หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอธิการอำนาจ ครุธมฺโม (กล่ำสระน้อย)
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๑ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องอหิงสาของมหาตมะคานธี กับหลักเมตตาในพุทธปรัชญา
ชื่อผู้วิจัย : พระอธิการอำนาจ ครุธมฺโม (กล่ำสระน้อย) ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระยุทธนา อธิจิตฺโต
  สุรพงษ์ คงสัตย์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

 

  การวิจัยเรื่องการวิเคราะห์แนวคิดเรื่องอหิงสากับหลักเมตตาในพุทธปรัชญา ซึ่งมีวัตถุประสงค์การวิจัย ๓ ประการ คือ  (๑)  เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องอหิงสาของมหาตมะ คานธี  (๒)  เพื่อศึกษาหลักเมตตาในพุทธปรัชญา (๓)  เพื่อวิเคราะห์แนวคิดเรื่องอหิงสาของมหาตมะ คานธีกับหลักเมตตาในพุทธปรัชญา จากการศึกษาพบว่า

               แนวคิดเรื่องอหิงสาของมหาตมะ คานธี พบว่า (๑) ความหมาย คือ การละเว้นจากการประทุษร้ายและไม่เบียดเบียนสิ่งมีชีวิตทั้งปวง (๒)  ลักษณะของอหิงสา เป็นการต่อสู้ทางการเมืองโดยไม่ใช้ความรุนแรง (๓)  ปัจจัยสนับสนุนก่อให้เกิดอหิงสา ต้องการเรียกร้องเอกราชและเป็นวิธีเดียวในการเรียกร้องความยุติธรรม (๔) ประเภทของของอหิงสา ขึ้นอยู่กับหลักการ ๒ อย่างคือ ๑) สัจธรรมและศรัทธาในสัจธรรม ๒) การดำเนินการอย่างต่อเนื่องและมั่นคง  (๕) ความสำคัญของอหิงสา คือ  การมุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ที่ไม่ใช้ความรุนแรง บนฐานความคิดที่ว่าการไม่ใช้ความรุนแรงเป็นวิธีที่ดีที่สุด (๖)  แนวทางปฏิบัติอหิงสา การใช้แนวทางสันติวิธีในการแก้ไขปัญหา

 

      หลักเมตตาในพุทธปรัชญา พบว่า  (๑)  ความหมายของเมตตา ว่าเป็นความรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ในสัตว์ทั้งหลาย (๒)  ลักษณะของเมตตา ความเป็นไปด้วยอาการเกื้อกูล แสดงออกทางกาย วาจา และใจ (๓)  ปัจจัยสนับสนุนก่อให้เกิดเมตตา มีขันติและการฝึกจิตให้เข้าใจในสภาวะความเป็นจริงของชีวิต (๔)  ประเภทของเมตตา จำแนกประเภทของเมตตาไว้ ๓ ประเภท ได้แก่ กาย  วาจา และใจ (๕)  ความสำคัญของเมตตาคือ ความรัก ความปรารถนาดีที่มนุษย์มีต่อบุคคลอื่น สัตว์อื่นนี้จะช่วยรักษา และคุ้มครองให้โลกเกิดความสงบสุข เพราะอำนาจความรักจะทำให้ไม่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน           

          วิเคราะห์แนวคิดเรื่องอหิงสาของมหาตมะ คานธี กับหลักเมตตาในพุทธปรัชญา พบว่า การแสดงออกทางการเมืองด้วยความสงบ ไม่ใช้ความรุนแรงในการต่อสู้  (๑)  วิเคราะห์ด้านความหมาย มีความหมายที่แตกต่างกัน แต่ในลักษณะของการกระทำหรือการปฏิบัติย่อมไม่สามารถที่จะแยกกัน (๒)  วิเคราะห์ด้านลักษณะ การใช้อหิงสาเพื่อการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในสมัยปัจจุบัน คือแนวคิดเรื่องความรักความเมตตาความเมตตาต่อทุกสรรพสิ่ง (๓)  วิเคราะห์ด้านปัจจัยสนับสนุนก่อให้เกิด เป็นยุทธวิธีหนึ่งในการต่อสู้เคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องกับฝ่ายผู้ที่มีอำนาจมากกว่า ส่วนเมตตาเกิดการจากการฝึกฝนทางกาย  วาจา และใจ  (๔)  วิเคราะห์ด้านประเภท มี ๒ ประเภท คือ หิงสา และอหิงสา มหาตมะ คานธีเลือกใช้วิธีอหิงสา คือ ความไม่ใช้ความรุนแรงในการต่อสู้ทางการเมือง  ส่วนเมตตากำหนดไว้ ๓ ประเภท คือ กาย  วาจา  และใจแต่ให้แผ่เมตตาไปให้กับทุกคน (๕)  วิเคราะห์ด้านความสำคัญ ประท้วงอย่างยุติธรรม ส่วนเมตตาเป็นการดำเนินชีวิตที่ถูกที่ชอบด้วยใจที่อภัยและสงสาร (๖)  วิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติ แนวทางการปฏิบัติของทั้งสองมีความแตกต่างกันในทางปฏิบัติของอหิงสามหาตมะ คานธีเรียกร้องเอกราชและความเป็นธรรม ส่วนเมตตาให้มีความกรุณา  รักใคร่แม้กระทั่งศัตรูให้เกิดความปรองดอง และสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในทุกสังคม

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕