หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ณัชพน กัญญภัคชัญปภัช
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๔ ครั้ง
การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสถานีตำรวจภูธรเมืองลำพูน (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : ณัชพน กัญญภัคชัญปภัช ข้อมูลวันที่ : ๐๒/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสิริสุตานุยุต
  วิชญ์พล ผลมาก
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๒ มีนาคม 2558
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสถานีตำรวจภูธรเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของเจ้าพนักงานตำรวจต่อการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงานสถานีตำรวจภูธรเมืองลำพูน 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของเจ้าพนักงานตำรวจต่อการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงานสถานีตำรวจภูธรเมืองลำพูน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงานสถานีตำรวจภูธรเมืองลำพูน 4) เพื่อศึกษาแนวทางการนำหลัก     ธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงานสถานีตำรวจภูธรเมืองลำพูนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งครอบคลุมหลักธรรมาภิบาล 6 ด้าน ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความรับผิดชอบ หลักการมีส่วนร่วม และหลักความคุ้มค่า ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method Research) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองลำพูน กำหนดกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีโควตา (Quota) โดยเปรียบเทียบจำนวนประชากรกับตารางมาตรฐานว่าด้วยขนาดประชากรและขนาดตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% จำนวนตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 152 ตัวอย่าง

ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นต่อการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงานสถานีตำรวจภูธรเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ( = 3.72)                เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านหลักนิติธรรมมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือหลักความรับผิดชอบ หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความคุ้มค่า หลักการมีส่วนร่วม ตามลำดับ

ผลการทดสอบสมมติฐาน การเปรียบเทียบการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสถานีตำรวจภูธรเมืองลำพูน โดยการวิเคราะห์ความแตกต่างตามการจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ตำแหน่ง เพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ พบว่า เจ้าพนักงานตำรวจที่มีตำแหน่งงาน เพศ อายุ และรายได้ต่างกัน มีระดับการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงานไม่แตกต่างกัน              ส่วน เจ้าพนักงานตำรวจที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีระดับการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงานสถานีตำรวจภูธรเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน จากคำถามปลายเปิดและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิพบปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายและระเบียบข้อบังคับต่างๆ หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกบุคลากร ความโปร่งใสในการใช้งบประมาณ การมีส่วนร่วมของผู้ใต้บังคับบัญชา ความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณ โดยมีแนวทางในการแก้ไขคือ ควรยึดถือหลักตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับโดยให้มีการอบรมเพิ่มเติมความรู้ด้านกฎหมายและปรับทัศนคติของผู้บังคับใช้กฎหมาย ควรมีการประเมินผลงานให้เป็นรูปธรรมทุกด้าน ผู้บังคับบัญชาควรประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ควรมีการชี้แจงการใช้งบประมาณของหน่วยงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทราบ ควรเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการรับทราบปัญหา ควรส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ปรับอัตรากำลังพลให้เหมาะสมในแต่ละหน่วยงาน และใช้กำลังพลที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕