หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พรทิพย์ ทัพวัฒน์
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๘ ครั้ง
คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพตามนโยบายของรัฐบาลในเขตเทศบาลเมืองชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์(สาขารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พรทิพย์ ทัพวัฒน์ ข้อมูลวันที่ : ๒๒/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  อัครเดช พรหมกัลป์
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพตามนโยบายของรัฐบาลในเขตเทศบาลเมืองชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ๒) เพื่อศึกษาการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพตามนโยบายของรัฐบาลในเขตเทศบาลเมืองชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ของผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพตามนโยบายของรัฐบาลในเขตเทศบาลเมืองชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพในเขตเทศบาลเมืองชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน ๓๑๖ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบสมมติฐาน เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพตามนโยบายของรัฐบาลในเขตเทศบาลเมืองชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล สถิติที่ใช้คือ การทดสอบค่าที (t-test) ในกรณีตัวแปรต้นสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-Test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD.) และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน ๙ คน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า

๑) ระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพตามนโยบายของรัฐบาลในเขตเทศบาลเมืองชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (=3.21) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านสิ่งแวดล้อม (= ๓.๒๘) ด้านความรู้สึกพอใจในการดำรงชีวิต (= ๓.๒๕) ด้านเศรษฐกิจ (= ๓.๒๑) ด้านสังคม (= ๓.๑๕) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านสภาวะจิตใจ (= ๓.๑๔)

๒) การเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพตามนโยบายของรัฐบาลในเขตเทศบาลเมืองชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ผู้สูงอายุที่มี เพศ อายุ สถานสภาพและลักษณะการอยู่อาศัย ที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพตามนโยบายของรัฐบาลในเขตเทศบาลเมืองชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

๓) ปัญหา อุปสรรคของผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพตามนโยบายของรัฐบาลในเขตเทศบาลเมืองชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ผู้สูงอายุมักจะมีปัญหาด้านสุขภาพเสื่อมโทรม มีโรคภัยต่างๆ เบียดเบียน ทั้งโรคทางกาย และทางสมอง มักมีการเปลี่ยนแปลงทางสมองคือ โรคสมองเสื่อม โรคหลงลืม โรคซึมเศร้า จะยึดติดกับความคิด และเหตุผลของตัวเอง การรับรู้สิ่งใหม่ๆ จึงเป็นไปได้ยากความจำก็เสื่อมลง และอาจจะไม่ได้รับการยกย่องจากสังคมเหมือนเดิม  เยาวชนและหนุ่มสาวหลายคน  มีทัศนคติไม่ดีต่อผู้สูงอายุ เห็นคนรุ่นเก่าล้าสมัย พูดไม่รู้เรื่องและไม่มีประโยชน์ จะไม่ได้รับความเอาใจใส่ และความอบอุ่นจากลูกหลานอย่างเพียงพอ ทำให้รู้สึกว้าเหว่ อ้างว้าง และอาจจะมีความวิตกกังวลต่างๆ และความพอเพียงและความเหมาะสมด้านจำนวนเงินเบี้ยยังชีพ ผู้สูงอายุยังรู้สึกว่าไม่เพียงพอ

ข้อเสนอแนะของผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพตามนโยบายของรัฐบาลในเขตเทศบาลเมืองชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ควรจัดตั้งคลินิกสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อดูแล รักษาผูสูงอายุโดยเริ่มที่แผนกผูปวยนอก ซึ่งอาศัยองคความรูดานเวชศาสตรผูสูงอายุ และวิธีการที่จะทำให ผูสูงอายุที่มา    ใชบริการไดรับบริการแบบองครวมและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีการจัดอบรมฝึกอาชีพที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับผู้สูงอายุ และให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น หรือมีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการสังคมที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ มีการส่งเสริมการจัดกิจกรรมนันทนาการ เพื่อสร้างความสุขให้กับผู้สูงอายุ โดยเน้นควรมีการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ เพื่อเป็นการรวมกลุ่มในการทำกิจกรรมตามความสนใจและการจัดกิจกรรมนั้นควรมีการจัดกิจกรรมร่วมกับเยาวชน คนในชุมชน และกลุ่มเครือข่าย เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างผู้สูงอายุ เยาวชน และคนในชุมชน และการเห็นคุณค่าในผู้สูงอายุ ตลอดจนเบี้ยยังชีพมีความสำคัญและจำเป็นกับผู้สูงอายุที่มีความลำบากเป็นอย่างมาก ในการดำรงชีวิต เนื่องจากไม่มีรายได้มาจากแหล่งใด เบี้ยยังชีพที่ได้รับหากมีความเหมาะสมกับค่าใช้จ่ายจริงจะทำให้ผู้สูงอายมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จึงควรต้องมีการปรับเพิ่มเบี้ยยังชีพให้พอเพียงกับสถานการณ์ปัจจุบันจากสภาพทางเศรษฐกิจที่มีค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕