หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสุธรรมพัชรนิวิฐ (ญาณเดช สุตฺตธมฺโม)
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๐ ครั้ง
การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลแนวพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์(สาขารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสุธรรมพัชรนิวิฐ (ญาณเดช สุตฺตธมฺโม) ข้อมูลวันที่ : ๒๒/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูวชิรคุณพิพัฒน์
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิด และทฤษฎีหลัก           ธรรมาภิบาล และหลักธรรมาภิบาลตามแนวพุทธธรรม ขององค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ๒) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาทั่วไปของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลแนวพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อเสนอสภาพปัญหาแนวทางแก้ไขต่อ                 การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลแนวพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จากแบบสอบถาม (Questionnaire) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลภาคสนาม (Field Study) จากประชากรในพื้นที่ตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน ๓๘๘ คน ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ โดยหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-Test) และค่าเอฟ (F-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

 

ผลการวิจัยพบว่า

๑) ความคิดเห็นเกี่ยวกับ การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลแนวพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 4.46) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า หลักการให้ทาน (  = 4.58) หลักความซื่อตรง (  = 4.55) หลักความเที่ยงธรรม (  = 4.5) และหลักความไม่โกรธ (  = 4.51) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้ออื่น ๆ อยู่ในระดับมาก

 

 

๒) เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลแนวพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ พบว่า ประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษา และรายได้ ต่างกัน เพศ อาชีพ ไม่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลแนวพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

๓) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลแนวพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า การบริหารงานควรบริการให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ส่งเสริมด้านการศึกษาให้เพียงพอและทั่วถึง สนับสนุนอุปกรณ์กีฬาประจำหมู่บ้าน สนับสนุนให้สตรีและเด็กมีงานทำหรืออาชีพเสริมหลังฤดูทำนาและหลังเรียน ควรจะพูดจาให้ไพเราะตลอดเวลา ควรจัดระเบียบการดำเนินการให้เป็นระเบียบ และให้คำแนะนำแก่ประชาชนในตำบลให้มากขึ้นเพื่อความสะดวกแก่ทุก ๆ ฝ่าย คลุกคลีกับชาวบ้านและพูดจาอ่อนหวานเป็นแบบพี่แบบน้องไม่ต้องแบ่งชั้นวรรณะกัน ควรเลือกคนที่ทำงานเพื่อชาวบ้านและหมู่บ้านจริง ๆ แบ่งปันต่อประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ควรเข้าไปรับรู้ปัญหาจริง ๆ จากชาวบ้านเสียก่อน แล้วค่อยใช้งบประมาณนั้นให้ตรงตามความเป็นจริง คัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานเพื่อให้งานมีประสิทธิภาพ ปฏิบัติต่อบุคคลทุก ๆ คนอย่างเท่าเทียมกัน ทำงานให้ต่อเนื่อง และควรสานต่องานเพื่อให้เสร็จสิ้นลุร่วงได้อย่างรวดเร็วไม่คั่งค้าง และเลือกคนที่ไม่เห็นแก่พวกพ้อง เห็นแก่ญาติมิตร ไม่เห็นแก่หน้าใคร เข้ามาทำงาน

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕