หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระชวนชัย สุทฺธปญฺโญ (เพชรไพรสันติ)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๘ ครั้ง
วิเคราะห์แนวคิดทางจริยศาสตร์ของเหลาจื้อที่ปรากฎในวรรณกรรมของโกวเล้ง(ปรัชญา)
ชื่อผู้วิจัย : พระชวนชัย สุทฺธปญฺโญ (เพชรไพรสันติ) ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสุนทรสังฆพินิต
  วิโรจน์ อินทนนท์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

 

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาเชิงปรัชญาว่าด้วยเรื่องแนวคิดทางจริยศาสตร์ของเหลาจื้อที่มีปรากฏในวรรณกรรมของโกวเล้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจริยศาสตร์ของเหลาจื้อในคัมภีร์เต๋า เต็ก เก็ง และเพื่อวิเคราะห์หาแนวคิดทางจริยศาสตร์ของเหลาจื้อที่ปรากฏในวรรณกรรมของโกวเล้ง
โดยวิเคราะห์จากวรรณกรรมของโกวเล้ง ๗ เรื่อง

จากการศึกษาวิจัยพบว่า จุดมุ่งหมายหลักของเหลาจื้อคือ การดำเนินชีวิตตามธรรมชาติมีชีวิตอย่างเรียบง่าย มีความอดทน อ่อนน้อมถ่อมตน ให้สอดคล้องกับธรรมชาติ จริยศาสตร์สำคัญของเหลาจื้อในคัมภีร์เต๋าเต็กเก็ง คือ ๑. จื้อใจ รู้จักตัวเองให้ถูกต้อง ก็คือการรู้จักธรรมชาติของชีวิต,
๒. จื้อเซ่ง ชนะตัวเองได้ ก็คือการปฏิบัติตามกฎธรรมชาติของชีวิตจนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาตินั้น, ๓. จื้อจก มีความรู้จักพอ ไม่ทะเยอทะยาน คือมีความสันโดษ, ๔. จื้ออีเต๋า มีเต๋าเป็นจุดหมายของชีวิต และทั้งหมดนี้คือชีวิตในอุดมคติของเต๋า

วรรณกรรมทั้งเจ็ดเรื่องของโกวเล้งนั้น มีตัวละครที่หลากหลาย ทุกตัวละครมีลักษณะเด่นเฉพาะ มีอิสรเสรีในการเลือกใช้ชีวิต และไม่ยอมถูกกฎเกณฑ์ของสังคมจำกัด มีคุณธรรม มีจิตใจห้าวหาญ รักความยุติธรรม ชอบสันโดษ มีความกตัญญู ซื่อสัตย์ ยอมสละความสุขส่วนตนเพื่อส่วนรวม
มีกิเลสตัณหาความรู้สึกเหมือนปุถุชนทั่วไป มิใช่เป็นเพียงคนในยุทธจักรเท่านั้น แต่เป็นผู้คนที่มีชีวิตดำรงอยู่ในสังคมทุกหนแห่งทั่วโลก มีแนวคิดทางจริยศาสตร์ของเหลาจื้อปรากฎในลักษณะเป็นการกระทำตามหน้าที่ แสดงออกมาในรูปแบบของการกระทำต่างๆ ในแต่ละช่วงของชีวิต จะเห็นได้อย่างเด่นชัดจากพฤติกรรมต่างๆของตัวละครเหล่านั้น ซึ่งต่างก็มีวิถีชีวิตในรูปแบบของตน แต่ที่เหมือนกันคือมีมโนธรรมประจำใจ มีความรักเพื่อนมนุษย์ ไม่สนใจเกียรติยศ ใช่ชีวิตอย่างเรียบง่าย ไม่เห็นแก่ตัว ทำปuserfiles/file/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%97/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%8D%E0%B8%B2/08.rarระโยชน์ให้แก่ผู้อื่นและสังคม ไม่แสวงหาความฟุ่มเฟือยทางด้านวัตถุ ประการสำคัญที่พบจากวรรณกรรมของโกวเล้งคือ นอกเหนือจากจะเป็นเรื่องราววิชาฝีมือการต่อสู้แล้ว เรื่องราวของนักสู้เหล่านี้กลับสามารถชี้ให้เห็นถึงความคิด อุดมคติและปรัชญาของผู้เขียน สะท้อนให้เห็นถึงแก่นแท้แห่งชีวิตและสังคมมนุษย์ เป็นมนุษย์ที่สามารถพบเห็นได้ในสังคมแห่งความจริง มิใช่เพียงแต่เป็นตัวละครในวงบู๊ลิ้มหรือในยุทธจักรนิยายตามวรรณกรรมของโกวเล้งเท่านั้น

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕