หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » กิตติ ศรีสมบัติ
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๖ ครั้ง
การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมในการบริหารงานของเทศบาลกตำบลสันผักหวานกอำเภอหางดงกจังหวัดเชียงใหม่ (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : กิตติ ศรีสมบัติ ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๐๙/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  นิกร ยาอินตา
  เสน่ห์ ใจสิทธิ์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

กกกกกกกกการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ๑)ศึกษาความคิดเห็นของประชาชน         ที่มีต่อการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมในการบริหารงานของเทศบาลตำบลสันผักหวาน      อำเภอหางดงจังหวัดเชียงใหม่๒)เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการประยุกต์          ใช้หลักอปริหานิยธรรมในการบริหารงานของเทศบาลตำบลสันผักหวานอำเภอหางดงจังหวัดเชียงใหม่๓)ศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ปัญหาของประชาชนที่มีต่อการประยุกต์ใช้      หลักอปริหานิยธรรมในการบริหารงานของเทศบาลตำบลสันผักหวานอำเภอหางดงจังหวัดเชียงใหม่      ๔)เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมในการบริหารงานของเทศบาลตำบล      สันผักหวานอำเภอหางดงจังหวัดเชียงใหม่เป็นการวิจัยแบบผสม(MixedMethodsResearch) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ(QuantitativeResearch)ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ(SurveyResearch) และการวิจัยเชิงคุณภาพ(QualitativeResearch)โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก(In-depthInterview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ(KeyInformants)กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือประชาชนที่อาศัย        อยู่ในเขตเทศบาลตำบลสันผักหวานจำนวนหมู่บ้านที่มีอายุ๑๘ปีขึ้นไปใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามลำดับชั้นอย่างเป็นสัดส่วนโดยการใช้สูตรของเครจซี่และมอร์แกนกกที่ระดับความเชื่อมั่น๙๕%  ระดับความคลาดเคลื่อน%จำนวน ๑๒,๗๘๕ คนได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน๓๗๕คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่(Frequency)และค่าร้อยละ(Percentage)ค่าเฉลี่ย(Mean)และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(StandardDeviation)การทดสอบค่าที(t-test)ในกรณีตัวแปรต้นสองกลุ่มและการทดสอบค่าเอฟ(F-test)ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (OnewayANOVA)   และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท พร้อมวิเคราะห์โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน

 

 

 

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า:

กกกกกกกก๑)ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมในบริหารงานของเทศบาลตำบลสันผักหวานในภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยเฉลี่ย(=๓.๘๕)เมื่อพิจารณา         ในแต่ละด้านสามารถเรียงลำดับได้ดังนี้ด้านการให้เกียรติคุ้มครองสิทธิสตรีและเด็กโดยเฉลี่ย       (=๔.๓๕)รองลงมาคือด้านอนุรักษ์โบราณสถานและส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามโดยเฉลี่ย            (=๔.๑๑)ด้านการประชุมกันเป็นนิตย์โดยเฉลี่ย(=๓.๗๘)ด้านการเคารพนับถือเชื่อฟังผู้ใหญ่      หรือผู้บังคับบัญชาโดยเฉลี่ย(=๓.๗๐)ด้านการประชุมหรือเลิกประชุมอย่างพร้อมเพรียงกัน      และด้านการส่งเสริมปกป้องอันชอบธรรมต่อพระพุทธศาสนามีค่าเท่ากันโดยเฉลี่ย(=๓.๖๘)     และด้านการไม่บัญญัติหรือไม่ล้มเลิกข้อบัญญัติตามใจชอบโดยเฉลี่ย(=๓.๖๖)

กกกกกกกก๒)ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า ประชาชนที่มีเพศและรายได้มีความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมในการบริหารงานของเทศบาลตำบลสันผักหวานไม่แตกต่างกันจึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ส่วนประชาชนที่มีอายุ, ระดับการศึกษาและอาชีพมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.๐๕        จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

กกกกกกกก๓)แนวทางการนำหลักอปริหานิยธรรมไปประยุกต์ใช้การบริหารงานของเทศบาลพบว่า การเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนในชุมชุนเข้าไปมีส่วนร่วมทำให้การทำงานเป็นไปอย่างมีระบบสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมตามวัตถุประสงค์ซึ่งต้องมีการวางแผนการจัดองค์กรการบริหารบุคคลการสั่งการการประสานงานการตรวจสอบและการประเมินผลโดยคำนึงถึงผลประโยชน์    ของส่วนรวมและประชาชนเป็นที่ตั้งเพื่อความร่มเย็นเป็นสุขอย่างยั่งยืน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕