หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » วิชิต สงวนไกรพงษ์
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๒ ครั้ง
พัฒนาการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาในพระพุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : วิชิต สงวนไกรพงษ์ ข้อมูลวันที่ : ๑๕/๐๙/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ประยูร แสงใส
  -
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๓/ ธันวาคม /๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

             การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาหลักไตรสิกขาในพระพุทธศาสนาเถรวาท และเพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาที่มีต่อการพัฒนาบุคคล การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาสำรวจเอกสาร โดยใช้วิธีการเชิงพรรณนา มีลักษณะการศึกษาพัฒนาการของหลักไตรสิกขา ผลของการวิจัยมีข้อค้นพบดังนี้

             หลักไตรสิกขาในพระพุทธศาสนาเถรวาท จากการวิจัยพบว่า พระพุทธเจ้าได้ตรัสหลักไตรสิกขาไว้ใน วัชชีปุตตยสูตร ทุติยสิกขัตตยสูตร และตติยสิกขาสูตร ไตรสิกขามีความหมายว่า การฝึกอบรมด้าน ความประพฤติ จิต และปัญญา ไตรสิกขาสามารถจัดประเภทได้ ตามหลักไตรสิกขา ตามมรรคมีองค์แปด และตามธรรมขันธ์สาม  ความสำคัญของหลักไตรสิกขาคือเป็ที่หลอมรวมสิกขาบทในปาฏิโมกข์ เป็นสิกขาบทเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ มีอิทธิพลสำคัญทางคัมภีร์พระพุทธศาสนา สาระ สำ คัญของหลักไตรสิกขามี ๓ อย่างคือ สีล สมาธิ และปัญญา

             กระบวนการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาที่มีต่อการพัฒนาบุคคล มี ๒ หลักธรรม คือ ๑) หลักไตรสิกขา  ๒) หลักอริยมรรคมีองค์ ๘  

             การนำกระบวนการเรียนรู้ในพระพุทธศาสนาไปพัฒนาบุคคลนั้นต้องสร้างศรัทธาและปัญญาให้เกิดขึ้นในตัวบุคคลนั้นๆ ก่อนคือ การสร้างสัมมาทิฏฐิให้เกิดขึ้นนั้นเอง เมื่อเกิดสัมมาทิฏฐิแล้วจึงนำหลักธรรมต่างๆ เข้าสู่กระบวนการพัฒนาตามความเหมาะสม เมื่อสิ้นสุดกระบวนการพัฒนาแล้วจะต้องทำการประเมินผลใน ๔ ด้าน คือ ด้านกาย ศีล จิต และปัญญา มีเป้าหมายสุดท้ายคือ คุณภาพ

             ชีวิตที่มีคุณค่าต่อตนเอง ต่อสังคม และประเทศชาติ นั้นคือ ชีวิตที่พัฒนาแล้วประกอบด้วย ศีล สมาธิ  ปัญญาอย่างแท้จริง

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕