หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาเกษม หาสจิตฺโต (พยุง)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๗ ครั้ง
อิทธิพลพระพุทธศาสนาเถรวาทต่อศิลปวัฒนธรรม สมัยสุโขทัย (๒๕๓๗)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาเกษม หาสจิตฺโต (พยุง) ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๐๘/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูปลัดสุวัฒนพรหมคุณ
  ร.ท.บรรจบ บรรณรุจิ
  อาจารย์อภัย นาคคง และ Honc Cert Artcrafts Training(Japan) and Cert Folk Art Study(UP)
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๕ เมษายน ๒๕๓๙
 
บทคัดย่อ

         งานศึกษาวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาวิเคราะห์ อิทธิพลของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทที่มีต่อศิลปวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย โดยการศึกษาจากแนวทางในการปกครอง ศิลปกรรม และวัฒนธรรมที่ปรากฏอยู่ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์

          ผลจากการศึกษาสรุปได้ว่า พระพุทธศาสนาในสมัยสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างสูงสุด เนื่องจากพระมหากษัตริย์ในช่วงเวลานั้น ทรงมีความห่วงใยเอาใจใส่ดูแลราษฎร และทรงปกครองประชาชนด้วยระบบการปกครองที่ให้ความใกล้ชิดสนิทสนมกับราษฎร และทรงนำเอาหลักในการปกครองที่มีอยู่ในหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนามาปกครองมวลประชาราษฎร์ให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข

          นอกจากนี้ตลอดระยะเวลาเกือบ ๒๐๐ ปีของอาณาจักรสุโขทัยนั้น ยังได้ปรากฏศิลปกรรม และขนบประเพณีที่เป็นเครื่องยืนยันถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ดังจะพบเห็นโบราณสถานโบราณวัตถุต่าง ๆ รวมทั้งขนบประเพณีที่ดีงามทางพระพุทธศาสนา ตัวอย่างเช่น การประพฤติตามหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีการรักษาศีล การฟังธรรม การเจริญภาวนา และการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาโดยการสร้างวัด และประพฤติปฏิบัติในขนบประเพณีอันดีงาม

          ผลสืบเนื่องที่ได้ทราบจากการศึกษาครั้งนี้ก็คือ อิทธิพลพระพุทธศาสนาเถรวาทต่อการเมืองการปกครอง ศิลปกรรม และขนบประเพณีที่สืบทอดมาจนเป็นพื้นฐานของวิถีชีวิตในปัจจุบัน  ซึ่งจะเห็นได้ว่า การปกครองบ้านเมืองตามระบอบประชาธิปไตยนั้นมีพัฒนาการมาจากระบบการปกครองแบบพ่อปกครองลูก  และนอกจากนี้แล้วบรรดาพุทธศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้นมาในปัจจุบันนี้ ก็มีรูปแบบที่อาศัยเค้าโครงของศิลปะสมัยสุโขทัย  และขนบประเพณีอันดีงามก็ยังจะพบเห็นได้ในบางสิ่งบางอย่าง  แม้ถ้าว่าสามารถจะเรียกให้ยุคสมัยของสุโขทัยกลับคืนมาได้แล้ว น่าจะเป็นวิถีชีวิตที่สงบสุขนิรันดร์
 

Download : 253902.pdf
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕