หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ณัฐชุดา มูลคง
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๔ ครั้ง
ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรตามหลักพุทธธรรม กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง (ชีวิตและความตาย)
ชื่อผู้วิจัย : ณัฐชุดา มูลคง ข้อมูลวันที่ : ๑๒/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสังฆรักษ์เอกภัทร อภิฉนฺโท
  เริงชัย หมื่นชนะ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2558
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานตามหลักพุทธธรรมของบุคลากรกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ๒) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรตามหลักพุทธธรรมกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรและหลักพุทธธรรมกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative  Research ) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรหน่วยงานกลางของกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง จำนวน ๒๙๗ คน ดำเนินสุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูป ของ Krejcie & Morgan เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถาม(Questionnaire) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบียนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที (t-test) และทดสอบค่าเอฟ (F-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และ ค่าสหสัมพันธ์ (Pearson’s Product Moment Correlations)

ผลการวิจัยพบว่า

              ๑. กลุ่มตัวอย่าง มีข้อมูลทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง  มีอายุ ๓๑ ๔๐ ปี มีสถานภาพโสด มีระดับการศึกษา ปริญญาตรี มีรายได้ต่อเดือนอยู่ระหว่าง ๑๐,๐๐๑ - ๒๐,๐๐๐ บาท มีประสบการณ์ทำงาน ต่ำกว่า ๕ ปี  มีบุคลาการประเภท ข้าราชการ เป็นส่วนใหญ่

              ๒. ระดับปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงาน โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก  เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า มีระดับความสุขในการทำงานในระดับมาก ได้แก่ ด้านการติดต่อสัมพันธ์  ด้านความรักในงาน  และด้านความสำเร็จในงาน  มีระดับความสุขในการทำงานในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านการเป็นที่ยอมรับ

              ๓. ระดับความสุขในการทำงานตามหลักอิทธิบาท ๔  โดยภาพรวมค่าเฉลี่ยในระดับ มาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า มีระดับความสุขในการทำงานในระดับมาก ได้แก่ ด้านวิริยะ ด้านจิตตะ ด้านวิมังสา มีค่าเฉลี่ยในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านฉันทะ

    ๔. ผลการเปรียบเทียบระดับความสุขในการทำงานตามหลักอิทธิบาท ๔ บุคลากรกลุ่มตัวอย่างมีปัจจัยส่วนบุคคลมี เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ประสบการณ์ทำงานประเภทบุคลากรแตกต่างกัน  มีระดับความสุขในการทำงานตามหลักอิทธิบาท ๔ ไม่แตกต่างกัน  ด้านฉันทะ บุคลากรกลุ่มตัวอย่าง มีสถานภาพ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน  มีระดับความสุขในการทำงานตามหลักอิทธิบาท ๔ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ ด้านวิริยะ             มีอายุ รายได้ต่อเดือน ประสบการณ์ทำงาน และประเภทบุคลากรแตกต่างกัน  มีระดับความสุขในการทำงานตามหลักอิทธิบาท ๔ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ บุคลากรกลุ่มตัวอย่าง มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน  มีระดับความสุขในการทำงานตามหลักอิทธิบาท ๔ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕  ด้านจิตตะ บุคลากรกลุ่มตัวอย่าง มีอายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ประสบการณ์ทำงาน และประเภทบุคลากรแตกต่างกัน  มีระดับความสุขในการทำงานตามหลักอิทธิบาท ๔  แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑  ด้านวิมังสา บุคลากรกลุ่มตัวอย่าง มีอายุ รายได้ต่อเดือน ประสบการณ์ทำงาน และประเภทบุคลากรแตกต่างกัน  มีระดับความสุขในการทำงานตามหลักอิทธิบาท ๔ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑  บุคลากรกลุ่มตัวอย่าง มีสถานภาพ และระดับการศึกษาแตกต่างกัน  มีระดับความสุขในการทำงานตามหลักอิทธิบาท ๔ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

               ๕. ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานและความสุขในการทำงานและหลักอิทธิบาท ๔ ของบุคคลกรโดยรวมและแต่ละด้าน ทุกคู่ มีความสัมพันธ์เชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕