หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูวินัยธรสุดใจ ปริสุทฺโธ (โฉมอุปฮาด)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๔ ครั้ง
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของคณะสงฆ์อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์(สาขารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูวินัยธรสุดใจ ปริสุทฺโธ (โฉมอุปฮาด) ข้อมูลวันที่ : ๒๒/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูนิวิฐศีลขันธ์
  พระปลัดสมบัติ ฐิติญาโณ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของคณะสงฆ์ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของคณะสงฆ์ ที่มีต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขา อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของคณะสงฆ์ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จากแบบสอบถาม (Questionnaire) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก     (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลภาคสนาม (Field Study) จากพระสังฆาธิการ และคณะสงฆ์ ในอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน ๒๒๕ รูป ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ โดยหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD)

ผลการวิจัยพบว่า

๑. ความคิดเห็นของคณะสงฆ์ต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของคณะสงฆ์ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =๓.๗๓) เมื่อพิจารณารายละเอียดแต่ละด้านพบว่าเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของคณะสงฆ์ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ด้านจิตตสิกขา (สมาธิ) โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ๓.๖๓ เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละข้อพบว่า คณะสงฆ์มีการส่งเสริมด้วยการทำสมาธิ เพื่อการปฏิบัติหน้าที่อยู่เสมอ อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย ๓.๓๘ ส่วนข้ออื่น ๆ อยู่ในระดับมากทุกข้อ

๒. ผลเปรียบเทียบความคิดเห็นของคณะสงฆ์ต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของคณะสงฆ์ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์จำแนกตามสถานภาพ อายุ พรรษา วุฒิการศึกษาทางโลก วุฒิการศึกษาทางธรรม และวุฒิการศึกษาทางเปรียญ ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐาน ส่วนประชาชนที่มีอายุ แตกต่างกัน ยอมรับสมมติฐาน ว่ามีความคิดเห็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของคณะสงฆ์ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

๓. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของคณะสงฆ์ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์พบว่า ด้านศีลสิกขา (ศีล) ควรมีการส่งเสริม วัด และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในรักษาศีล โดยเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขา มีการส่งเสริมให้รักษาศีล ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ต่อผู้อื่น และรู้จักดำรงชีวิตโดยนำหลักศีลธรรม เป็นแนวทางในการประพฤติตนด้านจิตตสิกขา (สมาธิ)ควรมีการส่งเสริมด้วยการทำสมาธิ เพื่อการปฏิบัติหน้าที่อยู่เสมอ มีการแนะนำ สั่งสอนให้ท่านมีอุปสรรคปัญหาท่านมีวิธีแก้ไขโดยการใช้สมาธิ มีสติ ไม่ฟุ้งซ่าน และมีสมาธิ มีความมุ่งมั่นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้บรรลุเป้าหมายอยู่เสมอและ ด้านปัญญาสิกขา (ปัญญา) ควรมีการใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่โดยใช้หลักการคิด พิจารณา เพื่อส่งเสริมความเข้าใจสภาวะแวดล้อมที่มีผลต่อคณะสงฆ์ ใช้ปัญญา วิจารณญาณในการสรรหา เลือกเฟ้นคัดเลือกพระภิกษุ สามเณร และควรมีความสามารถแก้ไขปัญหา และทำการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ได้ด้วยความรอบครอบ

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕