หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระปลัดธวัช สุทฺธจิตฺโต (สืบกลัด)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๔ ครั้ง
ศึกษาการกำหนดรู้ทุกขอริยสัจเพื่อการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในสัจจวิภังคสูตร
ชื่อผู้วิจัย : พระปลัดธวัช สุทฺธจิตฺโต (สืบกลัด) ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๐๘/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(วิปัสนาภาวนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาภูมิชาย อคฺคปญฺโญ (มกรพันธ์)
  เสนาะ ผดุงฉัตร
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕/มีนาคม/๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ เพื่อศึกษาทุกขอริยสัจ เพื่อศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในสัจจวิภังคสูตร เพื่อศึกษาการกำหนดรู้ทุกขอริยสัจเพื่อการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในสัจจวิภังคสูตร โดยศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาทและเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวบรวม สรุป วิเคราะห์ เรียบเรียงบรรยายเชิงพรรณนา ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ จากการศึกษาพบว่า

ทุกขอริยสัจ ได้แก่ ชาติ เป็นทุกข์ ชรา เป็นทุกข์ มรณะ เป็นทุกข์ โสกะ ปริเทวะทุกข์ โทมนัส อุปายาส เป็นทุกข์ การไม่ได้สิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ถ้าไม่มีอุปาทานขันธ์แล้ว ชาติ เป็นต้น ก็มีไม่ได้

การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในสัจจวิภังคสูตร เป็นการฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้แจ้ง ความรู้แจ้งเห็นชัดตามความเป็นจริงของสภาวธรรมทั้งหลาย โดยหลักธรรมในสัจจวิภังคสูตรมีเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ได้แก่ สัจจะ ๔ คือ (๑) ทุกขอริยสัจ (๒) ทุกขสมุทยอริยสัจ (๓) ทุกขนิโรธอริยสัจ (๔) ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ อันเป็นส่วนหนึ่งของวิปัสสนาภูมิ ๖ ย่อแล้ว คือ (รูปกับนาม) ขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ของการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาเพื่อให้บรรลุมรรค ผล นิพพาน อันเป็นจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา

การกำหนดรู้ทุกขอริยสัจเพื่อการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในสัจจวิภังคสูตร คือ การปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน ๔ เมื่อปฏิบัติถูกต้อง จดจ่อ ต่อเนื่อง ย่อมเกิดความรู้ตามที่กำหนดรู้ทุกขอริยสัจที่ปรากฏอยู่กับปัจจุบันธรรมของรูปนาม ทำให้เกิดปัญญารู้ชัดตามความเป็นจริงของ รูปนามโดยความเป็นไตรลักษณ์ ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นจากอาสวกิเลส และดับทุกข์ได้ในที่สุด

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕