หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ชุมพล ชนะนนท์
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๓ ครั้ง
แนวทางการปฏิบัติตามหลักคำสอนเกี่ยวกับอนิจจลักษณะในพระพุทธศาสนา
ชื่อผู้วิจัย : ชุมพล ชนะนนท์ ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาทวี มหาปญฺโญ
  เสนาะ ผดุงฉัตร
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

งานวิจัยนี้ มีจุดประสงค์  ๑. เพื่อศึกษาชีวิตมนุษย์ในพุทธศาสนา  ๒. เพื่อศึกษาความ เป็นอนิจจลักษณะของชีวิตมนุษย์ในพุทธศาสนา  ๓. เพื่อศึกษาแนวทางการปฏิบัติตามหลักคำสอนเกี่ยวกับอนิจจลักษณะในพุทธศาสนา

 

ผลการวิจัยทำให้ทราบว่า พระพุทธศาสนากล่าวถึงชีวิตมนุษย์ มีองค์ประกอบ ๕ ประการ อาศัยกันเป็นระบบและเป็นกระบวนการ สิ่งที่เรียกว่า สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา จึงเป็นเพียงคำสมมติที่เรียกว่าขันธ์ ๕ ที่มาประชุมกันขึ้น ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อลงเรียกว่า  รูปกับนาม

 

พระพุทธศาสนาได้กล่าวถึงชีวิตมนุษย์มีลักษณะเป็นอนิจจัง กล่าวคือ ขันธ์ ๕ หรือที่   รวมลงเรียกว่ารูปและนามของมนุษย์นี้ มีความไม่เที่ยง ไม่คงที่  มีความเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ตัวอย่าง แรกเกิดเป็นเด็ก แล้วเจริญเติบโตเป็นหนุ่มสาว จากนั้นก็ชราลง ในที่สุดก็ตายไป  เมื่อมนุษย์เห็นตามความเป็นจริงในพระพุทธศาสนาว่า ความเปลี่ยนแปลงเป็นไปตามสภาพเหตุปัจจัย มนุษย์ ต้องเชื่อในเรื่องกรรม ชีวิตมนุษย์เกิดมาแล้วมีขันธ์ ๕ เปลี่ยนไปตลอดเวลา ไม่คงที่ ในที่สุดต้องจาก โลกนี้ไป ดังนั้นมนุษย์สามารถนำหลักคำสอนอนิจจังในพระพุทธศาสนานี้ มาปรับใช้ในการดำรงชีวิต ของตนเอง ของครอบครัว

 

แนวทางปฏิบัติตามหลักคำสอนเกี่ยวกับอนิจจลักษณะในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย      ๑. หลักไตรสิกขา  ขั้นต้นคือการฝึกทางกายโดยมีการปฏิบัติตนและรักษาศีล  ในขั้นกลางคือการฝึกจิตใจโดยการปฏิบัติสมถกัมมัฏฐานเพื่อให้จิตตั้งมั่น  ขั้นสูงมีการฝึกปัญญาโดยปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน  ๒. หลักอริยสัจ ๔  ซึ่งบุคคลต้องทำความรุ้จัก ๔ อย่าง ได้แก่ ๑) ทุกข์ในขันธ์ ๕  ๒)     เหตุของความทุกข์คือตัณหา  ๓) ความดับทุกข์นั่นคือนิพพาน  ๔) ทางพ้นทุกข์โดยปฏิบัติตามมรรค  ๓. หลักอัปปมาทธรรม  เมื่อบุคคลเข้าใจอริยสัจ ๔ เขาจะไม่ทำให้ตนเอง ครอบครัว และสังคมเดือดร้อน โดยการดำเนินชีวิตอย่างมีสติและปราศจากความประมาท เช่น ไม่ข้องเกี่ยวกับอบายมุข   มีความเพียรขจัดกิเลสเสมอ ด้วยการมีสติในการปฏิบัติสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน

 ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕