หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาวิชัย ยติชโย (ฤทธิ์วิรุฬห์)
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๖ ครั้ง
การศึกษาการพัฒนาวัดนาคเป็นสำนักปฏิบัติธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนา(๒๕๕๑)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาวิชัย ยติชโย (ฤทธิ์วิรุฬห์) ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๐๘/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(วิปัสนาภาวนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระพรหมโมลี
  รศ.ดร. วิชัย วงษ์ใหญ่
  ผศ.เวทย์ บรรณกรกุล
วันสำเร็จการศึกษา : ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๑
 
บทคัดย่อ

     การศึกษาการพัฒนาวัดนาคเป็นสำนักปฏิบัติธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนา วัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดสำนักปฏิบัติธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนา เพื่อศึกษาระเบียบของวัดที่มหาเถรสมาคมกำหนดให้เป็นวัดที่เหมาะสมแก่การปฏิบัติธรรม และเพื่อศึกษารูปแบบองค์ประกอบ และปัจจัยที่เหมาะสมในการพัฒนาวัดนาคเป็นสำนักปฏิบัติธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนาและตามที่มหาเถรสมาคมกำหนดงานวิจัยนี้ได้ศึกษาการปฏิบัติธรรมในคัมภีร์พุทธศาสนา รูปแบบ องค์ประกอบ และปัจจัยที่เหมาะสมของสำนักปฏิบัติธรรม นโยบายการพัฒนาวัด และการประเมินความสมบูรณ์ของการพัฒนาวัด จึงประกอบด้วย สองระยะคือ ระยะแรก ใช้วิธีวิจัยเอกสาร การเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลเชิงลึกแบบเปิดและไม่ชี้นำ และการสังเกตวิเคราะห์สภาพ SWOT Analysis ทำนโยบายและดำเนินงานตามแผน จนทำการวิจัยประเมินความก้าวหน้าของการพัฒนาแล้วทำการแก้ไขปรับปรุงนโยบายวัดนาคและดำเนินงานต่อ ระยะที่สอง คือ ระยะของการประเมินรวมสรุปผลความสมบูรณ์ของการพัฒนาวัด โดยการใช้แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่มผู้เข้าปฏิบัติธรรม จำนวน ๕๐ คน และวิเคราะห์ผล โดยใช้ CIPP Model และ SWOT Analysisโดยในขั้นตอนที่สองนี้แสดงผลในรูปแบบการบรรยายเชิงพรรณนาจากการศึกษาภายใต้ CIPPI Model และ SWOT Analysis พบว่า การพัฒนาวัดให้เหมาะสม

แก่การปฏิบัติธรรมให้ประสบผลสำเร็จได้นั้น จะต้องพิจารณาถึงปัจจัยสำคัญ ได้แก่ (๑) ความพร้อม
ในการพัฒนาของวัด คณะสงฆ์ ชุมชน (๒) การวางแผนพัฒนาวัดให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมจะต้องคำนึงถึงสถานที่(อาวาส) ที่บิณฑบาต(โคจรคาม) อาหาร(โภชนะ) บรรยากาศ(อุตุ) ความพร้อมและความเข้าใจของบุคลากร(ปุคคละ) (๓) ความชัดเจนในการกำหนดหลักสูตรและการกระบวนการอบรมที่ผู้มาปฏิบัติแล้วจะสามารถได้รับประโยชน์ รวมถึงนโยบายที่ชัดเจนในการพัฒนาวัดเป็นสำนักปฏิบัติธรรม(ภัสสะ) (๔) การจัดทำแผนของโครงการจะต้องสนับสนุนการศึกษาอบรมปฏิบัติธรรมอย่างเป็นระบบและมีความสอดคล้องในคัมภีร์พระพุทธศาสนา(อิริยาบถ) (๕) ความศรัทธาและความเชื่อมั่นของผู้ปฏิบัติธรรมที่มีต่อสำนักปฏิบัติธรรมนอกจากนี้ผลจากการวิจัยยังแสดงให้เห็นว่า ทัศนคติของบุคคลภายนอกที่มีต่อการพัฒนาวัดและความร่วมมือร่วมแรงกันของสมาชิกในวัด เป็นปัจจัยความสนับสนุนที่สำคัญต่อความสำเร็จจากผลการวิจัย รูปแบบของสถานที่ที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติธรรม คือ สัปปายะ๗ ได้แก่
๑. อาวาสสัปปายะ ๒. โคจรสัปปายะ ๓. ภัสสสัปปายะ ๔. ปุคคลสัปปายะ ๕. โภชนสัปปายะ
๖. อุตุสัปปายะ ๗. อิริยาปถสัปปายะและมีกัลยาณมิตรเป็นเครื่องสนับสนุน วัดนาคมีคุณลักษณะสัปปายะ ๗ และกัลยาณมิตรซึ่งเป็นคุณลักษณะครบถ้วนดังในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ตามที่มหาเถรสมาคมและสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติกำหนดหวังว่างานวิจัยนี้จะให้แง่คิดและอำนวยประโยชน์ในการศึกษาสำนักปฏิบัติธรรมของวัดต่างๆ ให้มีความสอดคล้องในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ตามที่มหาเถรสมาคมและสำนักงาน
พระพุทธศาสนาแห่งชาติกำหนด ทั้งเป็นประโยชน์สำหรับท่านผู้สนใจและผู้มุ่งนำไปปฏิบัติสำหรับตนและผู้อื่นได้เป็นอย่างดีเพื่อความเข้าใจการปฏิบัติธรรม และการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน
 
 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕