หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาสมยศ ถามเชฏฺโธ (ปรือปรัก)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๑ ครั้ง
การมีส่วนร่วมในการบริหารโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ของคณะกรรมการจังหวัดระยอง (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาสมยศ ถามเชฏฺโธ (ปรือปรัก) ข้อมูลวันที่ : ๐๑/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  บุษกร วัฒนบุตร
  ธิติวุฒิ หมั่นมี
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                   การวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ จังหวัดระยอง ๒) เพื่อเปรียบเทียบทัศนะของคณะกรรมการโครงการ                หมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ จังหวัดระยอง             โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ การมีส่วนร่วม           ของคณะกรรมการโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ จังหวัดระยอง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Research Method) โดยใช้ระบบวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ที่เก็บข้อมูล                 โดยการใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)         ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In–depth Interview) ศึกษาวิจัย              โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่                   คณะกรรมการบริหารโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ จังหวัดระยอง ประกอบด้วย เจ้าอาวาส             ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ กำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชน จำนวน ๒๙๐ รูป/คน  ซึ่งใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือ           ที่ใช้เป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและมาตราส่วนประเมินค่า ๕ ระดับ              และแบบสอบถามปลายเปิด ซึ่งผู้ศึกษาสร้างขึ้นเองโดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๓๑          การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย                 ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นโดยใช้ค่า (T-test) และ (F-test)         เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว    (One Way ANOVA) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป            และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด LSD (Least Significant Difference) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

ผลการวิจัยพบว่า

              ๑. ความคิดเห็นที่มีต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕             ของคณะกรรมการจังหวัดระยอง โดยรวม พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง (  = ๓.๑๗, S.D. = ๐.๖๕)             เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ความคิดเห็นที่มีต่อการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน          โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยดังนี้ ด้านการดำเนินการและการปฏิบัติการ (  = ๓.๓๓,           S.D. = ๐.๗๒) ด้านการรับและแบ่งปันผลประโยชน์ (  = ๓.๒๑, S.D. = ๐.๗๙) ด้านการเสนอความคิดเห็น การวางแผนและการตัดสินใจ ( = ๓.๑๑, S.D. = ๐.๗๙) ด้านการติดตามและประเมินผล
(
 = ๓.๐๑, S.D. = ๐.๘๔) ตามลำดับ

              ๒. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ของคณะกรรมการจังหวัดระยอง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า                   ด้านเพศ ด้านอาชีพ และรายได้ ที่ต่างกันมีผลทำให้ความคิดเห็นของคณะกรรมการบริหารโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ จังหวัดระยอง ไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ ๐.๖๔๐, ๐.๑๘๙             และ ๐.๗๙๐ ตามลำดับ ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนด้านอายุ และระดับการศึกษา ที่ต่างกัน           มีผลทำให้ความคิดเห็น ของคณะกรรมการบริหารโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ จังหวัดระยอง แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ ๐.๐๑๒ และ ๐.๐๐๑ ตามลำดับซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

              ๓. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะที่มีต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ของคณะกรรมการจังหวัดระยอง ได้แก่ ด้านการเสนอความคิด การวางแผน          และการตัดสินใจ พบว่า คณะกรรมการขาดการมีส่วนร่วม เพราะไม่มีเวลา และขาดการประชาสัมพันธ์ ด้านการดำเนินการและการปฏิบัติการ พบว่า ขาดความเข้าใจในการมีส่วนร่วม และในรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินงานกิจกรรมหรือโครงการฯ  ด้านการรับและแบ่งปันผลประโยชน์ พบว่า            ขาดงบประมาณ ขาดความร่วมแรงร่วมใจ ขาดจิตสำนึกการรักท้องถิ่น และในด้านการติดตาม           และประเมินผล พบว่า ขาดความรู้ความเข้าใจในการติดตามประเมินผล และไม่ต่อเนื่อง               แนวทางการพัฒนา การมีส่วนร่วมคือ การเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วน เข้ามามีส่วนร่วม                         ในการดำเนินการ ก่อนที่จะทำโครงการ/กิจกรรมต่างๆ จะต้องมีการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ให้ประชาชนได้รับทราบ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการดำเนินงานและเผยแพร่ข่าวสาร

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕