หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสุชาติ สุจิตฺโต (กิ่งก้าน)
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๒ ครั้ง
ศึกษาหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาภาวะผู้นำของเจ้าอาวาสในอำเภอหนองหิน จังหวัดเลย
ชื่อผู้วิจัย : พระสุชาติ สุจิตฺโต (กิ่งก้าน) ข้อมูลวันที่ : ๑๔/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาธานินทร์ อาทิตวโร
  บรรพต แคไธสง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๑ /มีนาคม /๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

 

 

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ () เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาภาวะผู้นำในพระพุทธศาสนาเถรวาท () เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของเจ้าอาวาสในอำเภอหนองหิน จังหวัดเลย () เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาภาวะผู้นำของเจ้าอาวาสในอำเภอหนองหิน จังหวัดเลย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้คัดเลือกไว้ มีจำนวนทั้งหมด ๑๒ รูป/คน ได้แก่ พระภิกษุ ๙ รูป และฆราวาส ๓ ท่าน

ผลการวิจัยพบว่า

หลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาภาวะผู้นำในพระพุทธศาสนาเถรวาท พบว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงนำมาใช้ในการฝึกฝนอบรมพระภิกษุหรือพุทธบริษัทของพระองค์นั้นให้เป็นผู้ที่มีความสมบูรณ์มีคุณสมบัติอันเหมาะสมต่างๆ เพื่อการทำหน้าที่ความเป็นผู้นำการบริหารงานในองค์การ ครอบครัว ชุมชน สังคม หรือประเทศชาติให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง ซึ่งปัจจัยสำคัญที่สุดก็คือ ตัวผู้นำ หากผู้นำประกอบด้วยคุณสมบัติที่เหมาะสมมีคุณธรรมที่ดีก็จะสามารถนำพาสังคมประเทศชาติให้ประสบความเจริญรุ่งเรืองได้ แต่หากผู้นำขาดจากคุณสมบัติอันเหมาะสม ก็ย่อมจะนำพาสังคมประเทศชาติให้ประสบกับความล้มเหลวในที่สุด

หลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาภาวะผู้นำในพระพุทธศาสนาประกอบด้วยหลักพุทธธรรม ดังนี้ (๑) หลักสารณียธรรม คือ ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน เพื่อความสงเคราะห์แก่กัน สร้างความสามัคคีเป็นอันเดียวกันภายในสังคม (๒) หลักอิทธิบาท ๔ คือ คุณธรรมเครื่องส่งเสริมเพื่อให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ไว้ (๓) หลักพรหมวิหาร ๔ คือ หลักธรรมเพื่อการปฏิบัติตนต่อมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายโดยชอบ (๔) สังคหวัตถุ คือ ธรรมเครื่องสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน เพื่อประสานสามัคคีในหมู่ชนนั้นๆ (๕) หลักคารวธรรม คือ ธรรมเครื่องส่งเสริมให้รู้จักการปฏิบัติตนที่เหมาะสมในระหว่างบุคคลได้อย่างมีความถูกต้อง ทำให้สังคมเกิดความสงบสุข (๖) หลักภาวนา ๔ คือ ธรรมเครื่องส่งเสริมบุคคลให้มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์สามารถปฏิบัติหน้าที่ผู้นำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หลักธรรมดังกล่าวมานี้เจ้าอาวาสสามารถจะนำเอามาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความเจริญงอกงามสำหรับการปฏิบัติภารกิจที่สำคัญทั้ง ๖ ด้านนั้น เช่น การนำเอาหลักพรหมวิหาร ๔ มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาในด้านของการปกครองให้เป็นไปด้วยความอบอุ่น รวมถึงการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาในด้านของการศึกษาสงเคราะห์ที่เป็นบาทฐานสำคัญของการพัฒนาสังคม หรือหลักของสังคหวัตถุ ๔ เพื่อการนำมาประยุกต์ใช้สำหรับพัฒนาในด้านการสาธารณสงเคราะห์เพื่อเป็นที่พึ่งให้กับสังคม หรือหลักของอิทธิบาท ๔ สำหรับการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาในด้านการสาธารณูปการให้บรรลุผลสำเร็จตามที่ต้องการ และหลักของสารณียธรรม สำหรับการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาในด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้มีความเจริญกว้างไกลออกไป และหลักของภาวนา ๔ สำหรับการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาในด้านการศาสนศึกษาให้มีประสิทธิภาพและมีความมั่นคงสืบต่อไป

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕