หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » PASITTHIDETH CHALEUNSOUK
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๘ ครั้ง
วิเคราะห์คติความเชื่อเชิงปรัชญาในประเพณีการเลี้ยงผีดง
ชื่อผู้วิจัย : PASITTHIDETH CHALEUNSOUK ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๐๓/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  วิโรจน์ วิชัย
  พูนชัย ปันธิยะ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ (๑) เพื่อศึกษาประเพณีการเลี้ยงผีดง (๒) เพื่อศึกษาคติความเชื่อในประเพณีการเลี้ยงผีดง (๓) เพื่อวิเคราะห์คติความเชื่อเชิงปรัชญาในประเพณีการเลี้ยงผีดง ที่มีต่อชาวเมืองเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร

พบว่า ๑) ประเพณีการเลี้ยงผีดงของคนเชียงใหม่มีปรากฏอยู่ทั้งในเอกสารโบราณและมุขปาฐะของชาวบ้าน ผีดงเป็นยักษ์ชอบกินเนื้อคน วันหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมากับสาวก ยักษ์ก็จะจับพระพุทธเจ้ากิน แต่ท่านทรงแสดงอภินิหาริย์ ทรมาน แผ่เมตตาทำให้ยักษ์กลัวเกรง และยอมรับศีลห้า แต่ด้วยวิสัยยักษ์ ผีดงขอเปลี่ยนจากการกินคนเป็นกินควายแทน จึงเป็นที่มาของประเพณีเลี้ยงผีดง  ๒) ด้านคติความเชื่อในประเพณีการเลี้ยงผีดง พบว่า  การเลี้ยงผีดงช่วยให้ชาวบ้านในเขตหรือบริเวณนั้นอยู่เย็นเป็นสุข  ด้วยความเชื่อว่ายักษ์สองผัวเมียจะได้ปกปักรักษาประชาชนให้ปลอดภัยจากการไปหาของป่า และทำให้ฟ้าฝนก็ตกตามฤดูกาล ถ้าปีไหนไม่เลี้ยงผีดง จะทำให้ เกิดภัยพิบัติ เช่น โรคระบาดและการเกิดทุกข์ภัยต่างๆ จึงมีประเพณีการเลี้ยงผีดงสืบมา  ๓) ในด้านการวิเคราะห์คติความเชื่อเชิงปรัชญาในประเพณีการเลี้ยงผีดงที่มีต่อชาวเชียงใหม่ พบว่า พิธีเลี้ยงผีดง สะท้อนถึงการประสานทางวัฒนธรรมระหว่างคติความเชื่อดั้งเดิมกับพุทธศาสนา ระหว่างกลุ่มชนพื้นเมืองกับกลุ่มชนที่เข้ามาอยู่ใหม่  จนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของชาวเมืองเชียงใหม่มาแต่โบราณ ซึ่งทุกปีชาวบ้านยังทำการเลี้ยงจนถึงปัจจุบัน

 Download

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕