หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » วิรัช ตฤณขจี
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๓ ครั้ง
ศึกษาวิเคราะห์การเข้าฌานตามแนวอานาปานสติในคัมภีร์วิสุทธิมรรค
ชื่อผู้วิจัย : วิรัช ตฤณขจี ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๑๐/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สุเทพ พรมเลิศ
  พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

ดุษฎีนิพนธ์เรื่องศึกษาวิเคราะห์การเข้าฌานตามแนวอานาปานสติในคัมภีร์วิสุทธิมรรค”  มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาอานาปานสติและฌานในคัมภีร์วิสุทธิมรรค (๒) เพื่อศึกษาการเข้าฌานตามแนวอานาปานสติในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา (3) เพื่อวิเคราะห์การเข้าฌานตามแนวอานาปานสติในคัมภีร์วิสุทธิมรรค  

    ผลการศึกษาวิจัยพบว่า :

อานาปานสติในคัมภีร์วิสุทธิมรรคมีวัตถุ ๑๖ เป็นสมถกรรมฐานในเบื้องต้น เมื่อเจริญ ทำให้มากจะเกิดผลมาก เป็นสภาพสงบ ประณีต สดชื่น กายก็สบาย ตาก็ไม่ลำบาก เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันและทำอกุศลธรรมชั่วร้าย ให้อันตรธานไป สงบไปได้โดยเร็ว อานาปานสติเป็นกรรมฐานที่ขจัดอารมณ์ฟุ้งซ่านได้ดีที่สุด  เจริญได้ทุกอิริยาบถ เหมาะแก่ผู้มีโมหจริตและวิตกจริต ในกรรมฐาน 40 มีเพียง ๓๐ กรรมฐานที่สามารถเข้าถึงฌานได้ อานาปานสติสมาธิเมื่อใส่ใจให้ละเอียดดีสามารถเข้าฌาน ๑-๘ รวมถึงเข้านิโรธได้ ทำได้สะดวก โดยการกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ ซึ่งประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ คือ ลมเข้า ๑ ลมออก ๑ นิมิต ๑ สามสิ่งนี้มิได้เป็นอารมณ์ของจิตดวงเดียวกัน เมื่อรู้ธรรม ๓ ประการนี้แจ้งชัด การเจริญอานาปานสติจึงจะสำเร็จซึ่งอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิได้ เมื่อจิตเข้าถึงอัปปนาสมาธิก็สามารถเข้าฌานได้ ฌานแบ่งออกเป็น โลกียฌานกับโลกุตระฌาน, อารัมมณูปนิชฌานกับลักขณูปนิชฌาน, หรือรูปฌานกับอรูปฌาน เป็นต้น

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕