หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาหนึ่งฤทัย นิพฺภโย (กรัตพงษ์)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๖ ครั้ง
การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องคุณธรรมของท้าวสักกะในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท(๒๕๕๑)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาหนึ่งฤทัย นิพฺภโย (กรัตพงษ์) ข้อมูลวันที่ : ๒๓/๐๗/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ
  ดร.สมิทธิพล เนตรนิมิตร
  อาจารย์รังษี สุทนต์
วันสำเร็จการศึกษา : ๔ เมษายน ๒๕๕๑
 
บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง “การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องคุณธรรมของท้าวสักกะ ในคัมภีร์
พระพุทธศาสนาเถรวาท” มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์กำเนิด พัฒนาการ คุณธรรมของ
ท้าวสักกะ และอิทธิพลความเชื่อที่มีต่อสังคมไทย
ผลการวิจัยพบว่า ท้าวสักกะมีสถานภาพเป็นเทพเจ้า ปรากฏทั้งในศาสนาพราหมณ์และ
พระพุทธศาสนา ในพระพุทธศาสนาท้าวสักกะเป็นจอมเทวดาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีบทบาทอย่าง
มากในฐานะเทพผู้ทรงคุณธรรมมีเมตตาชอบช่วยเหลือผู้กระทำความดี และคอยปกป้องคุ้มครอง
พระพุทธศาสนา
ท้าวสักกะมีพระนามหลายพระนาม มีบทบาทสำคัญต่อพระพุทธเจ้า และพุทธบริษัท มี
พระสงฆ์เป็นต้น ทั้งการรับใช้อุปัฏฐาก การบำเพ็ญบุญ การให้ความช่วยเหลือเมื่อคนดีได้รับความ
ทุกข์
ในพระพุทธศาสนา บุคคลจะเป็นท้าวสักกะได้ด้วยการประพฤติวัตตบท ๗ ประการ คือ
เลี้ยงมารดาบิดา ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ พูดจาแต่คำอ่อนหวาน ไม่พูดคำส่อเสียด มีใจ
ปราศจากความตระหนี่ ยินดีในการเสียสละ พูดคำสัตย์ และไม่โกรธ พร้อมด้วยมีคุณธรรมอื่นๆ
เช่น ความเมตตา ความกล้าหาญ และความเสียสละ
ในสังคมไทยความเชื่อเรื่องท้าวสักกะมีอิทธิพลด้านวรรณกรรม สถาปัตยกรรม
ประติมากรรม จิตรกรรม และพิธีกรรม ซึ่งแสดงออกให้เห็นในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่เป็นเรื่องราวของ
ท้าวสักกะเอง และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับท้าวสักกะ ปรากฏตามสิ่งปลูกสร้าง ตราสัญลักษณ์ สถานที่
เป็นต้น

Download : 255180.pdf

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕