีความพยายาม ตั้งมั่น มุมานะในการหาเลี้ยงชีพด้วยกายสุจริต

ส่วนการประยุกต์ใช้วิธีปฏิบัติเพื่อให้เกิดเนกขัมมสุขในสังคมไทย โดยแบ่งการเกิดขึ้นของเนกขัมมสุขออกเป็น ๒ แนวทางคือ (๑) เนกขัมมสุขทางกาย ได้แก่ เนกขัมมสุขที่เกิดกับตนเอง  เนกขัมมสุขที่เกิดกับครอบครัว และเนกขัมมสุขที่เกิดกับสังคม (๒) เนกขัมมสุขทางใจ เป็นเนกขัมมสุขที่ทำให้มีความสุข ความสงบสุขที่เป็นประโยชน์สูงสุด เมื่อผู้ใดปฏิบัติตามหลักแนวทางพระพุทธศาสนานี้แล้ว ก็จะทำให้เกิดการมีความสุข ความสงบทางใจมากยิ่งขึ้น การเจริญสติปัฏฐาน ทั้งสมถกรรมฐาน  และวิปัสสนากรรมฐาน วิธีปฏิบัติตามแนวทางของอริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นวิธีการนำเอาหลักธรรมที่เป็นหนทางในการประสบผลสำเร็จในชีวิต เพื่อให้เกิดเนกขัมมสุขกับตัวเอง ครอบครัวและสังคม

 ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕