หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » แม่ชีวรนุช พงศ์ชนะชัย
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๖ ครั้ง
ศึกษาพละ ๕ ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามแนวสติปัฏฐาน ๔
ชื่อผู้วิจัย : แม่ชีวรนุช พงศ์ชนะชัย ข้อมูลวันที่ : ๒๗/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(วิปัสนาภาวนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  -
  -
  -
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

            สารนิพนธ์ฉบับนี้  มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาพละ ๕ ในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาพละ ๕ ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามแนวสติปัฏฐาน ๔ โดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท ไดแก่ พระไตรปฎก อรรถกถา ฎีกาและคัมภีรอื่นๆ ที่เกี่ยวของ เรียบเรียง บรรยาย ตรวจสอบ โดยอาจารยที่ปรึกษา และผูเชี่ยวชาญ จากการศึกษาพบวา

 

คำว่าพละ ๕ หมายถึง ธรรมอันเป็นกำลัง ซึ่งเป็นกำลังในการปฏิบัติ และเป็นกำลังในการประหารอกุศล ต่าง ๆ และนำสู่การรู้แจ้งสภาวะธรรม มี ๕ ประการคือ ๑) สัทธา กำลังความเชื่อ ๒) วิริยะ กำลังความเพียร ๓) สติ ความระลึกได้ ๔) สมาธิ ความตั้งจิตมั่น ๕) ปัญญา ความรู้ทั่วชัด องคธรรมเหลานี้เปนกําลังซึ่งทําใหเกิดความเข้มแข็งมั่นคงดํารงอยูในสัมปยุตตธรรมทั้งหลายอยางไมหวั่นไหว เปนเครื่องเกื้อหนุนแกอริยมรรคปฏิปทา จัดอยูในจําพวกโพธิปกขิยธรรม คือ ธรรมที่เกื้อกูลใหเกิดการรูแจง หรือธรรมที่สนับสนุนอริยมรรคมี ๓๗ ประการ ไดแกสติปฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย ๕ พละ ๕ โพชฌงค ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมเต็มบริบูรณ์ได้ ตามฐานะบุคคลที่ปฏิบัติธรรมนั้นๆ

 

พละ ๕ ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ประกอบด้วย กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาจะให้สมบูรณ์และบรรลุนิพพานได้นั้น พละ ๕ ทำหน้าที่สำคัญในการปฏิบัติคือ สัทธาพละทำให้จิตมีความไม่หวั่นไหวในความไม่มีศรัทธา วิริยะพละทำให้จิตไม่หวั่นไหวในความไม่เกียจคร้าน สติพละทำให้จิตมีความไม่หวั่นไหวในความไม่ประมาท สมาธิพละทำให้จิตมีความไม่หวั่นไหวเพราะความฟุ้งซ่าน ปัญญาพละทำจิตให้มีความไม่หวั่นไหวในความไม่รู้ พละ ๕ และอินทรีย์ ๕ เหมือนกันโดยองค์ธรรมแต่อธิบายคนละนัย คือ อินทรีย์บ่งความเป็นใหญ่ส่วนพละบ่งความไม่หวั่นไหวแก่จิตของผู้เจริญวิปัสสนา ที่สำคัญพละช่วยนำองค์ธรรมทั้ง ๕ เพื่อเกื้อหนุนให้การปฏิบัติมีกำลังแข็งแกร่งยิ่งขึ้นและเป็นบาทฐานของการสั่งสมบารมีไว้เพื่อช่วยให้การปฏิบัติในแต่ละฐานของสติปัฏฐาน ๔ เจริญก้าวหน้าไม่หยุด จิตสามารถกำหนดรู้ทันสภาวธรรมต่างๆ แล้วนำมาพิจารณาด้วยโยนิโสมนสิการได้ชัดเจน ยิ่งขึ้น จิตเกิดความสงบ เป็นสมาธิตั้งมั่น มีปัญญาเห็นความจริงของสังขารตามหลักไตรลักษณ์ เข้าสู่ลำดับญาณรู้แจ้งตามความเป็นจริงซึ่งเรียกว่า วิปัสสนาญาณ จิตของผู้ปฏิบัติย่อมเข้าสู่กระแสธรรมแห่งอริยมรรค อริยผล และพระนิพพาน หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายได้ในที่สุด

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕