หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูถาวรธรรมนิมิต (วัลเปรียงเถาว์)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๘ ครั้ง
การศึกษาหลักพุทธธรรมเพื่อนำมาใช้กับเกษตรกรไทยใน เขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อผู้วิจัย : พระครูถาวรธรรมนิมิต (วัลเปรียงเถาว์) ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระยุทธนา อธิจิตฺโต
  พระมหาสุพัตร์ วชิราวุโธ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : กรกฎาคม 2557
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาหลักพุทธธรรมเพื่อนำมาใช้กับเกษตรกรไทยในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาปัญหาเกษตรไทยในเขต อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์  (๒)  เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมเกี่ยวกับการเกษตรกรในพระพุทธศาสนาเถรวาท  (๓) เพื่อนำหลักพุทธธรรมประยุกต์แก้ปัญหาเกษตรกรไทยในเขต อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์  ผลการวิจัยพบว่า 

             ปัญหาเกษตรกรไทยในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์  ประวัติความเป็นมาของอาชีพเกษตรกรส่วนใหญ่ทำไร่ ทำนา ลำดับขั้นตอนการทำอาชีพ คือ  เตรียมเงินทุน ที่ดิน แรงงาน  เทคโนโลยี และองค์ประกอบอื่นๆ  อาชีพมีความสำคัญเพราะส่งผลต่อความเป็นอยู่ของครอบครัวและชุมชน  เพื่อผลผลิตจะสามารถสร้างรายได้  แต่ทั้งนี้ก็ประสบกับปัญหา ได้แก่ ปัญหาภัยธรรมชาติ  ระบบชลประทานขาดแคลน  ค่าวัสดุ อุปกรณ์ราคาสูง  ผลิตผลทางการเกษตรตกต่ำ  และปัญหาการดูแล รักษาโรคพืชที่ขาดความรู้ ความเข้าใจ  จึงเป็นสาเหตุทำให้เกษตรกรมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิต

             หลักพุทธธรรมเกี่ยวกับการเกษตรกรในพระพุทธศาสนาเถรวาท มีหลายหลักธรรมที่มีต่อการดำเนินชีวิต  การนำเอาหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้ถือเป็นแนวทางการพัฒนาเกษตรกรที่เหมาะสม  ทำให้เกษตรกรไม่เกิดการแก่งแย่งชิงดี  เอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน ทั้งยังมีความขยันหมั่นเพียรในการประกอบธุรกิจการงานตามหน้าที่ของตน ส่งผลให้ประสบกับความสุข เจริญรุ่งเรืองในการประกอบอาชีพเกษตรกรได้เป็นอย่างดี

          หลักพุทธธรรมมาประยุกต์แก้ปัญหาของเกษตรกรไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านภัยธรรมชาติ ด้านระบบชลประทาน  ด้านวัสดุ อุปกรณ์การเกษตร  ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำและด้านการดูแล การป้องกันโรคพืช ล้วนใช้หลักธรรมที่แตกต่างกันออกไป เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาและพัฒนาอาชีพเกษตรกรให้ดียิ่งขึ้น แม้ว่าจะพบอุปสรรคในการนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้การดำเนินชีวิตก็ตาม  เกษตรกรส่วนใหญ่ต่างให้ความเห็นว่า ถ้าทุกคนอาศัยหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้ก็จะเป็นแนวทางการพัฒนาอาชีพการเกษตร และบุคคลหันมาประกอบอาชีพการเกษตรกันมากขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งถือเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้องและเป็นธรรมที่สุด

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕