หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » สุภัคชัย บดิการ
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๖ ครั้ง
การศึกษาแนวทางในการจัดการขยะมูลฝอย ของเทศบาลตำบลนาเหรง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช (สาขาวิชาการพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : สุภัคชัย บดิการ ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๑๑/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สมบูรณ์ บุญฤทธิ์
  ลัญจกร นิลกาญจน์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๘ กันยายน ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

 วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลนาเหรง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช ๒) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลนาเหรง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช ๓) เพื่อค้นหารูปแบบและวิธีการในการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลนาเหรง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบพหุวิธี (Multi-Methods research) ประชากรที่ใช้ใน      การวิจัยครั้งนี้ จำนวน ๓๐ คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ได้แก่                        ๑) ปลัดเทศบาลตำบลนาเหรง ๒) หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ ๓) ผู้อำนวยการกองช่าง ๔) ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่เทศบาลตำบลนาเหรง ๙ หมู่บ้าน และประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลนาเหรง หมู่บ้านละ ๒ คนเก็บรวบรวมข้อมูลโดย การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depthInterview) การเสวนากลุ่ม (Focus Group) และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participutory Action Research: PAR)

ผลการวิจัยพบว่า

๑) เทศบาลตำบลนาเหรง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีปริมาณขยะที่เกิดจากครัวเรือนและตลาดในชุมชน เป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะมากขึ้น    จากการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลนาเหรง มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ              มีแผนปฏิบัติการในการจัดเก็บขยะในพื้นที่ที่รับผิดชอบ แต่ระบบการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลนาเหรงยังมีปัญหาในด้านการดำเนินการ มีความล่าช้าในการจัดเก็บและไม่สามารถจัดเก็บขยะมูลฝอยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๒)  ข้อเสนอแนะแนวทางในการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลนาเหรง       อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีข้อเสนอแนะ คือ ให้มีการรณรงค์ ทำความเข้าใจ ในการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน โดยให้แต่ละครัวเรือนมีการคัดแยกขยะมูลฝอยภายในครัวเรือนของตนเองก่อน และนำขยะที่แยกได้เข้าสู่กระบวนการต่างๆ เช่น (๑) ขยะอินทรีย์ ให้แต่ละครัวเรือนนำไปสู่กระบวนการปุ๋ยหมักชีวภาพ (๒) ขยะรีไซเคิล ให้แต่ละชุมชนจัดตั้งธนาคารเพื่อนำขยะไป       สู่กระบวนการธนาคารขยะ (๓) ขยะที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ให้ครัวเรือนนำไปทิ้งเอง เพื่อลดปริมาณขยะในชุมชน (๔) ควรให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะแก่ประชาชนในชุมชน เพื่อให้ประชาชนตระหนักในการคัดแยกขยะมูลฝอย

 

๓) จากการวิจัย ได้ค้นพบรูปแบบ RCWb Model เป็นรูปแบบในการจัดการขยะมูลฝอย ซึ่งเกิดจากการมีส่วนร่วมในการเสนอและออกแบบโดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญและประชาชนในพื้นที่ สามารถนำรูปแบบ RCWb Model นำไปใช้ในการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาล ตำบลนาเหรง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช และพื้นที่ใกล้เคียงต่อไป

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕