เข้าชม : ๑๙๙๙๖ ครั้ง |
การบริหารสถานศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาตามหลักไตรสิกขา สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จังหวัดอุดรธานี (สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา) |
|
ชื่อผู้วิจัย : |
พระมหาหัสดี ปญฺญาวชิโร (พรมนอก) |
ข้อมูลวันที่ : ๒๘/๐๔/๒๐๑๙ |
ปริญญา : |
พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา) |
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ : |
|
ธีระศักดิ์ บึงมุม |
|
เจ้าอธิการบุญช่วย โชติวํโส |
|
- |
วันสำเร็จการศึกษา : |
๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ |
|
บทคัดย่อ |
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จังหวัดอุดรธานี โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน ๑๕๒ รูป/คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๒ รูป/คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า
๑. การบริหารสถานศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ตามหลัก ไตรสิกขา โดยภาพรวมและรายด้าน พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีการปฏิบัติสูงสุดคือ ด้านการบริหารงานงบประมาณตามหลักไตรสิกขา รองลงมา คือ ด้านการบริหารงานบุคคลตามหลักไตรสิกขา ด้านการบริหารงานทั่วไปตามหลักไตรสิกขา ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีการปฏิบัติต่ำสุดคือ ด้านการบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขา
๒) แนวทางการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ตามหลัก ไตรสิกขา มีดังนี้คือ ๑) ควรมีระบบการวัดผลและประเมินผลอย่างถูกต้องเชื่อถือได้ ๒) ควรมีการนิเทศการศึกษาให้ครูสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๓) ควรมีการพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ๔) การจัดทำแผนปฏิบัติการใช้จ่ายงบประมาณเหมาะสม คุ้มค่าและได้ประโยชน์สูงสุด ๕) มีการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการศึกษาอย่างมีระบบและได้มาตรฐาน ๖) การรับ-จ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินเป็นไปอย่างมีระบบระเบียบ ๗) มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อสร้างสมรรถนะในการทำงาน ๘) มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ๙) มีการดำเนินการเกี่ยวกับการเลื่อนขั้นเงินเดือนให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษา ๑๐) มีการส่งเสริมการประเมินครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ๑๑) มีงานวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายและแผนยุทธศาสตร์ของสถานศึกษา ๑๒) มีการพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกอย่างต่อเนื่อง
Download |
|
|