หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » วัชพร ทุมมานนท์
 
เข้าชม : ๒๐๐๓๕ ครั้ง
การประยุกต์หลักพุทธสันติวิธีในการพยากรณ์ของนักโหราศาสตร์ไทย(สันติศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : วัชพร ทุมมานนท์ ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาหรรษา
  พูนสุข มาศรังสรรค์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

วิทยานิพนธ์ในรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) นี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (เพื่อศึกษาแนวทางการพยากรณ์ของนักโหราศาสตร์ไทย (เพื่อศึกษาหลักวาจาสุภาษิตในพระพุทธศาสนาเถรวาท และ () เพื่อประยุกต์ใช้หลักวาจาสุภาษิตในการพยากรณ์ของนักโหราศาสตร์ไทย 

ผลการวิจัยพบว่า  

 

๑. การพยากรณ์ คือ  การทำนายอิทธิพลการเคลื่อนที่ของดวงดาว ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ที่มีผลต่อโชคชะตาของมนุษย์ การพยากรณ์มุ่งอธิบายชาตาบุคคล บ้านเมือง การแพทย์  ธรรมชาติ การคลัง  การให้ฤกษ์  โดยหลักใหญ่จะพยากรณ์เกี่ยวกับวาสนา ชีวิต คู่ครอง  และอาชีพ เป็นต้น ลักษณะการพยากรณ์ คือ การอุปมา (Analogy) และ การอนุมาน (Reference) วิธีการพยากรณ์ ได้แก่ ต้อนรับด้วยไมตรีจิต รักษาความลับ มีมารยาท ไม่ใช้คำหยาบคาย มีความละเอียดรอบคอบ  ไม่มีอคติ หรือซ้ำเติมความล้มเหลว ไม่โอ้อวด 

๒. วาจาสุภาษิต คือ ถ้อยคำหรือข้อความที่แฝงคติสอนใจ  ฟังแล้วสบายใจ  แฝงคติ เป็นถ้อยคำนำออกจากทุกข์  มีองค์ประกอบ ๕ อย่างคือ  คือ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูด
เพ้อเจ้อ  โดยหลักการ คือ คำพูดที่ถูกกาลเทศะ คำพูดที่เป็นความจริง คำพูดที่สุภาพ อ่อนหวาน คำพูดที่มีประโยชน์ และคำพูดประกอบด้วยเมตตา ทั้งวิธีการใช้วาจาสุภาษิตอาจใช้ในลักษณะแบบ สนทนา บรรยาย  วางกฎข้อบังคับ และตอบปัญหา  วาจาสุภาษิตเป็นเครื่องสร้างประโยชน์สุข  ยังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม  

๓. เมื่อนำหลักวาจาสุภาษิตมาประยุกต์ใช้ในการพยากรณ์ของนักโหราศาสตร์ พบว่า
๑) การพยากรณ์ที่สอดคล้องกับกาลเทศะ คือ  การพยากรณ์มุ่งเน้นความเหมาะสมต่อเหตุการณ์ บุคคล เวลาและสถานที่ ๒) การพยากรณ์บนพื้นฐานของความจริง คือ ความจริงตามทฤษฎีตำราคัมภีร์ที่เรียนมาและสอดคล้องกับเรื่องกรรม หลักเหตุผล ๓) การพยากรณ์ด้วยวาจาไพเราะอ่อนหวาน คือ พยากรณ์ด้วยภาษาที่สุภาพ ไพเราะ ไม่หยาบคาย ไม่พูดให้เสียกำลังใจ  แนะนำให้ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา  
๔) การพยากรณ์เพื่อการเสริมสร้างประโยชน์สุข คือ พูดรักษาผลประโยชน์ผู้มารับบริการ เตรียมความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจในการรับมือกับเหตุการณ์ในอนาคต และ  ๔) การพยากรณ์ประกอบด้วยเมตตา คือ พูดด้วยปรารถนาให้ผู้ฟังพ้นจากความทุกข์ มีความสุข และสำเร็จในสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์   

โดยสรุป เมื่อนักพยากรณ์ได้ยึดหลักวาจาสุภาษิตในการพยากรณ์จะช่วยเสริมสร้างสังคมให้เกิดสันติสุข และทำให้บทบาทหน้าที่ของนักพยากรณ์มีความน่าเชื่อถือ เป็นที่พึ่งของสังคมได้

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕