หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระจักรพงศ์ จกฺกวํโส (สียา)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๖ ครั้ง
วิเคราะห์คติธรรมจากประเพณีสารทเดือนสิบของชาวไทยเชื้อ สายเขมรในตำบลสระเยาว์ อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ
ชื่อผู้วิจัย : พระจักรพงศ์ จกฺกวํโส (สียา) ข้อมูลวันที่ : ๑๑/๑๐/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาภัฏชวัชร์ เขมทสฺสี
  บรรพต แคไธสง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

            วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ ๑)เพื่อศึกษาประเพณีสารทเดือนสิบในพระพุทธศาสนาเถรวาท  ๒)เพื่อศึกษาประเพณีสารทเดือนสิบของชาวไทยเชื้อสายเขมรในตำบลสระเยาว์ อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ ๓)เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของประเพณีสารทเดือนสิบของชาวไทยเชื้อสายเขมรในตำบลสระเยาว์ อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ  ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบการเขียนพรรณนา พร้อมเสนอแนวคิดของผู้วิจัยโดยมุ่งตอบวัตถุประสงค์ และปัญหาที่ต้องการทราบ

ผลการวิจัยพบว่า

          ประเพณีสารทเดือนสิบมีกำเนิดและพัฒนาการมาจากศาสนาพราหมณ์โดยมีพระเจ้าพิมพิสารเป็นผู้แรกเริ่ม  เปรตมีปรากฏในคัมภีร์มหาวิภังค์แห่งพระวินัยปิฎกและลักขณสังยุตแห่งสังยุตตนิกาย พระพุทธศาสนาเชื่อว่าบุคคลที่จะเกิดเป็นเปรตมีสาเหตุมาจากกรรมเก่าที่เคยทำมาในอดีตชาติ เปรตจะได้รับส่วนบุญเมื่อมีญาติทำบุญอุทิศไปให้โดยผ่านบุคคลผู้รับทานคือพระภิกษุผู้มีศีล  และเปรตอนุโมทนารับเอาส่วนบุญนั้น สาระสำคัญอาศัยหลักความเชื่อตามคติทางพระพุทธศาสนาที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาในเรื่องการทำบุญอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล หลักการบูชาจะบูชาสิ่งที่ควรบูชา และเชื่อในเรื่องของกฎแห่งกรรมและการเกิดใหม่ การอุทิศส่วนบุญให้ตามคติทางพระพุทธศาสนาสอดคล้องกับพิธีสารทที่มีการกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญของชาวไทยเชื้อสายเขมร และการเรียกผีบรรพบุรุษและผีที่ไม่มีญาติให้มารับเครื่องเซ่นไหว้  ชาวบ้านจะใช้เหล้าขาวและน้ำเปล่าธรรมดาเทลงพื้นดินในการประกอบพิธี วัตถุที่ใช้ในการบูชาผีบรรพบุรุษคือ อาหารคาว หวาน ผัก ผลไม้ ขนม น้ำดื่ม เป็นต้น

 Downlaod

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕