หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ดนุชัช กองแก้ว
 
เข้าชม : ๒๐๐๕๒ ครั้ง
การปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมของกำลังพลกองพลพัฒนาที่ ๓ ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก(รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : ดนุชัช กองแก้ว ข้อมูลวันที่ : ๒๒/๐๑/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สุรพล สุยะพรหม
  -
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรม
ของกำลังพลกองพลพัฒนาที่ ๓ ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ๒) เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติงานของของกำลังพลกองพลพัฒนาที่ ๓ ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปญหา อุปสรรค และขอเสนอแนะการปฏิบัติงานของกำลังพลกองพลพัฒนาที่ ๓ ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ตามหลักอิทธิบาทธรรม และ ๔) เพื่อศึกษาแนวทางการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรม ของกำลังพลกองพลพัฒนาที่ ๓ ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

ดำเนินการวิจัยโดยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในกานวิจัยคือ กำลังพลกองพลพัฒนาที่ ๓ ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ในพื้นที่ค่ายสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กองบัญชาการกองพลพัฒนาที่ ๓ ซึ่งมีจำนวน ๑๔๑ นาย
จากจำนวนประชากร ๒๑๘ นาย โดยการคำนวณจากสูตรทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane)เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๘๘๔ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean)  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าเอฟ
(F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD) และนำเสนอเป็นความเรียงประกอบตาราง โดยการแจกแจงความถี่ของผู้ตอบคำถามปลายเปิด และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ  (Key Informants) จำนวน ๗ ท่าน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า

๑) ระดับการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรม ของกำลังพลกองพลพัฒนาที่ ๓
ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (
= ๓.๗๒) พิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านฉันทะ (= ๓.๘๖) ด้านวิมังสา
(= ๓.๗๗) ด้านจิตตะ (= ๓.๖๔) และด้านวิริยะ (= ๓.๕๑)

 

๒) การเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรม ของกำลังพลกองพลพัฒนาที่ ๓ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า กำลังพลกองพลพัฒนาที่ ๓ ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ระดับชั้นยศ และรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรม ของบุคลากรกองพลพัฒนาที่ ๓ ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกโดยภาพรวมไม่แตกต่างกันจึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย

๓) ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรม ของกำลังพลกองพลพัฒนาที่ ๓ ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกพบว่าปัญหาและอุปสรรค คือ กำลังพลยังขาดแรงจูงใจในการทำงานเนื่องจากภาวะค่าครองชีพทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นแต่มีรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย วัสดุอุปกรณ์บางอย่างในการทำงานขาดแคลนและมีสภาพที่ไม่พร้อมใช้งานของหน่วย กำลังพลขาดความมานะพยายามในการทำงานที่ตนเองไม่เคยปฏิบัติ ระเบียบวินัยของทหารทำให้เกิดความเบื่อหน่ายของกำลังพลในการปฏิบัติงาน ไม่เอาใจใส่ในด้านความละเอียดรอบคอบต่องานที่ตนเองรับผิดชอบ  ก่อให้เกิดความผิดพลาดทางด้านเอกสารบ่อยครั้ง ไม่สนใจในงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับสายงานของตนเนื่องจากไม่ใช่หน้าที่ความรับผิดชอบของตน ยังขาดความคิดริเริ่มในการปฏิบัติงานเนื่องจากระบบงานของข้าราชการทหารคือปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาเท่านั้น
การปฏิบัติงานยังเป็นเชิงรับคำสั่งเพียงด้านเดียว ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้มีอำนาจการตัดสินใจเพียงผู้เดียว

ข้อเสนอแนะ พบว่าหน่วยงานควรจัดหางานเสริมให้กับกำลังพลเพื่อเพิ่มรายได้ให้มากขึ้นเพียงพอต่อการใช้จ่ายในปัจจุบันผู้บังคับบัญชาควรจัดหาวัสดุอุปกรณ์ให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงานของกำลังพล  ผู้บังคับบัญชาควรสร้างแรงจูงใจและสนับสนุนกำลังพลที่ตั้งใจปฏิบัติงาน
ทำความเข้าใจเรื่องระเบียบวินัยแก่กำลังพลให้ทุกนายรู้สึกถึงการได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานของหน่วย  ควรจัดอบรมระเบียบงานสารบรรณและจัดอบรมการปฏิบัติงานในสำนักงานเพื่อให้กำลังพลมีความรู้มากขึ้นผู้บังคับบัญชาควรชี้แจงปรับทัศนะแนวคิดของกำลังพลให้สามารถปฏิบัติงานทดแทนกันได้เพื่อให้งานดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ผู้บังคับบัญชาควรเปิดโอกาสให้กำลังพลได้แสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ผู้บังคับบัญชาควรเปิดโอกาสให้กำลังพลได้เสนอแนวคิดที่เป็นประโยชน์ในการทำงานว่ามีเหตุผลในการปฏิบัติตามมากน้อยเพียงใด

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕